พระร่วงนั่งซุ้มเรือนแก้ว กรุบ้านทหารจังหวัดสุพรรณบุรี

 พระร่วงนั่งซุ้มเรือนแก้ว กรุบ้านทหารจังหวัดสุพรรณบุรี


เครดิตภาพ:https://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=35&qid=42848

พระร่วงนั่งซุ้มเรือนแก้ว เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงศิลปะลพบุรี ซึ่งถูกค้นพบเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2513 ณ บ้านละหาร ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี สถานที่ๆถูกค้นพบนั่นก็คือ ใต้ถุนบ้านของนายสงวน เนื่องมาจากนายสงวนได้เห็นว่ามีอิฐโผล่เหนือพื้นดินขึ้นมา ด้วยความเป็นห่วงกลัวว่า

ลูกหลานจะเดินสะดุดหกล้มจึงได้ใช้เสียมมาขุดเอาอิฐออก แต่เมื่อก็ได้พบกระปุกโบราณ 1 ใบยุคไปเรื่อยๆซึ่งภายในกระปุกใบนั้นได้บรรจุพระร่วงนั่งซุ้มเรือนแก้วประมาณ60 องค์ และพระร่วงยืนอีก 2 องค์ และด้วยความที่นายสงวน

เป็นคนจิตใจดีเขาจึงได้แจกจ่ายพระเครื่องที่เขาพบนี้ให้แก่บรรดาญาติพี่น้องของเขาไป จากนั้นอีกไม่นานก็เกิดเรื่องมหัศจรรย์ขึ้นเมื่อลูกสาวของนายสงวนได้ฝันว่า ใต้ถุนบ้านของตนเองนั้นยังมีพระเครื่องฝังอยู่อีก นายสงวนจึงลงมือขุดดูอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็ปรากฏว่าความฝันของลูกสาวเขาเป็นจริง เพราะภายในใต้ถุนบ้านของเขานั้น ยังมีพระร่วงนั่งซุ้มเรือนแก้วและพระนาคปรกอีกนับพันองค์ นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปสำริด สมัยลพบุรี อีกหนึ่งองค์

พระร่วงนั่งซุ้มเรือนแก้ว เป็นพระร่วงนั่งที่มีพิมพ์ทรงลักษณะค่อนข้างแตกต่างไปจากพระร่วงนั่งกรุอื่นๆ เพราะมีรูปทรงที่ค่อนข้างต้อ สามารถวางตั้งได้ ฐานขององค์พระก็มีความหนาและกว้างพอประมาณ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายใบเสมา องค์พระบึกบึน พระอุระกว้าง พระอุทรอ้วน และพระอาสนะเป็นแบบบัวเม็ด ประทับนั่งปางสมาธิแบบขัดราบ สวมอุณหิส (มงกุฎหรือกรอบหน้า) กรยาศอ (สร้อยคอ และกำไรรัดต้นแขน) ส่วนด้านหลังนั้นเรียบ หรือบางองค์ก็มีผิวขรุขระ ในด้านของพุทธคุณนั้น มีมากทางด้าน คงกระพันและแคล้วคลาดพร