"ประมาณปี พ.ศ. 2482 มีพระภิกษุรูปหนึ่งพายเรือมาขึ้นที่ตลาดอำเภอบางระกำ พอถึงก็นำถังเหล็กขนาดใหญ่ความจุราว 200 ลิตร ที่อยู่ในเรือขึ้นมา ปรากฏว่าภาย ในถังบรรจุพระเครื่องอยู่เต็ม ท่านจึงนำพระทั้งหมดไปฝากไว้กับคหบดีอำเภอบางระกำ แล้วบอกว่า "ขอฝากพระทั้งหมดนี้ไว้ก่อน แล้วจะมารับคืนในภายหลัง"
ท่านคหบดีได้เก็บรักษาพระเครื่องทั้งหมดไว้นานถึง 3 ปี แต่พระภิกษุรูปนั้นก็หาได้กลับมารับพระคืนไม่ ท่านจึงตัดสินใจขนย้ายพระทั้งหมดไปเก็บรักษาไว้ที่วัด ซึ่งน่าจะเป็นการสมควรกว่า โดยฝากไว้กับพระครูสุนทรประดิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดสุนทรประดิษฐ์ในสมัยนั้น ประมาณปี พ.ศ. 2485 ท่านพระครูก็ได้นำพระไปเก็บไว้ในบริเวณพระอุโบสถ และในปีนั้นเองได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่น้ำท่วมอุโบสถ จึงทำให้พระเครื่องที่เก็บไว้ถูกน้ำท่วมไปด้วย เมื่อน้ำลดลงจึงปรากฏคราบตะกอนดินจับเต็มองค์พระ แต่ไม่ใช่ในลักษณะคราบกรุ
พระเครื่องเหล่านั้นเริ่มปรากฏสู่สายตาภายนอกเมื่อพ่อค้าไม้รายหนึ่งเดินทางไปทำงาน แล้วแวะที่อุโบสถวัดสุนทรประดิษฐ์ จึงนำพระออกมาให้เช่าที่ จ.พิษณุโลก ในสนน ราคาที่สูงพอสมควรในสมัยนั้น ปรากฏว่าผู้ที่เช่าบูชาไปประจักษ์ในพุทธานุภาพ ความต้อง การจึงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จำนวนพระเริ่มร่อยหรอลง ท่านเจ้าอาวาสจึงได้นำพระส่วนหนึ่งเก็บซ่อนไว้ แต่ก็ถูกขโมยไปจนหมดในที่สุด"
"ฝักไม้ดำ" ลักษณะเป็นพระพิมพ์ใหญ่ เนื้อผง มีหลายสี ทั้งสีดำ น้ำตาล ขาว และเขียว ด้านหน้าพระประธานแสดงปางลีลา ล้อมรอบด้วยอักขระขอมที่แสดงถึงพระพุทธคุณมากมาย มุมทั้ง 4 ขององค์พระอ่านว่า "นะ มะ พะ ทะ" ส่วนด้านหลังด้านบนมีอักขระขอมว่า "มะ อุ อะ" ตอนกลางมีองค์พระประทับนั่ง 3 องค์ ซ้ายสุดปางสมาธิ องค์กลางปางมารวิชัย และขวาสุดประทับนั่งประนมมือ ถัดลงมาเป็นอักขระขอมว่า "นะ ปะ ทะ อะ ระ หัง" ล่างสุดเป็นรูป "สิงห์ป้อนเหยื่อให้เสือ" อันอาจเป็นที่มาของฉายา "สิงห์ป้อนเหยื่อ" ก็เป็นได้
"ฝักไม้ขาว" จะเป็นพระที่มีขนาดย่อมลงมา ส่วนใหญ่จะมีคราบผิว เนื้อฟู และบางส่วนแตกปริจากการถูกน้ำท่วม พุทธลักษณะขององค์พระมีหลายแบบ ทั้งประทับนั่งและประทับยืน
พิจารณาจากอักขระขอมที่ผู้สร้างบรรจงสร้างสรรค์ลงในองค์พระ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ถึงความเพียบพร้อมครบครันของ "ฝักไม้ดำ" และ "ฝักไม้ขาว" ทั้งเจริญรุ่งเรือง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี แม้ราชสีห์ที่ว่าโหดร้ายยังศิโรราบต่อเมตตาธรรมยอมป้อนเหยื่อให้กับเสือซึ่งเป็นศัตรู จึงนับเป็นที่แสวงหาของนักนิยมสะสมอย่างมาก ยิ่งในสมัยนั้นเหล่าบรรดาทหารหาญต่างพากันดั้นด้นไป อ.บางระกำ เพื่อแสวงหาไว้เป็นเกราะเพชรคุ้มภัยต่างๆ ซึ่งการเดินทางก็เรียกได้ว่า "ระกำ" สมชื่อจริงๆ
แม้แต่ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม ยังนำ "สิงห์ป้อนเหยื่อ" มาบรรจุตลับฝังเพชรและอาราธนาติดตัวตลอดเวลาครับผม
"สิงห์ป้อนเหยื่อ" เป็นฉายาของพระเครื่องพิมพ์หนึ่งของอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ชาวบ้านมักเรียกกันว่า "ฝักไม้ดำ" และ "ฝักไม้ขาว"
พระเครื่องพิมพ์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด มีเพียงเรื่องเล่าขานกันต่อมาถึงที่ไปที่มาว่า...
