ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระเครื่อง หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ


หลวงพ่อสาคร เป็นทั้งพระนักปฏิบัติธรรมและเป็นพระนักพัฒนาสร้างความเจริญให้กับวัดหนองกรับเป็นอย่างมาก เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้มีความรอบรู้ในวิทยาคม

หลวงพ่อสาคร เกิดในสกุล ไพสาลี เมื่อวันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ 2481 เกิดที่บ้านท้ายทุ่ง เลขที่ 6 ม.2 ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดหนองกรับ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2501 โดยมีพระครูจันทโรทัย (หลวงพ่อดิ่ง) วัดบ้านค่าย เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า มนุญโญ มีความหมายว่า ผู้มีความไพบูลย์

พ.ศ.2503 หลวงพ่อสาคร ได้เริ่มจัดสร้างเหรียญและวัตถุมงคล เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์วัดหนองกรับ ในการนี้วัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนของท่านหลายรุ่น ได้รับความนิยมอย่างสูง จวบจนปัจจุบัน ยังเป็นที่ต้องการของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ที่เลื่อมใสศรัทธา

ล่าสุด คณะกรรมการวัดหนองกรับ ได้จัดสร้างเหรียญวัตถุมงคล หลวงพ่อสาคร พร้อมพิมพ์หนังสือชีวประวัติ "หลวงพ่อในใจเรา" เมื่อปี พ.ศ.2552 ในโอกาสครบรอบคล้ายวันเกิด ครบรอบ 71 ปี หลวงพ่อสาคร มนุญโญ ซึ่งตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552

เหรียญดังกล่าว มีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วงเชื่อม จัดทำเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงินลงยา เนื้อเงิน เนื้อนวโลหะ เนื้ออัลปาก้า และเนื้อทองแดง

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อสาครครึ่งองค์ หันหน้าตรง ตอกโค้ดหมายเลข "๑๗๙๖" เขียนว่า พระครูมนูญธรรมวัตร

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นยันต์ 5 หลวงปู่ทิม ที่หลวงพ่อสาครผู้สืบทอด ได้อธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวประจุพลังพุทธาคม ขอบโค้งด้านบน เขียนคำว่า "หลวงพ่อสาคร มนุญโญ" ขอบโค้งด้านล่าง เขียนคำว่า "วัดหนองกรับ ระยอง"

ภายหลังประกอบพิธีพุทธาภิเษก ได้มอบให้กับบรรดาญาติโยมและคณะศิษย์ได้เก็บไว้เป็นที่ระลึก เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นเหรียญที่น่าเก็บสะสมอีกเหรียญ

เหรียญหลวงพ่อสาคร รุ่น พ.ศ.2552 ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ทำให้ในขณะนี้ จัดเป็นเหรียญที่ค่อนข้างหายากอีกเหรียญหนึ่งของเมืองระยอง ด้วยบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง ต่างหาเช่าเก็บไว้ในครอบครอง

"หลวงพ่อสาคร มนุญโญ" หรือ "พระครูมนูญธรรมวัตร" เจ้าอาวาสวัดหนองกรับ ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พระเกจิดังแห่งภาคตะวันออก

ท่านเป็นศิษย์เอกหลวงปู่ทิม อิสริโก บูรพาจารย์ผู้ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด

เล่ากันว่า ก่อนหลวงปู่ทิม มรณภาพ ท่านได้มอบสมุดข่อยโบราณที่เขียนถึงการสร้างพระ การเขียนยันต์ รูปยันต์ต่างๆ มอบให้แก่บุตรบุญธรรม คือ หลวงพ่อสาคร

ปัจจุบันสมุดข่อยนี้ ได้เก็บไว้ที่กุฏิ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ยันต์ของวัดหนองกรับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ รุ่น คูณลาภ หลวงพ่อคูณ

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์  รุ่น คูณลาภ หลวงพ่อคูณ พระกริ่งหลวงพ่อคูณ จากคุณ สิงห์เหนือ_เขลางค์ สุดยอดแห่งพระกริ่งพระชัยวัฒน์ รุ่น คูณลาภ ที่พระเดชพระคุณพระญาณวิทยาคมเถร (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) ประธานเททอง และปลุกเสกพระเครื่องเดี่ยว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2535 ณ.วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมาพระกริ่ง หลวงพ่อคูณ