พระวัดพลับ วัดราชสิทธาราม
“วัดพลับ” หรือ “วัดราชสิทธาราม”มีพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่รู้จักในหมู่พุทธศาสนิกชนและแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั่นก็คือ “พระวัดพลับ”
พระวัดพลับเป็นพระกรุที่มีอายุกว่า 100ปีมาแล้วแต่ยังหาหลักฐานที่ชัดเจนไม่ได้ว่าใครเป็นผู้สร้างขึ้นมาแต่มีเหตุให้สันนิษฐานอยู่ 2ประการคือ
1.สันนิษฐานกันว่า สมเด็จพระสังฆราช(สุก ญาณสังวร) หรือ สมเด็จพระสังฆราช
ไก่เถื่อน เป็นผู้สร้างและปลุกเสก เหตุที่สันนิษฐานเพราะสืบเนื่องมาจากท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดพลับนี้เป็นเวลานานถึง 38 ปี
2.สันนิษฐานกันว่า “ขรัวตาจันหรือหลวงตาจัน” พระภิกษุเขมร (บางตำราก็ว่าพระภิกษุมอญ) ผู้เรืองวิชาทางคาถาอาคมที่มาจำพรรษาอยู่ที่วัดพลับเป็นผู้สร้างวัดพลับขึ้นมา แล้วได้นำวัดพลับส่วนหนึ่งไปบรรจุไว้ที่วัดโค่ง จังหวัดอุทัยธานีพระวัดพลับนั้นกำเนิดที่วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) ธนบุรีเมื่อประมาณพ.ศ. 2380 (สมัย ร.3) พระทั้งหมดผู้สร้างได้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ข้างพระอุโบสถ ต่อมาถึง
พ.ศ. 2470 พระวัดพลับได้แตกกรุออกมาอย่างมากมายหลายพิมพ์อาทิเช่น
1.พิมพ์ยืนถือดอกบัว (วันทาเสมา)
2.พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ และ เล็ก
3.พิมพ์สมาธิใหญ่ และ เล็ก
4.พิมพ์เข่ากว้างใหญ่ และ เล็ก
5.พิมพ์พุงป่องใหญ่ และ เล็ก
6.พิมพ์ปิดตาใหญ่ และ เล็ก
7.พิมพ์สองหน้า และต่อมาปรากฏว่าที่
จังหวัดอุทัยธานีก็ได้มีการแตกกรุขึ้นและมีพระพิมพ์ดังที่กล่าวขึ้นจากกรุวัดโค่งอีกถึงสองครั้ง
เครดิตรูปภาพ : ข่าวสด
พระวัดพลับเป็นพระผงที่ประกอบด้วย ผงวิเศษต่าง ๆ โดยมีส่วนผสมหลัก คือปูนเปลือกหอยเป็นพระที่มีวรรณะสีขาว ขาวอมเหลืองถึงยาวจัด มีทั้งเนื้อหยาบ, เนื้อละเอียด ที่มีความหนึกนุ่ม และมีลักษณะแกร่ง พระส่วนหนึ่งมักจะมีลักษณะปริร้าวตลอดทั้งด้านหน้าและด้านหลังเนื้อมวลสารของพระวัดพลับ จะดูคล้ายคลึงกับพระสมเด็จวัดระฆังฯมากต่างกันตรงที่ “พระวัดพลับ” บางองค์จะมีรอยลาน
ของเนื้อพระอันเกิดจากความร้อนทำให้องค์พระมีผิวลานและมีรอยแตกร้าวแบบไข่นกปรอดพื้นผิวขององค์พระจะมีสีค่อนข้างขาว ปรากฏเป็นคราบนํ้า ตกผลึเป็นสีขาวและสีเหลืองอ่อนเจือปน หรือที่เรียกว่า “ฟองเต้าหู้” อันเกิดจากคราบน้ำในกรุหรือคราบนํ้าฝนที่รั่วไหลเข้าไปในกรุกระทบกับองค์พระที่มีส่วนผสมของปูขาวเป็นเวลายาวนาน จึงเกิดเป็นหินปูนจับเป็นคราบ และนอกจากนี้พระวัดพลับบางองค์ดูเหมือนมีเนื้องอกขึ้นจากพื้นผิวขององค์พระเป็นเม็ดๆ อันเกิดจากสภาพของกรุเจดีย์ที่สร้างมานาน ในตอนกลางวันได้รับความร้อนก็จะอบอยู่ในกรุเจดีย์ ทำให้พระในกรุอมความร้อนไว้กอปรกับสภาพน้ำที่ซึมเข้ามาในกรุผสมกับปูนขาว
ดังกล่าวข้างต้น ปูนแคลเซียมเมื่อจับบนองค์พระที่ร้อนจัดจึงกลายเป็นปูนเดือดบนองค์พระ และตกตะกอนเป็นเม็ด ๆคล้ายเนื้องอก แต่จะเป็นที่พื้นผิวเท่านั้นไม่ได้เกิดจากเนื้อขององค์พระ เมื่อขูดเอาเนื้องอกส่วนนั้นออก ผิวขององค์พระก็จะเรียบเหมือนเดิมทุกประการ
พระวัดพลับเป็นพระที่เชื่อได้ในด้านพุทธคุณเยี่ยมมากทางคงกระพันชาตรีและทางแคล้วคลาดปลอดภัย