ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์


พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์



ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์
สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี


พระกริ่งเชียงตุง เป็นรุ่นสุดท้ายของพระองค์ท่าน ซึ่งทรงสถาปนาในขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระสังฆราชในปี พ.ศ. 2486 เพื่อประทานแก่พระสงฆ์และเจ้าหน้าที่กรมการศาสนาที่มากราบทูลลาไปเยี่ยมพระภิกษุทางภาคเหนือตลอดจนถึงเมืองเชียงตุง

พระกริ่งเชียงตุง

พระกริ่งเชียงตุงทรงสร้างในกาลคล้ายวันประสูติของพระองค์ท่าน คือ วันเพ็ญเดือน 12 พ.ศ.2486 จำนวน 108 องค์ เนื้อโลหะที่ใช้เทหล่อพระกริ่งเชียงตุง นำชนวนบนตำหนักสมเด็จฯที่ประทานมา ผสมกับเนื้อชนวนพระกริ่งรุ่น พ.ศ. 2482 และนำแผ่นโลหะที่ลงพระยันต์ 108 นะ ปถมัง 14 นะ กับแผ่นทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราชมาผสมด้วยจำนวนมาก กระแสของเนื้อพระกริ่งเชียงตุง คือเนื้อเหลืองนวลมีแววกระแสออกสีเขียว สีวนผิวพระกริ่งเชียงตุงจะปรากฎคราบน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแก่
พระกริ่งเชียงตุงได้เทจำนวน 108 องค์ เจ้าประคุณสมเด็จฯได้แจกแก่เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาที่จะเดินทางไปเชียงตุง และศิษย์ผู้ใกล้ชิดไปประมาณ 30 องค์ เจ้าคุณใหญ่(เสงี่ยม) ได้ขอจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไปประมาณ 40 องค์ส่วนที่เหลือเจ้าประคุณสมเด็จฯเก็บเงียบเอาไว้ เพราะเป็นรุ่นสุดท้ายและมีจำนวนเหลืออยู่เพียง 20 กว่าองค์เท่านั้น พระองค์ท่านจึงหวงแหนมากครั้งต่อมาอีก 1 ปี เจ้าประคุณสมเด็จฯก็ได้สิ้นพระชนม์ พระกริ่งเชียงตุงจำนวนที่เหลือ 20 กว่าองค์ จึงได้ตกอยู่กับท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) พระกริ่งจำนวนนี้ จึงปรากฎว่ามีโค๊ตบ้าง มีเหล็กจารบ้าง ส่วนจำนวนที่ตกอยู่กับเจ้าคุณใหญ่ 40 กว่าองค์ ส่วนมากจะอยู่ในสภาพเดิมและไม่มีโค็ต ไม่มีจาร

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์
พระกริ่งเชียงตุง เป็นพระกริ่งเนื้อโลหะ ผสมชนวนมงคลจากพระกริ่งรุ่นก่อน ๆ หลายรุ่น หล่อในปี พ.ศ. 2486 โดย สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพมหานคร
พระกริ่งเชียงตุงมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ดังนี้
 * องค์พระประธานปางมารวิชัย ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวตีบ
 * พระพักตร์อิ่มเอิบ รอยพระโอษฐ์ยิ้ม รัศมีเกศใหญ่
 * พระกรรณยาว พระอังสาใหญ่
 * พระหัตถ์ขวาแสดงมุทราวิตรรก์ พระหัตถ์ซ้ายประคองหน้าตัก
 * ด้านหลังองค์พระประธาน มีพระยันต์จักรพรรดิ 108
พุทธคุณ เชื่อกันว่าพระกริ่งเชียงตุงมีพุทธคุณครบถ้วน ดังนี้
 * เมตตา มหานิยม
 * แคล้วคลาดปลอดภัย
 * มั่งมีศรีสุข
 * ป้องกันคุณไสย
พระกริ่งเชียงตุง เป็นพระกริ่งที่ได้รับความนิยมอันดับต้น ๆ ของไทย 

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล...

ถอดรหัสอักขระศักดิ์สิทธิ์ สู่พุทธคุณอมตะ หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง

พระปิดตายันต์ยุ่งหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอขอบคุณภาพจาก: http://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=422&qid=48516 พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ นับเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาอย่างกว้างขวางในวงการ พระเครื่อง ไทย โดยมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับหลวงพ่อเชิญ ปุญฺญสิริ แห่งวัดโคกทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลักษณะเด่นของพระเครื่องชุดนี้คือการผสมผสานพุทธศิลป์ของ "พระปิดตา" ซึ่งหมายถึงพระพุทธรูปในปางปิดพระเนตร เข้ากับ "ยันต์ยุ่ง" อันหมายถึงอักขระเลขยันต์ที่สลับซับซ้อนพันเกี่ยวกันทั่วองค์พระ ความสนใจและการเสาะหาพระปิดตารุ่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาในพุทธคุณและบารมีของหลวงพ่อเชิญ รวมถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของยันต์ยุ่งที่เชื่อกันว่าเปี่ยมด้วยอานุภาพ การปรากฏของพระเครื่องรุ่นนี้ในตลาดซื้อขายและเวทีการประมูลจำนวนมาก ย่อมบ่งชี้ถึงความต้องการที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ศรัทธาและนักสะสม ชื่อเสียงของหลวงพ่อเชิญในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและวิทยาคม เป็นปัจ...