ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตำนานพระกริ่งนเรศวรเมืองงาย


ตำนานพระกริ่งนเรศวรเมืองงาย

ภายโดย:ริมฝั่งวัง2
 ชาติไทยได้ดำรงความเป็นอิสระเสรีจนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีวีรชนผู้กล้าเสียสละเลือดเนื้อเป็นชาติพลี เพื่อลูกหลานและชนรุ่นหลังโดยตลอดมา บรรดาวีรชนที่นับว่าได้เสียสละ ไม่มีใครจะประกอบวีรกรรมอันสูงส่งเทียบเท่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และผุ้ร่วมพระหฤทัย เช่น สมเด็จพระเอกาทศรถ บรรดาแม่ทัพนายกอง และนักรบผู้กล้าหาญของชาวไทย ชาวเชียงใหม่ได้ระลึกอยุ่เสมอว่า ที่การพวกเราได้อยู่อย่างเป็นสุขสบายจนกระทั่งทุกวันนี้ ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงมีพระเมตตาต่อชาติไทย จึงได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะได้ร่วมกันจัดสร้างสิ่งอันเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ขึ้น 
พระกริ่งนเรศวรเมืองงาย สร้างเพื่อหาทุนก่อสร้าง พระสถูปเจดีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ ประดิษฐาน ณ ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ โดย พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผวจ.เชียงใหม่ เป็นประธานจัดสร้าง มี พล.ต.ต.ยรรยง สะท้านไตรภพ และพระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดา กทม.เป็นเจ้าพิธี

ก่อนประกอบพิธีได้ส่งแผ่นทอง เงิน นาก ให้พระเกจิอาจารย์ดังทั่วประเทศ ลงเหล็กจารและปลุกเสกตลอดพรรษา ก่อนส่งกลับให้คณะกรรมการดำเนินงาน นำไปหล่อหลอมพร้อมกับชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย
วัตถุมงคลพระเครื่องที่จัดสร้างครั้งนั้นประกอบด้วย พระพุทธรูป ซึ่งออกแบบปั้นและเททองหล่อโดย นายแม้น บัวแดง ช่างผู้หล่อพระพุทธชินราช ชื่อดัง ส่วน พระกริ่งนเรศวรเมืองงาย แกะแม่พิมพ์โดยช่างเกษม มงคลเจริญ สุดยอดฝีมือแห่งยุค
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๐๘ ณ.ที่แห่งนี้ และเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๑ ได้ทรงเจิมและทรงสุหร่ายศิลาฤกษ์และแผ่นอิฐซึ่งได้มาจากพระเจดีย์องค์เดิม และ นอกจากนั้นพระองค์ในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๒ ได้เสด็จฯ มาเป็นประธานในพระราชพิธีพุทธาภิเษก
พิธีพุทธาภิเษก กำหนดฤกษ์ วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๑๒ ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ โดยเริ่มพิธีจุดเทียนชัย และเจริญพุทธมนต์ สวดพุทธาภิเษก ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๑๒

พิธีพุทธาษิเษก พระกริ่งนเรศวรเมืองงายครั้งนั้น ได้จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2512
ณ.วิหารวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ในพิธีพุทธาษิเษกครั้งนี้ พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ประธานคณะกรรมการจัดสร้างฯ ได้กราบบังคมทูลฯ
ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เสร็จทรงเป็นประธานในพิธีเททองพระพุทธสิหิงค์และนมัสการสมเด็จพระวันรัตเป็นประธานในพิธีเททองพระกริ่งนเรศวรเมืองงาย
และพระร่วงหลังรางปืน รายนามพระเกจิอาจารย์ ที่ร่วมในพิธีพุทธาษิเษก 

