ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระสมเด็จสะทานเพชร



พระสมเด็จสะทานเพชร

คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่




ในวาระดิถีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พุทธศักราช 2553 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระสมเด็จให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช มอบให้พุทธศาสนิกชน ที่เข้ามาถวายพระ พรแด่พระองค์ท่าน คือ "พระสมเด็จ สะทานเพชร"

พระสมเด็จรุ่นนี้สร้างขึ้นเป็นพิเศษ มีความงดงามด้านศิลปะและผงพุทธคุณอันศักดิ์สิทธิ์หลายประการ

ด้านหน้า เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องพระจักรพรรดิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ประยุกต์ ปางมารวิชัย พระหัตถ์ถือวัชระ มุมด้านบนจารึกอักษรขอม อ่านว่า "อรหัง" ฐานด้านล่างจารึกพระนามสมเด็จพระญาณสังวร

ด้านหลัง ประดิษฐานตรา 8 รอบ 96 พรรษา

พระนามของพระสมเด็จสะทานเพชรนี้ได้มาจากสูตรทำพระผงโบราณ เมื่อประมาณ 450 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นสูตรของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี 2 พระองค์ คือ พระสังฆราชสุมังคลาโพธิวิริยะเจ้า (พ.ศ.2106) และพระมหาอินทรวัชสังวรเจ้า (พ.ศ.2115) ณ วัดถ้ำสุวรรณคูหา เป็นพระมหาเถระเจ้าของเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน หรือ จ.หนองบัวลำภู ในปัจจุบัน

ซึ่งได้มีพระธุดงคกัมมัฏฐานนำมามอบให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช พร้อมกับผงพระพุทธคุณสะทานเพชรจากถ้ำสุวรรณคูหา เพื่อเป็นส่วนผสมของพระสมเด็จสะทานเพชรที่ประทานแก่พุทธศาสนิกชนในครั้งนี้

ส่วนผสมอื่นๆ ของพระสมเด็จสะทานเพชร เช่น ผงพุทธคุณจากถ้ำตะโกพุทธโสภา เขาสมอคอน จ.ลพบุรี อันเป็นถ้ำบำเพ็ญเพียรของสุกทันตฤๅษี ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพ่อขุนรามคำแหง พ่อขุนเม็งราย และพ่อขุนงำเมือง เมื่อหลายร้อยปีก่อน

ผงดอกมณฑาทิพย์จากวัดไลย์ จ.ลพบุรี ผงพุทธคุณจากพระผงเก่าที่ชำรุด เช่น พระผงสมเด็จวัดระฆัง พระผงสมเด็จบางขุนพรหม พระผงสมเด็จกลีบบัว พระผงสมเด็จอรหัง และผงพระพุทธคุณจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกหลายรูป

พระสมเด็จสะทานเพชรเป็นพระผงมี 2 ขนาด คือ พิมพ์เล็ก เป็นพระผงของขวัญขนาดกว้าง 19 เซนติ เมตร ยาว 25 เซนติเมตร และหนา 5 เซนติ เมตร และพิมพ์ใหญ่เท่ากับพระสมเด็จวัดระฆัง คือ ขนาด 25 เซนติเมตร ยาว 35 เซนติเมตร และหนา 5 เซนติเมตร

จำนวนสร้างพิมพ์ละ 84,000 องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์

ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในโอกาสต่างๆ หลายครั้ง ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

มอบให้พุทธศาสนิกชนที่เข้ามาถวายพระพรแด่สมเด็จพระสังฆราช แบ่งเป็น 2 แห่ง คือ ที่วัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ และที่ชั้น 6 อาคารสามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เริ่มประทานพระสมเด็จสะทานเพชร ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ไปจนถึงวันที่ 15 มกราคม 2553

ถือเป็นของขวัญอันล้ำค่าและเป็นมงคลยิ่งแด่คนไทย

ศูนย์จองพระเครื่อง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล...

ถอดรหัสอักขระศักดิ์สิทธิ์ สู่พุทธคุณอมตะ หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง

พระปิดตายันต์ยุ่งหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอขอบคุณภาพจาก: http://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=422&qid=48516 พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ นับเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาอย่างกว้างขวางในวงการ พระเครื่อง ไทย โดยมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับหลวงพ่อเชิญ ปุญฺญสิริ แห่งวัดโคกทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลักษณะเด่นของพระเครื่องชุดนี้คือการผสมผสานพุทธศิลป์ของ "พระปิดตา" ซึ่งหมายถึงพระพุทธรูปในปางปิดพระเนตร เข้ากับ "ยันต์ยุ่ง" อันหมายถึงอักขระเลขยันต์ที่สลับซับซ้อนพันเกี่ยวกันทั่วองค์พระ ความสนใจและการเสาะหาพระปิดตารุ่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาในพุทธคุณและบารมีของหลวงพ่อเชิญ รวมถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของยันต์ยุ่งที่เชื่อกันว่าเปี่ยมด้วยอานุภาพ การปรากฏของพระเครื่องรุ่นนี้ในตลาดซื้อขายและเวทีการประมูลจำนวนมาก ย่อมบ่งชี้ถึงความต้องการที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ศรัทธาและนักสะสม ชื่อเสียงของหลวงพ่อเชิญในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและวิทยาคม เป็นปัจ...