ท่านคหบดีได้เก็บรักษาพระเครื่องทั้งหมดไว้นานถึง 3 ปี แต่พระภิกษุรูปนั้นก็หาได้กลับมารับพระคืนไม่ ท่านจึงตัดสินใจขนย้ายพระทั้งหมดไปเก็บรักษาไว้ที่วัด ซึ่งน่าจะเป็นการสมควรกว่า โดยฝากไว้กับพระครูสุนทรประดิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดสุนทรประดิษฐ์ในสมัยนั้น ประมาณปี พ.ศ. 2485 ท่านพระครูก็ได้นำพระไปเก็บไว้ในบริเวณพระอุโบสถ และในปีนั้นเองได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่น้ำท่วมอุโบสถ จึงทำให้พระเครื่องที่เก็บไว้ถูกน้ำท่วมไปด้วย เมื่อน้ำลดลงจึงปรากฏคราบตะกอนดินจับเต็มองค์พระ แต่ไม่ใช่ในลักษณะคราบกรุ
พระเครื่องเหล่านั้นเริ่มปรากฏสู่สายตาภายนอกเมื่อพ่อค้าไม้รายหนึ่งเดินทางไปทำงาน แล้วแวะที่อุโบสถวัดสุนทรประดิษฐ์ จึงนำพระออกมาให้เช่าที่ จ.พิษณุโลก ในสนน ราคาที่สูงพอสมควรในสมัยนั้น ปรากฏว่าผู้ที่เช่าบูชาไปประจักษ์ในพุทธานุภาพ ความต้อง การจึงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จำนวนพระเริ่มร่อยหรอลง ท่านเจ้าอาวาสจึงได้นำพระส่วนหนึ่งเก็บซ่อนไว้ แต่ก็ถูกขโมยไปจนหมดในที่สุด"
"ฝักไม้ดำ" ลักษณะเป็นพระพิมพ์ใหญ่ เนื้อผง มีหลายสี ทั้งสีดำ น้ำตาล ขาว และเขียว ด้านหน้าพระประธานแสดงปางลีลา ล้อมรอบด้วยอักขระขอมที่แสดงถึงพระพุทธคุณมากมาย มุมทั้ง 4 ขององค์พระอ่านว่า "นะ มะ พะ ทะ" ส่วนด้านหลังด้านบนมีอักขระขอมว่า "มะ อุ อะ" ตอนกลางมีองค์พระประทับนั่ง 3 องค์ ซ้ายสุดปางสมาธิ องค์กลางปางมารวิชัย และขวาสุดประทับนั่งประนมมือ ถัดลงมาเป็นอักขระขอมว่า "นะ ปะ ทะ อะ ระ หัง" ล่างสุดเป็นรูป "สิงห์ป้อนเหยื่อให้เสือ" อันอาจเป็นที่มาของฉายา "สิงห์ป้อนเหยื่อ" ก็เป็นได้
"ฝักไม้ขาว" จะเป็นพระที่มีขนาดย่อมลงมา ส่วนใหญ่จะมีคราบผิว เนื้อฟู และบางส่วนแตกปริจากการถูกน้ำท่วม พุทธลักษณะขององค์พระมีหลายแบบ ทั้งประทับนั่งและประทับยืน
พิจารณาจากอักขระขอมที่ผู้สร้างบรรจงสร้างสรรค์ลงในองค์พระ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ถึงความเพียบพร้อมครบครันของ "ฝักไม้ดำ" และ "ฝักไม้ขาว" ทั้งเจริญรุ่งเรือง เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี แม้ราชสีห์ที่ว่าโหดร้ายยังศิโรราบต่อเมตตาธรรมยอมป้อนเหยื่อให้กับเสือซึ่งเป็นศัตรู จึงนับเป็นที่แสวงหาของนักนิยมสะสมอย่างมาก ยิ่งในสมัยนั้นเหล่าบรรดาทหารหาญต่างพากันดั้นด้นไป อ.บางระกำ เพื่อแสวงหาไว้เป็นเกราะเพชรคุ้มภัยต่างๆ ซึ่งการเดินทางก็เรียกได้ว่า "ระกำ" สมชื่อจริงๆ
แม้แต่ท่านจอมพล ป.พิบูลสงคราม ยังนำ "สิงห์ป้อนเหยื่อ" มาบรรจุตลับฝังเพชรและอาราธนาติดตัวตลอดเวลาครับผม
"สิงห์ป้อนเหยื่อ" เป็นฉายาของพระเครื่องพิมพ์หนึ่งของอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ชาวบ้านมักเรียกกันว่า "ฝักไม้ดำ" และ "ฝักไม้ขาว"
พระเครื่องพิมพ์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด มีเพียงเรื่องเล่าขานกันต่อมาถึงที่ไปที่มาว่า...