ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง


หลวงปู่ทิม เกิดที่บ้านหัวทุ่งตาบุตร หมู่ที่ 2 ตำบลละหาร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง นามเดิมของท่านชื่อ ทิม นามสกุล งามศรี เกิดเมื่อปีเถาะ วันศุกร์ เดือน 7 ตรงกับวันที่ 16 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2422 เป็นบุตรของนายแจ้ นางอินทร์ งามศรี มีพี่น้อง 3 คน หลวงปู่ทิมเป็นคนที่ 2

เมื่อตอนเด็กๆ ท่านชอบออกเที่ยวล่าสัตว์ด้วยความคึกคะนองโดยนำมาเลี้ยงครอบครัวเรื่อยๆไป พออายุได้ 17 ปี บิดาของท่านได้นำตัวท่านไปฝากไว้กับท่านพ่อสิงห์ที่วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือกับท่าน และอาจารย์อื่นๆ เป็นเวลาประมาณ 1 ปี จนมีความสามารถเรียนรู้จนเข้าใจ อ่านออกเขียนได้ดีแล้ว บิดาของหลวงปู่ทิม จึงได้ไปกราบนมัสการท่านพ่อสิงห์ เพื่อขอลานำหลวงปู่ทิมกลับมาอยู่บ้านเช่นเดิม

หลวงปู่ทิมก็ได้ช่วยพ่อแม่ทำงานและหาเลี้ยงพ่อแม่ตามวิสัยลูกที่ดีมีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ด้วยดีตลอด จนกระทั่งอายุเข้า 19 ปี ท่านจึงถูกคัดเลือกเข้าเป็นทหารประจำการ ในสมัยนั้นได้เข้ามาประจำการ อยู่ในกรุงเทพฯถึง 4 ปีเศษ จึงได้รับการปลดประจำการ จากทหารกลับไปอยู่ที่บ้านเดิม เมื่อกลับมาอยู่บ้านแล้ว บิดาของท่าน จึงได้จัดการอุปสมบทให้ท่านเป็นพระภิกษุทันที

หลวงปู่ทิม อุปสมบทเมื่อวันที่ 7 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2449 ซึ่งตรงกับปีมะแม เดือน 6 วันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ โดยมีพระครูขาว วัดทับ มาเป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์สิงห์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอาจารย์เกตุ เป็นพระกรรมวาจารย์ ณ พัทธสีมาวัดละหารไร่ ได้ฉายาทางสงฆ์ว่า อิสริโก

หลังจากท่านได้บวชเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านก็ได้อยู่กับพระอาจารย์ที่วัดจนครบ 1 พรรษา แล้วท่านก็ได้ขออนุญาตพระอาจารย์ของท่าน กราบลาเพื่อออกธุดงด์ไปในหลายๆ จังหวัด เพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้นเป็นเวลา 3 ปีเต็ม ครั้นเมื่อถึงเทศกาลใกล้เข้าพรรษา ท่านก็กลับไปถึงจังหวัดชลบุรี และท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดนามะตูม เป็นเวลาถึง 2 พรรษา

ท่านได้เที่ยวร่ำเรียนวิชากับเกจิอาจารย์ชื่อดังต่างๆ หลายอาจารย์ด้วยกัน ที่เป็นพระก็มี ฆราวาสก็มี ที่ท่านเล่าให้ฟังมี โยมรอด โยมเริ่ม และ โยมสาย ทั้ง 3 คนเป็นฆราวาสที่มีวิชาอาคมสูงเป็นที่นับถือของชาวบ้านแถบนั้นมาก จนกระทั่งท่านได้รับตำราตกทอดมาจากหลวงปู่สังข์เฒ่า เจ้าอาวาสวัดเก๋งจีนในสมัยนั้น

หลวงปู่สังข์เฒ่ารูปนี้มีศักดิ์เป็นปู่แท้ๆ ของท่าน และเป็นพระปรมาจารย์ผู้เรืองอาคมอย่างยิ่งในสมัยนั้น พร้อมกับเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งวัดละหารไร่ขึ้น ขนาดน้ำลายของท่านทีถ่มออกมาโดนพื้นตรงไหนแล้วพื้นจะแตกทันที เมื่อทางจังหวัดทราบถึงความเก่งกล้าทางวิชาอาคมของท่าน จึงได้นิมนต์ให้ท่านมาอยู่ทีวัดเก๋งจีนและได้สร้างพระเนื้อตะกั่ว วัดเก๋งจีน ขึ้นมาหลายพิมพ์ด้วยกัน ซึ่งก็มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง

หลวงปู่สังข์เฒ่า ท่านได้ทิ้งตำรับตำราที่ท่านได้เขียนขึ้นไว้ในสมัยของท่านให้กับวัดละหารไร่ และก็ได้ตกทอดมาเป็นของหลวงปู่ทิมซึงเป็นหลานของท่าน ใช้ศึกษาหาความรู้จากตำราของหลวงปู่สังข์เฒ่านี้

นอกจากนี้ หลวงปู่ทิม ยังได้เรียนทางวิปัสสนากัมมัฎฐานกับพระอาจารย์อื่นๆ อีกหลายรูปด้วยกันซึ่งต่อมาเมื่อท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดละหารไร่ ท่านก็เริ่มพัฒนาวัดโดยการก่อสร้างเสนาสนะบูรณะซ่อมแซมกุฏิ และอื่นๆ อีกมากมาย ญาติโยมทั้งหลายก็เริ่มมีความเลื่อมใสในตัวท่านมาก เพราะท่านเป็นพระทีสมณะสำรวมเคร่งในธรรมะและวินัยเป็นที่น่าเคารพมาก

ต่อมาท่านจึงได้ชักชวนพวกชาวบ้านและญาติโยมทั้งหลายให้ก่อสร้างพระอุโบสถขึ้น 1 หลัง ในเวลาปีเศษๆ ก็เสร็จ พร้อมกับผูกพัทธสีมาจนเป็นที่เรียบร้อยในเวลาเดียวกันหลังจากสร้างพระอุโบสถเสร็จ และต่อมาท่านจึงได้ก่อสร้างโรงเรียนประชาบาลขึ้นอีก 1 หลัง โดยที่ทางอำเภอและจังหวัดร่วมด้วย ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 8 เดือนเท่านั้นก็แล้วเสร็จเรียบร้อย เปิดให้นักเรียนเข้าเรียนได้ทันที

หลังจากนั้นท่านก็ได้ชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันพัฒนาก่อสร้างสะพานข้ามคลองอีกหลายแห่ง และก็ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีทุกประการ โดยมีหลวงปู่เป็นผู้นำพร้อมกับชาวบ้านจึงทำให้ชาวบ้านและญาติโยมทั้งหลายมีความเคารพนับถือเลื่อมใสในตัวท่านมากยิ่งขึ้น จึงจัดได้ว่าหลวงปู่ทิมท่านเป็นพระนักพัฒนา ที่มีความสามารถเป็นอย่างสูง สมควรที่จะได้รับการเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง

จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2478 หลวงปู่ทิม จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระครูชั้นประทวน โดยได้รับการส่งหมายและตราตั้งมาไว้ที่ทางเจ้าคณะจังหวัด แต่หลวงปู่ก็ไม่ยอมรับและไม่ยอมบอกใครๆ ด้วยอญู่เป็นเวลานาน ทางจังหวัดจึงได้มอบให้ทางคณะอำเภอเอามามอบให้ท่านที่วัดละหารไร่เอง ท่านจึงได้รับเป็น พระครูทิม อิสริโก และได้รับเป็นพระคู่สวด

อยู่มาจนถึงปี พ.ศ. 2497 ทางคณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้งพระครูทิม อิริโก เลื่อนขั้นให้เป็นพระครูสัญญาบัตร ท่านก็ไม่ยอมบอก ไม่อยากได้ ไม่ยินดียินร้ายกับใครอยู่เป็นเวลานาน ญาติโยมที่วัดไม่มีใครทราบเรื่อง จนทางเจ้าคณะอำเภอได้มีหนังสือส่งไปที่วัดจึงได้รับทราบกัน นายสาย แก้วสว่าง ไวยาวัจกรวัด จึงได้นำข่าวไปบอกแก่ชาวบ้านและกรรมการวัดละหารไร่ให้ทราบ พร้อมกับจัดขบวนแห่มารับที่วัดเจ้าคณะจังหวัดโดยได้อาราธนานิมนต์หลวงปู่ทิม มารับสัญญาบัตรพัดยศเป็น "พระครูภาวนาภิรัต" เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2507

