พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี


ผู้สร้าง "พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว" ก็คือ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี อัตโนประวัติโดยย่อของหลวงพ่อแก้ว ท่านถือกำเนิดจากครอบครัวชาวประมงจังหวัดเพชรบุรี ในราวปลายรัชกาลที่ 2 บางตำราก็ระบุว่า ท่านเป็นคนบ้านบางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพระทรง จ.เพชรบุรี ก่อนที่จะธุดงค์ไปบูรณะวัดเครือวัลย์ แขวงบางปลาสร้อย จ.ชลบุรี ซึ่งที่นั่นเองเป็นจุดกำเนิดของสุดยอดพระปิดตาอันดับหนึ่งของประเทศไทยพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว เนื้อผงคลุกรัก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์ คือ 1) พิมพ์ใหญ่ ให้สังเกตจะเห็นกำไลข้อพระบาทและส้นพระบาท พระนาภีจะนูนขึ้นมาเล็กน้อย พิมพ์ด้านหลัง มีทั้งหลังแบบ คือ ด้านหลังเป็นรูปองค์พระเหมือนด้านหน้ากดเว้าลึกลงไป พระเศียรด้านหลังที่เว้าลึกจะไม่ลึกมาก และจะรีคล้ายไข่เป็ด สำหรับองค์ที่ติดชัดจะเห็นนิ้วขึ้นเป็นไรๆ บริเวณพระหัตถ์ทั้งสองข้าง หลังเรียบ และหลังยันต์ (อุทับถม) ซึ่งพบน้อยมาก 2) พิมพ์กลาง หลังแบบ หลังเรียบ หลังยันต์ และ 3) พิมพ์เล็ก

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี

เนื้อของพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว ส่วนมากจะพบเป็นเนื้อละเอียด และมักปรากฏเม็ดสีน้ำตาล สีแดง ซึ่งเกิดจาก "ว่าน" ขึ้นประปราย ถ้าหากลึกเนื้อในจะละเอียดเป็นสีน้ำตาลอมดำ คนโบราณเรียกหลวงพ่อแก้วเนื้อกะลา เพราะจะเห็นเป็นจุดเล็กๆ คล้ายกะลาเก่าขัดมัน บางองค์มีการปิดทอง ซึ่งต้องพิจารณาทองเก่าให้เป็น เพราะทองเก่าเนื้อจะออกสีแดงอมเหลืองและด้าน ไม่เหมือนกับทองใหม่ซึ่งจะเป็นมันวาว