ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญเจ้าตาก ปี 2517


เหรียญเจ้าตาก ปี 2517

คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่




นับเป็นเหรียญยอดนิยมหนึ่งรุ่นที่กล่าวขานว่ามีพุทธคุณความเข้มขลังมิใช่น้อย เพราะสร้างโดยจังหวัดจันทบุรี และผ่านการอธิษฐานจิตปลุกเสกประจุพระคาถาโดยเกจิอาจารย์ดังผู้ทรงวิทยาคมหลายรูป อาทิ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง, หลวงปู่คง วัดวังสรรพรส, หลวงพ่อกล้วย วัดหมูดุด ฯลฯ

ความเป็นมาของเหรียญรุ่นนี้ เริ่มจากเมื่อปี พ.ศ.2516 สมัยนายบุญช่วย ศรีสารคาม เป็นผู้ว่าฯ จันทบุรี ได้ก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่หล่อขึ้นจากแผ่นชนวนที่พระเถระผู้ใหญ่ และพระคณาจารย์ เมตตาลงจารแผ่นทองลงอักขระเลขยันต์มาให้ เพื่อหล่อพระบรมรูปจำลองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

อาทิ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ, พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าถ้ำขาม จ.สกลนคร, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี, หลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาปิ้ง จ.เลย, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง, หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์, หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่, พระเทพบัณฑิต วัดศรีเมือง จ.หนองคาย, หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จ.จันทบุรี

ในโอกาสนี้จึงสร้างเหรียญที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อพ.ศ.2517 ออกแบบโดยกรมธนารักษ์ ด้านหน้าเป็นพระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงม้า เผชิญศึกพร้อมด้วยทหารเอก ด้านหลังมีคำจารึกว่า "พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จันทบุรี 2517" ส่วนสูงของเหรียญ 4 เซนติเมตร ส่วนกว้าง 2.7 เซนติเมตร และส่วนหนา 0.2 เซนติเมตร จัดสร้างรวม 4 เนื้อ คือ โลหะทองแดงรมดำ, โลหะสีทองบรอนซ์, โลหะสีขาวนิกเกิล และทองคำ 90% สำหรับผู้สั่งจอง 30 เหรียญ

จากนั้นได้จัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ณ พระอุโบสถวัดพลับ อ.เมือง จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2517 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ถือเป็นวันตากสินมหาราชานุสรณ์ประจำปีของทางราชการด้วย โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสนมหาเถระ) ทรงเป็นองค์ประธานในพิธี และมีพระเกจิอาจารย์ดังของ จ.ระยอง และจันทบุรี ในยุคนั้นร่วมนั่งปรก คือ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่, หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส, หลวงพ่อใย วัดมะขาม, พระธรรมวงศาจารย์ วัดสวนมะม่วง, พระพิศาลธรรมคุณ วัดสวนบูรพาพิทยาราม, หลวงพ่อบุญสิน วัดปลายคลองพลิ้ว, พระครูวรพรตบริหาร วัดสิงห์, พระธรรมวงศ์มุนี วัดไผ่ล้อม (พระอารามหลวง), หลวงพ่อสีนวล วัดเกวียนหัก, หลวงพ่อเจิม วัดวันยาวล่าง, หลวงพ่อเหรียญ วัดพลับ, หลวงพ่อนัง วัดพลวง, หลวงพ่อกล้วย วัดหมูดุด

ปัจจุบันจัดเป็นเหรียญพระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพราะมีรูปแบบพิมพ์ทรงที่ลงตัว และงดงามแปลกตา ที่สำคัญเป็นเหรียญที่มีเกจิอาจารย์ชั้นสุดยอดของเมืองไทยร่วมปลุกเสกจำนวนมาก

หลวงพ่อเงิน บางคลาน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ :สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือสมเด็จพระสังฆราช แพร พระกริ่งหลังปิ มีพุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัยพระหัตถ์ซ้ายทรงถือวชิระ ทรงคล้ายหัวปลี มีพุทธลักษณะคล้ายพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระมงคล ราชมุนี ซึ่งคงถอดพิมพ์ดังกล่าวมามีจำนวนสร้างมากถึง 100 องค์แสนเนื้อเดิมเป็นศรีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาวแบบปีกแมลงทับ มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ เมื่อประกอบพิธีเททอง พระกริ่ง เสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระคณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์รวมทั้งหลวงปู่ดู่ที่จารเป็นยันต์กอหญ้าด้วยแล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ซึ่งมีพระเกจิอาจารย์เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 6 7 8 กุมภาพันธ์พศ 2508 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระกริ่งหลังปิ บางส่วนที่ยังคงเหลือได้เก็บไว้ในพระอุ