เมื่อหลวงปู่ทิม ได้เลื่อนขั้นเป็น พระครูภาวนาภิรัตแล้ว บรรดาศิษยานุศิษย์และชาวบ้านก็นัดประชุมกันเพื่อจะจัดงานฉลองสมณศักดิ์ โดยนายสาย แก้วสว่าง เป็นผู้ขออนุญาตต่อหลวงปู่ว่า "หลวงปู่จงอนุญาตพวกเราเถิด อย่าปิดความประสงค์ของพวกญาติโยมเลย ได้โปรดให้พวกญาติโยมได้แสดงความยินดี และแสดงความกตัญญูกตเวทีตอบสนองซึ่งคุณงามความดีของหลวงปู่ด้วยเถิด" หลวงปู่ทิมท่านขัดไม่ได้จึงอนุญาต

นายสาย แก้วสว่าง ในฐานะไวยาวัจกรและศิษย์ใกล้ชิดจึงได้นัดประชุมกรรมการและชาวบ้าน ปรึกษากันว่าจะจัดฉลองสมณศักดิ์และเพื่อหารายได้สบทบทุนในการก่อสร้างกุฏิ และบูรณะซ่อมแซมสิ่งของที่ชำรุดในครั้งนี้ โดยจะขออนุญาตหลวงปู่ทิมเพื่อจัดทำเหรียญรูปเหมือนของท่าน เอาไว้แจกแก่พวกญาติโยมและศิษย์ทั้งหลาย เพื่อเป็นที่ระลึกในการร่วมกันทำบุญในงานวันฉลองสมณศักดิ์ของท่าน เพราะใครๆ ก็ย่อมทราบกันดีอยู่แล้วว่า หลวงปู่ทิมเป็นพระที่น่าเคารพบูชาอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่ยึดมั่นในพระธรรมพระวินัยขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นพระมักน้อยสมถะ ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น ฉันอาหารเจเป็นประจำ ฉันมื้อเดียว ไม่เคยฉันเพลเลย แม้แต่น้ำชา หรือน้ำเปล่า ท่านก็ต้องฉันตามเวลา

เท่าที่สังเกตดูปรากฎว่า ท่านจะฉันเช้าประมาณ 7 โมงเช้า และฉันน้ำชาเวลา 4 โมงเย็น ถ้าเลยเวลาแล้วหลวงปู่จะไม่ยอมฉันเป็นเด็ดขาด แม้แต่น้ำชา ท่านฉันมื้อเดียวมาตลอด 50 ปีแล้ว โดยที่ไม่มีอาหารพวกเนื้อหมู เป็ด ไก่ หรืออาหารคาวทุกชนิดเลย แม้แต่น้ำปลาก็ไม่เคยฉัน

อาหารที่ท่านฉันก็เป็นพวกผัก ถั่ว หรือเส้นแกงร้อน น้ำพริกกับเกลือป่น เป็นประจำอยู่เป็นนิจตลอดมา เนื้อหนังมังสาและผิวพรรณของท่านก็คงเป็นปกติอยู่ตามเดิม พละกำลังของท่านก็แข็งแรงสมบูรณ์อยู่เสมอไม่เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้คงจะเป็นเพราะอำนาจบารมีของท่านที่เคยได้สร้างสมมาในชาติปางก่อน จึงทำให้ท่านเป็นพระที่เคร่งครัดและบริสุทธิ์ในธรรมวินัย ดำรงชีวิตมาได้อย่างแข็งแรงและสมบูรณ์

หลวงปู่ทิม มีอายุได้ 96 ปี 72 พรรษา ยังแข็งแรงสมบูรณ์ เดินไปไหนมาไหนได้สะดวก ยังมองอะไรได้ชัดเจนดี ฟันก็ไม่เคยหักแม้แต่ซี่เดียว ถึงแม้ว่าอายุของท่านเกือบจะ 100 ปีแล้วก็ตาม

หลวงปู่ทิม ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2518 นับได้ว่าท่านเป็นพระอาวุโสและมีพรรษามากกว่าพระเกจิอาจารย์รูปใดๆ ทั้งหมดในจังหวัดระยองเลยทีเดียว

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ รุ่น คูณลาภ หลวงพ่อคูณ

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์  รุ่น คูณลาภ หลวงพ่อคูณ พระกริ่งหลวงพ่อคูณ จากคุณ สิงห์เหนือ_เขลางค์ สุดยอดแห่งพระกริ่งพระชัยวัฒน์ รุ่น คูณลาภ ที่พระเดชพระคุณพระญาณวิทยาคมเถร (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) ประธานเททอง และปลุกเสกพระเครื่องเดี่ยว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2535 ณ.วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมาพระกริ่ง หลวงพ่อคูณ