ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร


ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
ราม วัชรประดิษฐ์


เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร


เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม



วัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นที่วัดเก่าแก่ในจังหวัดอ่างทอง ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดไชโย" หรือ "วัดเกศไชโย" มาเริ่มปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มาสร้างพระพุทธรูปใหญ่โตขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงสถานที่ที่ท่านเจริญวัย เรียกกันว่าหลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิ ก่ออิฐสอดินถือปูนขาว ไม่ได้ปิดทอง ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง ขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูงสุดถึงยอดพระรัศมี 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว มองเห็นได้แต่ไกล ต่อมาให้ชื่อว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" อีกทั้งยังเป็นต้นกำเนิด "พระสมเด็จวัดเกศไชโย" วัตถุมงคลอันลือชื่อและเป็นที่แสวงหาอย่างยิ่ง โดยเฉพาะพิมพ์ 7 ชั้น หรือพิมพ์นิยม ปัจจุบันได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร

วัดเกศไชโยยังมีเหรียญพระพุทธที่ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบ เหรียญพระพุทธยอดนิยมของประเทศอีกด้วย นั่นคือ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 มีลักษณะเป็นเหรียญรูปอาร์มยกขอบทั้งหน้าและหลัง แม่พิมพ์ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปจำลองหลวงพ่อโต หรือพระมหาพุทธพิมพ์ ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนบัลลังก์บัวคว่ำบัวหงาย ด้านข้างทั้งสองจารึกอักษรไทยว่า "พระพุทธรูปวัดไชโย" ต่อลงมาด้านล่างทั้งสองข้างเป็นอักขระขอม "ตัวอุ" ล่างสุดเป็นอักษรย่อว่า "นถจก" ซึ่งเป็นชื่อร้านที่สร้างเหรียญ คือ "ร้านนาถาจารุปกรณ์"

แม่พิมพ์ด้านหลัง ตรงกลางเป็นอักขระขอม 2 บรรทัด อ่านว่า "สุขิโต โหตุ" อันเป็นคำอำนวยพรตามมุมทั้งสี่ของเหรียญเป็นอักขระขอมว่า "จิ เจ รุ นิ" จิ หมายถึงจิต เจ หมายถึงเจตสิก รุ หมายถึงรูป และนิ หมายถึงนิพพาน ส่วนล่างสุดจารึกปีที่สร้างคือ "2461"

หรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 มีการสร้างทั้งหมด 3 เนื้อ

 คือ เนื้อเงิน เนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อทองแดง


เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 นับเป็นเหรียญพระพุทธที่สวยงามและมีความงามสง่ากอปรกับพุทธคุณเป็นเลิศปรากฏ สมแล้วที่ได้รับการยอมรับและยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบเหรียญยอดนิยมของประเทศ จริงๆ ครับผม

อ้างอิง:หนังสือพิมพ์ข่าวสด

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล...

ถอดรหัสอักขระศักดิ์สิทธิ์ สู่พุทธคุณอมตะ หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง

พระปิดตายันต์ยุ่งหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอขอบคุณภาพจาก: http://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=422&qid=48516 พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ นับเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาอย่างกว้างขวางในวงการ พระเครื่อง ไทย โดยมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับหลวงพ่อเชิญ ปุญฺญสิริ แห่งวัดโคกทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลักษณะเด่นของพระเครื่องชุดนี้คือการผสมผสานพุทธศิลป์ของ "พระปิดตา" ซึ่งหมายถึงพระพุทธรูปในปางปิดพระเนตร เข้ากับ "ยันต์ยุ่ง" อันหมายถึงอักขระเลขยันต์ที่สลับซับซ้อนพันเกี่ยวกันทั่วองค์พระ ความสนใจและการเสาะหาพระปิดตารุ่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาในพุทธคุณและบารมีของหลวงพ่อเชิญ รวมถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของยันต์ยุ่งที่เชื่อกันว่าเปี่ยมด้วยอานุภาพ การปรากฏของพระเครื่องรุ่นนี้ในตลาดซื้อขายและเวทีการประมูลจำนวนมาก ย่อมบ่งชี้ถึงความต้องการที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ศรัทธาและนักสะสม ชื่อเสียงของหลวงพ่อเชิญในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและวิทยาคม เป็นปัจ...