ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญนะสำเร็จ หลวงพ่อน่วม วัดโพธิ์ศรีเจริญ



สำหรับพญานาคตามตำนานพญานาค มีอยู่ก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว ดังเช่น หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่างๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ "มุจลินท์" ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อ "มุจลินท์" เข้ามาวงด้วยขนด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้วคลายขนดออก แปลงเพศเป็นมานพมายืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า

ความเชื่อดังกล่าวทำให้ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาคคือผู้คุ้มครองพระศาสดา

พญานาค...สะพาน (สายรุ้ง) ที่เชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ โลกศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อที่ว่า พญานาคกับรุ้งเป็นอันเดียวกัน ก็คือสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์นั่นเอง

นาคสะดุ้ง...ที่ราวบันไดโบสถ์นั้นได้สร้างขึ้นตามความเชื่อถือ "บันไดนาค" ก็ด้วยความเชื่อดังกล่าว แม้ตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ก็โดยบันไดแก้วมณีสีรุ้ง ที่เทวดาเนรมิตขึ้นและมีพญานาคจำนวน 2 ตนเอาหลังหนุนบันไดไว้

หรือแม้แต่ตุง ของชาวล้านนา และพม่า ก็เชื่อกันว่าคลี่คลายมาจากพญานาค และหมายถึงบันไดสู่สวรรค์

ความเชื่อของชาวฮินดู ก็ถือว่านาคเป็นสะพานเชื่อมภาวะปกติ กับที่สถิตของเทพ ทางเดินสู่วิษณุโลก เช่น ปราสาทนครวัด จึงทำเป็นพญานาคราช ที่ทอดยาวรับมนุษย์ตัวเล็กๆ สู่โลกแห่งความศักดิ์สิทธิ์ หรือก็บั้งไฟของชาวอีสานที่ทำกันในงานประเพณีเดือนหก ก็ยังทำเป็นลวดลาย และเป็นรูปพญานาค พญานาคนั้นจะถูกส่งไปบอกแถนบนฟ้าให้ปล่อยฝนลงมา

กว่าจะได้ร่ำเรียนวิชานะสำเร็จจากพระอาจารย์โต อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรีเจริญ จังหวัดสุพรรณบุรี หลวงพ่อน่วมต้องผ่านด่านการทดสอบเพื่อจะก้าวเข้าไปศึกษาในศาสตร์วิชานี้ คือ ห้ามรับประทานอาหารที่เป็นแป้งทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นข้าว หัวเผือก หัวมัน ขนมปัง ผลไม้อย่างมะม่วง ฝรั่ง ข้าวโพด ฉันได้แต่เพียงผักและใบไม้ ผลไม้บางชนิดเท่านั้น แม้กระทั่งเนื้อสัตว์ก็ห้ามฉัน เป็นระยะเวลา 4 ปี จึงจะได้รับการถ่ายทอดวิชาจากพระอาจารย์โต

นอกจากนั้น หลวงพ่อน่วมต้องฝึกฝนการทำกรรมฐาน ทั้งอาณาปาณสติ หรือการกำหนดลมหายใจ และการฝึกกสิณหมวดต่างๆ จนช่ำชอง และต้องหัดบริกรรมคาถาที่พระอาจารย์โตสอนให้ ต้องท่องจนจำได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งฝึกการเขียนอักขระขอมจนแตกฉาน การฝึกวิชาต่างๆ เหล่านี้กินเวลาหลายปีกว่าจะสำเร็จ วิชาหลักๆ ที่ท่านได้รับการถ่ายทอดมา เช่น การเรียนทำปลัดขิก ซึ่งเป็นสายวิชาจากหลวงพ่ออี๋ที่พระอาจารย์โตท่านสำเร็จ การลงนะมหาสำเร็จ และวิชาปลากัดเรียกลาภ ซึ่งพระอาจารย์โตท่านเชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งวิชาอื่นๆ อีกมาก ทั้งคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม มหาลาภ ท่านก็ล้วนได้รับการถ่ายทอดจากพระอาจารย์โตทั้งสิ้น

หลวงพ่อน่วมในนำวิชาเหล่านี้มาประกอบในการสร้างวัตถุมงคล เพื่อเป็นเครื่องคุ้มครองเหล่าลูกศิษย์ลูกหา และหนึ่งในวัตถุมงคลของหลวงพ่อน่วม คือ เหรียญรูปเหมือนนะสำเร็จหลังยันต์พญานาครักษาทรัพย์ ซึ่งสร้างทั้งหมด 3 เนื้อด้วยกัน คือ เนื้อทองแดง (300 บ.) เนื้อนวโลหะ (500 บ.) และเนื้ออัลปาก้า (400 บ.) เหรียญในรุ่นนี้ได้ทำพิธีปลุกเสก ณ วัดสุทัศนเทพวรารามเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2551 มีพระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก เช่น หลวงปู่กาหลง เขี้ยวเพชร หลวงพ่ออั้น วัดโรงโค

พระเครื่องพลาซ่า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่งราชาฤกษ์ เจ้าคุณศรี ประหยัด วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ

 พระกริ่งราชาฤกษ์ เจ้าคุณศรี ประหยัด วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ พระกริ่งรุ่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาในการพิธีและทรงเจิมสรรพสิ่งของในพิธีแล้วทรงพระสุหร่ายจากนั้นเสด็จลงเททองในพิธีแล้วทรงจุดเทียนชัยพิธีปลุกเสกและท่านเจ้าคุณศรีได้กล่าว ปรารภขึ้นว่าปีนี้เป็นปีปีพ.ศ 2517 มีฤกษ์ยามที่เป็นมงคลเหมาะแก่การประกอบพิธีหล่อพระและทำเครื่องรางของขลัง พระกริ่งราชาฤกษ์ จึงถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายนพ.ศ๒๕๑๗จำนวน 200 องค์แต่งสวยทุกองค์ด้วยฝีมือช่างคนเดียวกันทุกองค์พระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่ง 1 ใน 3 รุ่นหลังของท่านที่สร้างในปีพ.ศ 2517 พระกริ่งราชาฤกษ์ ท่านเจ้าคุณได้กำหนดฤกษ์เททองในการสถาปนาเป็นองค์พระคือราชาฤกษ์อันเป็นอุดมมงคลเลิศด้วยเห็นว่าการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาในการพิธีนี้เป็นมงคลอันสูงสุดส่วนแม่พิมพ์ของพระกริ่งรุ่นนี้ได้แบบอย่างพระกริ่ง 79 ของสมเด็จแพใช้ชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์รวมถึงพระยันต์ของพระเกจิยุคก่อนพศ 2500 และหลังพ.ศ 2500 ที่ท่านได้รวบรวมไว้แต่ในอดีต และพระยันต์ของท่านที่ได้ลงไว้เป็นส่วนผสมสำหรับเททองหล่อ พระกริ่ง ในคราวนี้ พระกริ่ง ที่สร้างในปีพ.ศ๒๕๑๗นี้เ

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