ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม



วัตถุมงคลที่หลวงพ่อน้อยสร้างมีทั้งเหรียญ วัวธนู กะลาแกะ และผ้ายันต์ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมอย่างสูง โดยเฉพาะ "เหรียญหล่อ" เนื่องจากท่านสร้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2487 ซึ่งสงครามกำลังดำเนินอยู่ใกล้ๆ วัด ท่านก็สามารถทำพิธีเททองหล่อเหรียญได้จนแล้วเสร็จเป็นที่อัศจรรย์และกล่าวขานกันเรื่อยมา แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเครื่องรางของขลังที่เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดซึ่งก็คือ "ราหูอมจันทร์หลวงพ่อน้อย"

หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดนครปฐม ท่านทำให้วัดศีรษะทองเป็นที่รู้จักและเลื่องชื่อโดยเฉพาะในเรื่องการกราบไหว้องค์ราหู เพื่อสะเดาะเคราะห์และขอพร เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังหรือได้ไปมาบ้างแล้ว "พันธุ์แท้พระเครื่อง" จึงขอนำอัตโนประวัติโดยย่อและเรื่องราวของวัตถุมงคล "ราหูอมจันทร์" มาเล่าสู่กันครับผม

หลวงพ่อน้อย ศัสธโชโต เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 ที่เมืองนครชัยศรี บิดาเป็นชาวลาวมาจากเวียงจันทน์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาอาคมและเครื่องรางของขลังต่างๆ หลวงพ่อน้อยจึงได้ศึกษากับบิดาตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดแค โดยพระอธิการยิ้ว เจ้าอาวาสวัดแคเป็นพระอุปัชฌาย์ พระภิกษุมุน วัดกลางคูเวียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระภิกษุลอย วัดแค เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ศัสธโชโต"

ต่อมาท่านย้ายมาจำพรรษา ที่วัดศีรษะทอง ในสมัยที่พระอธิการลีเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด หลวงพ่อน้อยได้ฝึกฝนวิทยาอาคมจนแตกฉาน ท่านเป็นพระภิกษุที่มีศีลาจารวัตรงดงาม มีเมตตาธรรมสูง ช่วยเหลือกิจต่างๆ ของวัด ทั้งได้สร้างพระและเครื่องรางของขลังต่างๆ ขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ในการพัฒนาวัดศีรษะทองจนเจริญรุ่งเรือง ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากพระอธิการช้อย ปกครองและพัฒนาวัดเรื่อยมาจนมรณภาพในปี พ.ศ. 2490 สิริอายุได้ 55 ปี

"ราหูหลวงพ่อน้อย" แบ่งการแกะออกเป็น 2 ฝีมือ คือ ฝีมือช่างฝีมือภายในวัดและฝีมือชาวบ้าน ส่วนลายมือในการจารนั้นมี 4 ท่าน คือ หลวงพ่อน้อย ช่างลี ลูกศิษย์ตาปิ่น และพระอาจารย์สม ดังนั้นรูปแบบของราหูหลวงพ่อน้อยจึงมีความแตกต่างกันไปตามฝีมือและลายมือของแต่ละท่าน ไม่เป็นมาตรฐานแปะๆ แบบการหล่อที่มีแม่พิมพ์ ประเด็นสำคัญอยู่ที่หลวงพ่อน้อยท่านเป็นผู้ปลุกเสกเองทั้งหมด

ของดีๆ อย่างนี้ มีการเลียนแบบแน่นอน ดังนั้นพิจารณาให้ดีจากความเก่าและความเป็นธรรมชาติของเนื้อกะลาที่นำมาแกะ ถ้ากะลาที่ไม่ได้ผ่านการใช้เลยจะมีความแห้งและดูเก่า ส่วนกะลาที่ผ่านการใช้มาแล้ว เนื้อจะดูเป็นขุยและยุ่ย ย้ำนะครับ...ของปลอมเยอะมากครับผม
"ราหูหลวงพ่อน้อย" นับเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เพราะมีคุณปรากฏเป็นเลิศทั้งด้านโชคลาภ การพ้นเคราะห์ และเสริมดวงชะตา กรรมวิธีการสร้างนั้นหลวงพ่อน้อยสืบทอดมาจากหลวงพ่อไตร อันเป็นการสร้างตามตำรับใบลาน จารอักขระขอมลาวที่นำมาจากประเทศลาวโดยตรง ซึ่งก็คือการใช้ "กะลาตาเดียว" มาแกะนั่นเอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ :สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือสมเด็จพระสังฆราช แพร พระกริ่งหลังปิ มีพุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัยพระหัตถ์ซ้ายทรงถือวชิระ ทรงคล้ายหัวปลี มีพุทธลักษณะคล้ายพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระมงคล ราชมุนี ซึ่งคงถอดพิมพ์ดังกล่าวมามีจำนวนสร้างมากถึง 100 องค์แสนเนื้อเดิมเป็นศรีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาวแบบปีกแมลงทับ มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ เมื่อประกอบพิธีเททอง พระกริ่ง เสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระคณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์รวมทั้งหลวงปู่ดู่ที่จารเป็นยันต์กอหญ้าด้วยแล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ซึ่งมีพระเกจิอาจารย์เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 6 7 8 กุมภาพันธ์พศ 2508 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระกริ่งหลังปิ บางส่วนที่ยังคงเหลือได้เก็บไว้ในพระอุ