ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประวัติ หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง จ.พิจิตร (1)


พระครูพิพัฒน์ธรรมคุณ(หลวงพ่อเตียง เนกธัมโม)วัดเขารูปช้าง จ.พิจิตร
อัตชีวประวัติ
พระครูพิพัฒน์ธรรมคุณ หรือ หลวงพ่อเตียง อดีตเจ้าอาวาสวัดเขารูปช้าง อ.เมือง จ.พิจิตร วัดเขารูปช้างซึ่งเป็นวัดอยู่ทางใต้ไม่ไกลกับวัดฆะมังเท่าไหร่ หลวงพ่อเตียงจึงได้รับ
การถ่ายทอดวิชาอาคมและการสร้างตะกรุดโทน หรือตะกรุดคู่ชีวิต
ท่านมีนามเดิมว่า เตียง เกิดปีฉลูตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น13 ค่ำ เดือน 3 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2444 บ้านดงกลาง ตำบลดงป่าคำ อ.เมือง จ.พิจิตร มีโยมบิดาชื่อ เลี่ยม โยมมารดาชื่อ ลำภู นามสกุล สวนสนิท มีพี่น้องเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียว และยังมีพี่น้องต่างมารดาอีก 9 คน
เมื่อสมควรแก่การศึกษา พ่อแม่ของหลวงพ่อเตียงได้ส่งให้ท่านร่ำเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านดงป่าคำ จนกระทั่งจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2455
บรรพชาอุปสมบท
ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 22 ปี ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2466 ที่วัดดงกลาง โดยมี พระครูศีลธรารักษ์ เป็น พระอุปัชณาย์ และพระอธิการปุ่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายา เนกขัมโม เมื่อรับการอุปสมบทแล้วท่านได้อยู่จำพรรษาเพื่อร่ำเรียนพระธรรมวินัยที่วัดดงกลางเรื่อยมาจนมีความรอบรู้ในพระธรรมวินัยดีแล้ว ท่านจึงได้เดินทางจากวัดดงกลาง ไปศึกษาแพทย์แผนโบราณกับ หมอแก้ว บ้านท่าบัวทอด ที่อำเภอโพธิ์ประทับช้าง เพื่อไว้สงเคราะห์ญาติโยมในคราวจำเป็นเท่าที่พอจะสงเคราะห์ได้
เมื่อเรียนจบหมอโบราณแล้วหรือภาษาตลาดว่าสามารถประกอบการได้แล้ว หลวงพ่อเตียงได้ศึกษาไสยเวทอันเป็นตำราทางเวทมนต์กับ หลวงพ่อปุ่น ผู้เป็นพระกรรมวาจาฯ จนรู้ซึ้งถึงแก่นแท้แล้วในด้านเวทมนต์ แล้วจึงเดินทางไปเรียนวิปัสสนากรรมฐานกับ หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง
ระหว่างที่หลวงพ่อเตียงอยู่ที่วัดดงกลางท่านได้มีโอกาสรับใช้พระกรรมวาจาจารย์ของท่าน (อธิการปุ่น) ท่านก็ได้เรียนพุทธาคม และ การลงตะกรุดโทนด้วยยันต์พระเจ้า
16 พระองค์ ของท่านอธิการปุ่นยันต์นี้แหละครับที่หลวงพ่อเตียงใช้ลงตะกรุดของท่านตลอดม
หลวงพ่อพิธ นั้นเป็นศิษย์ของ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จึงถือได้ว่าหลวงพ่อเตียง ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์สายตรงของหลวงพ่อเงิน ที่สืบทอดวิชากันมาเพียงไม่นาน เพราะหลวงพ่อเตียงนั้นท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อพิธ หรือศิษย์รักที่ถูกใจอาจารย์นั้นเอง
เครดิตข้อมูล: http://www.luangporngoen.com/
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง: http://ppamulet.bloggang.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล...

ถอดรหัสอักขระศักดิ์สิทธิ์ สู่พุทธคุณอมตะ หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง

พระปิดตายันต์ยุ่งหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอขอบคุณภาพจาก: http://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=422&qid=48516 พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ นับเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาอย่างกว้างขวางในวงการ พระเครื่อง ไทย โดยมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับหลวงพ่อเชิญ ปุญฺญสิริ แห่งวัดโคกทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลักษณะเด่นของพระเครื่องชุดนี้คือการผสมผสานพุทธศิลป์ของ "พระปิดตา" ซึ่งหมายถึงพระพุทธรูปในปางปิดพระเนตร เข้ากับ "ยันต์ยุ่ง" อันหมายถึงอักขระเลขยันต์ที่สลับซับซ้อนพันเกี่ยวกันทั่วองค์พระ ความสนใจและการเสาะหาพระปิดตารุ่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาในพุทธคุณและบารมีของหลวงพ่อเชิญ รวมถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของยันต์ยุ่งที่เชื่อกันว่าเปี่ยมด้วยอานุภาพ การปรากฏของพระเครื่องรุ่นนี้ในตลาดซื้อขายและเวทีการประมูลจำนวนมาก ย่อมบ่งชี้ถึงความต้องการที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ศรัทธาและนักสะสม ชื่อเสียงของหลวงพ่อเชิญในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและวิทยาคม เป็นปัจ...