ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระปิดตายันต์ยุ่งหลวงปู่ดี วัดพระรูป

พระปิดตายันต์ยุ่งหลวงปู่ดีวัดพระรูปจังหวัดสุพรรณบุรี


หลวงปู่ดี วัดพระรูป ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี พระเกจิคณาจารย์แห่งเมืองดินแดนยุทธหัตถีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีของผู้นิยมสะสมพระเครื่องวัตถุมงคลหลายตัวหลายอย่างจัดสร้างไว้ในจำนวนน้อยแต่ทุกรุ่นล้วนแต่มีความน่าสนใจในการเล่นหาสะสมพระเครื่อง 
พระปิดตายันต์ยุ่งหลวงปู่ดี เป็นพระที่มีความสวยงาม ในพุทธศิลป์ด้วยเส้นสายลายยันต์นั้นผูกต่อเนื่องแทบจะเป็นเส้นเดียวกันแต่ที่แตกต่างคือการเทโลหะธาตุพิเศษที่ใช้สูตรโบราณตามแบบหลวงพ่อทับวัดอนงค์ ได้ผิวพรรณวรรณะที่สดใสจัดสร้างขึ้นเป็นรุ่นแรกเมื่อปีพ.ศ 2532 เนิ่นนานวันผ่านมา แต่ก็ยังจัดได้ว่าเป็นของดีราคาถูกด้วยพระพุทธคุณเด่นแบบพระเมืองสุพรรณแขวนเดี่ยวได้ไม่ต้องอายใคร

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ :สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือสมเด็จพระสังฆราช แพร พระกริ่งหลังปิ มีพุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัยพระหัตถ์ซ้ายทรงถือวชิระ ทรงคล้ายหัวปลี มีพุทธลักษณะคล้ายพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระมงคล ราชมุนี ซึ่งคงถอดพิมพ์ดังกล่าวมามีจำนวนสร้างมากถึง 100 องค์แสนเนื้อเดิมเป็นศรีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาวแบบปีกแมลงทับ มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ เมื่อประกอบพิธีเททอง พระกริ่ง เสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระคณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์รวมทั้งหลวงปู่ดู่ที่จารเป็นยันต์กอหญ้าด้วยแล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ซึ่งมีพระเกจิอาจารย์เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 6 7 8 กุมภาพันธ์พศ 2508 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระกริ่งหลังปิ บางส่วนที่ยังคงเหลือได้เก็บไว้ในพระอุ

เหรียญพระเจ้าตากสินมหาราช ค่ายตากสิน จันทบุรี

เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ค่าบตากสินมหาราช จันทบุรี พ.ศ. 2518 จัดสร้างไว้ 4 เนื้อด้วยกัน 1.เนื้อทองคำ สร้างจำนวน 49 เหรียญไม่ตอกโค้ดทั้งหน้าและหลัง 2.เนื้อนวโลหะ สร้างจำนวน 1000 เหรียญ ตอกโค้ด "ตส"ไว้ข้างบนด้านซ้ายของพระมาลาด้านหน้าของเหรียญ 3. เนื้อทองแดงชุบนิเกิ้ล สร้างจำนวน 310 เหรียญ ไว้แจกกรรมการทุกท่าน ตอกโค้ด "ตส"ไว้ด้านหลังของเหรียญ 4. เนื้อทองแดงรมดำ สร้างจำนวน 30000 เหรียญ ตอกโค้ด "ตส"ไว้ด้านหน้าของเหรียญใต้พระแสงดาบด้านขวาของพระองค์ท่าน พิธีปลุกเสก 3 ครั้ง ครั้งแรกโดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ปลุกเสกเดี่ยว 1 ไตรมาสของปี 2518 ครั้งที่สองโดย หลวงปู่ทิม อิสริโก ปลุกเสกเดี่ยวอีก 7 วัน คือ วันที่ 1-7 ก.ย. 2518 ตั้งแต่ตี 1 - ตี4 ทุกวันจนครบ 7 วัน หลวงปู่ทิมบอกว่า "เหรียญนี้ดีทางคุ้มครองป้องกันโจรผู้ร้าย และป้องกันเสนียดจัญไรไม่ให้เข้ามา รักษาบ้านเรือนให้อยู่เย็นเป็นสุข " ครั้งสุดท้ายเป็นพิธีใหญ่ในวันที่ 20 พ.ย. 2518 พระเกจิร่วมกว่า 70 รูป อาธิ หลวงปู่โต๊ะ หลวงปู่คง หลวงปู่แหวน หลวงปู่สิม ครูบาพรหมจักร เป็นต้น ช่างแกะแม่พิมพ์ ช่างเกษม มงคลเจ