1. หลวงพ่อคล้าย วัดจันดี นครศรีธรรมราช
2. พระเทพวิสุทธิเมธี(เจีย) วัดพระเชตุพน กทม.
3. พระครูวิริยะกิติ(โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
4. พระครูโสภณกัลยาณมิตร(เส่ง) วัดกัลยานิมิตร กทม.
5. พระครูปลัดสงัดคณิสสโร วัดพระเชตุพน กทม.
6. หลวงพ่อก๊ก วัดดอนขมิ้น กาญจนบุรี
7. หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม อยุธยา
8. หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ อยุธยา
9. หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ อยุธยา
10. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตรา อยุธยา
11. พระครูพิพัฒน์สิริธร(หลวงพ่อคง) วัดบ้านสวน พัทลุง
12. พระอาจารย์ชินะวโรภิกขุ(หลวงพ่อนำ) วัดดอนศาลา พัทลุง
13. หลวงพ่อเล็ก วัดดินแดง นครปฐม
14. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์ ลพบุรี
15. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
16. พระครูวิสัยโสภณ(หลวงพ่อทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี นอกจากท่านจะมาร่วมพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้แล้ว
ยังได้มอบพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านที่สร้างไว้ตั้งแต่ปี 2506 มอบให้แก่ทางวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เพื่อมร่วมทำบุญกุศลอีกด้วย
17. หลวงพ่อแดง วัดบางเกาะเทพศักดิ์ สมุทรสงคราม
18. หลวงพ่อจ้วน วัดเขาลูกช้าง เพชรบุรี
19. หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง พิจิตร
20. หลวงพ่อจ้อน วัดเจ็ดริ้ว สมุทรสาคร
21. พระวิบูลย์เมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
22. พระอาจารย์สมคิด วัดรังโฆษิตาราม สุพรรณบุรี
23. พระราชมุนี วัดปทุมวนาราม กทม.
24. พระอริยเมธี วัดปทุมวนาราม กทม.
25. พระครูพุทธิวัฒน์ วัดธรรมจักร พิษณุโลก
26. พระครูอภัยจริยานิยม(ตุ้ย) วัดใหม่ พิษณุโลก
27. ครูบาวัง วัดบ้านเด่น ตาก
28. พระราชวิสุทธิ วัดสวนดอก ลำปาง
29. พระอาจารย์สม วัดหัวข่วง ลำปาง
30. พระอาจารย์ชุม วัดเกาะ ลำปาง
31. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ลำปาง
32. พระราชปัญญาโสภณ วัดราชนัดดาราม กทม.
33. พระครูพิพัฒน์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม กทม.
34. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเทพธิดา กทม.
35. พระพิธีธรรม 4 รูป วัดราชนัดดา กทม.
36. พระพิธีธรรมรามัญ 4 รูป วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
37. พระพิธีธรรม ภาคพายัพ สำนักจังหวัดเชียงใหม่ เชียงใหม่ 

สำหรับพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์นเรศวรเมืองงาย พระร่วงยืนหลังรางปืนฯลฯ ครั้งนี้ เจ้าพิธีในการประกอบพิธีพุทธาภิเษกได้แก่พระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดารามวรวิหาร กทม. ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างพระกริ่งมาหลายรุ่น ครั้งสุดท้ายได้สร้างพระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ ร่วมกับ พล.ต.ต.ยรรยง สท้านไตรภพ รองจเรตำรวจ ให้แก่สมาคมศิษย์เก่าพิษณุโลกพิทยาคม จ.พิษณุโลก 
เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2511 ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ที่นิยมพระเครื่องทั่วไปอย่างสูง ไม่เพียงพอแก่ความต้องการทุกครั้ง ปรากฏการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดถึงว่าจะเกิดขึ้น เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อตอนเย็นของวันที่ 14 มกราคม 2513 เวลา 18.00 น. 
โอกาสเดียวกันนี้ ท่านเจ้าคุณพระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระสิงห์ ได้นำ พระหลวงพ่อทวด วัดพระสิงห์ ที่ พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี นำมามอบให้ตั้งแต่ปี ๒๕๐๖ เข้าร่วมพิธีปลุกอีกครั้ง พระพิธีธรรม ๔ รูป สำนัดวัดราชนัดดารามวรวิหาร กทม. พระพิธีธรรมรามัญ ๔ รูป สำนักวัดตำหนักเหนือ นนทบุรี, พระพิธีธรรม ภาคพายัพ สำนักจังหวัดเชียงใหม่
พิธีพุทธาภิเษก ครั้งนี้ นับเป็นพิธียิ่งใหญ่ของเมืองเหนือ โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั่วประเทศ ๔๕ ร่วมนั่งปรกปลุกเสกตลอด ทำบุญเช่าวัตถุมงคล หลังเสร็จพิธีแล้ว ๑๕ วัน ปรากฏว่าได้เงินทำบุญกว่า ๑ ล้านบาท รวมกับยอดจองล่วงหน้าอีก ๒ ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๓ ล้านบาท คณะกรรมการดำเนินงานสามารถนำไปก่อสร้างอนุสาวรีย์ และพระสถูปเจดีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ตามเป้าหมาย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ รุ่น คูณลาภ หลวงพ่อคูณ

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์  รุ่น คูณลาภ หลวงพ่อคูณ พระกริ่งหลวงพ่อคูณ จากคุณ สิงห์เหนือ_เขลางค์ สุดยอดแห่งพระกริ่งพระชัยวัฒน์ รุ่น คูณลาภ ที่พระเดชพระคุณพระญาณวิทยาคมเถร (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) ประธานเททอง และปลุกเสกพระเครื่องเดี่ยว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2535 ณ.วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมาพระกริ่ง หลวงพ่อคูณ