ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระเครื่องยอดนิยม เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่ารุ่นแรก พ.ศ.2466




พระเครื่องยอดนิยม เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่ารุ่นแรก พ.ศ.2466



“เหรียญคณาจารย์” เป็นผลมาจากวิวัฒนาการการจัดสร้างเหรียญกษาปณ์และเหรียญที่ระลึก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการริเริ่มผลิตเงินเหรียญแทนเงินตราแบบเก่า ซึ่งมีทั้งการจ้างชาวต่างชาติปั๊มเรียกว่าเหรียญ “ปั๊มนอก” ซึ่งจะสวยงามมีคุณภาพดีกว่าโรงงานของสยามที่เรียกว่า “ปั๊มใน” โดยเฉพาะในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยิ่งมีความนิยมปั๊มเหรียญกันมากขึ้น เหรียญที่รู้จักกันดีรุ่นแรกๆ ได้แก่ เหรียญพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร ที่สร้างใน ร.ศ.118 (พ.ศ. 2443) เมื่อคราวเสด็จกลับจากประพาสยุโรป หรือในวงการพระเครื่องเรียกกันว่า “ปู่เหรียญ” และต่อมาก็นิยมทำรูปเกจิคณาจารย์เป็นที่ระลึกเป็นรูปลักษณะ “เหรียญ”

ในบรรดาเหรียญพระเครื่องของ คณาจารย์สำคัญระดับประเทศนั้น เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท นับเป็นเหรียญที่งดงาม มีสนนราคาสูง ได้รับความนิยมอย่างมาก


หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

สำหรับเหรียญสำคัญของหลวงปู่ศุขนั้น มีการจัดสร้างขึ้นเป็นเหรียญรูปไข่ค่อนไปทางกลม ห่วงเชื่อม ระบุปี 2466 เนื้อทองแดงเถื่อนและเนื้อตะกั่ว พิมพ์ด้านหน้า จำลองเป็นรูปหลวงปู่ศุข นั่งสมาธิสะดุ้งกลับอยู่เหนืออาสนะลายผ้า ด้านข้างจารึก “ยันต์ อุขึ้น อุลง” มีภาษาไทยล้อมรอบระบุสมณศักดิ์ “พระครูวิมลคุณากรวัดปากคลองมะขามเฒ่า” และด้านล่างระบุปี พ.ศ. “๒๔๖๖”

ส่วนพิมพ์ด้านหลังสร้างเป็น “ยันต์สาม” ล้อมรอบยันต์ด้วยหัวใจธาตุคือ “นะ มะ อะ อุ” และหัวใจพระเจ้าห้าพระองค์ คือ “นะ โม พุท ธา ยะ” อักขระด้านล่างเป็นพระคาถาอำนวยพรคือ “อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง”



พระเครื่องยอดนิยม เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่ารุ่นแรก พ.ศ.2466
เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่ารุ่นแรก พ.ศ.2466

เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ศุข รุ่นแรก ปี 2466 นี้ มีแม่พิมพ์ด้านหน้าเพียงแม่พิมพ์เดียว ส่วนแม่พิมพ์ด้านหลังมีอยู่ 4 พิมพ์ ได้แก่

1. พิมพ์ด้านหลังไม่มีอุ

2. พิมพ์ด้านหลังมีอุเล็ก

3. พิมพ์ด้านหลังมีอุใหญ่

4. พิมพ์หลังอุ และ ดาว


พระเครื่องยอดนิยม เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่ารุ่นแรก พ.ศ.2466

เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่ารุ่นแรก พ.ศ.2466

ส่วนสาเหตุที่พิมพ์ด้านหลังมีหลายแบบนั้น สันนิษฐานว่า ในสมัยก่อนการทำบล็อกแม่พิมพ์พระเครื่องคง จะไม่แข็งและเหนียวพอ โดยเฉพาะ “แม่พิมพ์ด้านหลัง” ซึ่งเป็นตัวกดย้ำ ทำให้แม่พิมพ์ชำรุดเสียหายก่อนแม่พิมพ์ด้านหน้า จึงจำเป็นต้องแกะแม่พิมพ์ด้านหลังขึ้นมาใหม่ ส่วน “หลักพิจารณาขั้นต้น” โดยเฉพาะด้านหน้าซึ่งมีพิมพ์เดียว ได้แก่

- ปลายหางคำว่าตัว ค คำว่า พระครู นั้นจะมีขีดเกินเล็กๆ ปรากฏอยู่

- มือขวาบนหน้าตักของหลวงพ่อแกะเป็นร่องดูเหมือนนิ้วแยก

- บริเวณร่องแยกในโบระบุปี พ.ศ. ด้านขวามือของหลวงพ่อมีขีดเล็กๆ ซ้อนกัน 2 ขีด ส่วนด้านซ้ายมี 3 ขีด

- นิ้วเท้าของหลวงพ่อแกะเป็นร่องดูเห็นเป็น 3 นิ้ว และนิ้วโป้งจะใหญ่ที่สุด

“ วัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่ศุข รุ่นแรก ปี 2466″ นี้ นับเป็นที่เสาะแสวงหาในหมู่นักนิยมสะสมพระเครื่อง และของแท้ๆ หาได้ยากยิ่ง ดังนั้น จึงควรพิจารณาด้วยความรอบคอบครับผม

คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง

โดยราม วัชรประดิษฐ์

ศูนย์จองพระเครื่อง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล...

ถอดรหัสอักขระศักดิ์สิทธิ์ สู่พุทธคุณอมตะ หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง

พระปิดตายันต์ยุ่งหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอขอบคุณภาพจาก: http://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=422&qid=48516 พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ นับเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาอย่างกว้างขวางในวงการ พระเครื่อง ไทย โดยมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับหลวงพ่อเชิญ ปุญฺญสิริ แห่งวัดโคกทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลักษณะเด่นของพระเครื่องชุดนี้คือการผสมผสานพุทธศิลป์ของ "พระปิดตา" ซึ่งหมายถึงพระพุทธรูปในปางปิดพระเนตร เข้ากับ "ยันต์ยุ่ง" อันหมายถึงอักขระเลขยันต์ที่สลับซับซ้อนพันเกี่ยวกันทั่วองค์พระ ความสนใจและการเสาะหาพระปิดตารุ่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาในพุทธคุณและบารมีของหลวงพ่อเชิญ รวมถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของยันต์ยุ่งที่เชื่อกันว่าเปี่ยมด้วยอานุภาพ การปรากฏของพระเครื่องรุ่นนี้ในตลาดซื้อขายและเวทีการประมูลจำนวนมาก ย่อมบ่งชี้ถึงความต้องการที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ศรัทธาและนักสะสม ชื่อเสียงของหลวงพ่อเชิญในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและวิทยาคม เป็นปัจ...