ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย
พระกำแพงห้าร้อย

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้จะพูดถึงพระเครื่องเนื้อชินชนิดหนึ่ง ที่เป็นพระแผงขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งได้มีการนำมาตัดแบ่งแล้วนำมาคล้องคอ และได้รับความนิยม แต่โดยธรรมดาทั่วๆ ไปพระเครื่องที่นำมาตัดแต่งนั้นถือว่าไม่สมบูรณ์ แต่ก็มีพระเครื่องอยู่หลายอย่างเหมือนกันที่นำมาตัดแบ่งแล้วได้รับความนิยม สาเหตุที่ต้องตัดแบ่งนั้นส่วนมากจะขึ้นอยู่กับขนาดของพระและรูปทรง พระเครื่องที่นำมาตัดแบ่งที่ได้รับความนิยมก็ได้แก่ พระพลายคู่ตัดเดี่ยว และพระกำแพงห้าร้อยเป็นต้นครับ

พระกำแพงห้าร้อย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระกรุเนื้อชิน ที่ได้รับความนิยมมาก แต่ก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน พระกำแพงห้าร้อยนั้นที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่าเป็นพระแผงขนาดเขื่อง รูปทรงห้าเหลี่ยม เป็นพระแบบสองหน้า แต่ละหน้าจะมีพระองค์เล็กเรียงรายอยู่ด้านละ 251 องค์ อยู่บนยอดบนสุดหนึ่งองค์ ถ้าเรารวมทั้งสองด้านก็จะมีพระองค์เล็กๆ อยู่ 252 องค์ และพระดังกล่าวก็ขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชร จึงมีชื่อเรียกกันว่า "พระกำแพงห้าร้อย" โดยนำเอาชื่อจังหวัดมาผนวกกับจำนวนองค์พระที่อยู่ในพิมพ์

พระกำแพงห้าร้อยได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปีพ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้น

พระกำแพงห้าร้อยถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก แต่พระที่ขุดพบนั้นส่วนใหญ่ มักชำรุดมีผิวระเบิดผุกร่อน ซึ่งเป็นธรรมชาติของพระเนื้อชินเงินที่มีส่วนผสมของดีบุกมาก ที่คนสมัยก่อนมักเรียกกันว่าชินแข็ง ประกอบกับกรุที่บรรจุพระนั้นมีความชื้น เนื่องจากพื้นที่ของกรุเป็นลักษณะทุ่งนาเมื่อเวลาหน้าน้ำจะมีน้ำหลากท่วมถึง จึงทำให้พระเนื้อชินประเภทนี้มักเปื่อย ผุ ระเบิดเป็นแห่งๆ พระกำแพงห้าร้อยที่พบทั้งสามกรุจึงมักชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่

พระกำแพงห้าร้อย ที่ชำรุดนี้คนในสมัยก่อนเห็นว่าศิลปะขององค์พระสวยน่ารักดีจึงนำมาตัดแบ่งออกเป็น 9 องค์บ้าง ห้าองค์บ้าง 3 องค์บ้าง ตามแต่จะพอแบ่งได้ แต่ที่นิยมที่สุดก็คือตัดเก้า แต่ถ้าตัดห้าแต่ได้พระองค์บนสุดติดมาด้วยก็จะหายากเช่นกันครับ

พระกำแพงห้าร้อยนี้ ถ้าถูกตัดออกมาแล้ว จะได้พระที่สมบูรณ์เพียงด้านเดียว เพราะองค์พระทั้งสองด้านจะเหลื่อมกัน เวลาตัดแล้วจะมีพระองค์ที่อยู่ขอบข้างจะถูกตัดเข้าไปบนองค์พระอยู่ด้านหนึ่ง อันนี้เป็นจุดสังเกตประการหนึ่ง และถ้าเป็นของกรุวัดกะโลทัยนั้นส่วนใหญ่ที่องค์พระจะมีการทาทองล่องชาดเอาไว้ ส่วนกรุอื่นๆ ไม่มีการทาลองล่องชาดครับ พระกำแพงห้าร้อยนั้นพุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาด และคงกระพันครับ

วันนี้ก็เลยนำพระกำแพงห้าร้อย ตัดเก้า ซึ่งเป็นการตัดที่นิยมมาให้ชมกันครับ พระองค์นี้เป็นของคุณนุ เพชรรัตน์ ครับต้องขอบคุณที่เอื้อเฟื้อภาพมาให้ชมกันครับ

ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์
ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด



พระกำแพงห้าร้อย เนื้อชินเงิน จ.กำแพงเพชร
"พระกำแพงห้าร้อย"เป็นพระยอดขุนพลกรุเก่าที่ได้รับความนิยมอย่างมากในวงการนักนิยมสะสมพระเครื่อง และมีเอกลักษณ์เฉพาะที่น่าสนใจทีเดียวครับผม

จากชื่อก็บอกยี่ห้อแล้วว่าต้องเป็นพระที่พบจากกรุในจังหวัดกำแพงเพชรแน่นอน ปรากฏที่กรุวัดมหาธาตุและวัดโดยทั่วๆ ไปของจังหวัด มีที่ใช้ชื่อเหมือนกันบ้างที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่สันนิษ ฐานว่า สร้างกันคนละยุค เนื่องจากมีพุทธลักษณะที่แตกต่างกัน ที่เรียกชื่อเหมือนกันอาจจะเป็นที่คำว่า "ห้าร้อย" ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งก็คือจะเป็นพระแผงขนาดใหญ่ หรือที่เรียกกันว่า "พระตู้" ด้านบนตัดแหลมเป็นรูปห้าเหลี่ยม ด้านล่างตัดตรงเหมือนพระใบขนุน ประกอบด้วยองค์พระขนาดเล็กเรียงรายเป็นแถวทั้งสองด้านนับรวมกันได้ 502 องค์ จึงขนานนามว่า "พระกำแพงห้าร้อย"
พระกำแพงห้าร้อย พระยอดขุนพลยอด เนื้อชินเงิน จ.กำแพงเพชร


แต่ ในปัจจุบันจะหาดูที่สมบูรณ์แบบดังกล่าวได้ยากมากๆ ที่พบเห็นกันอยู่นับเรียงกันมากที่สุดแล้วก็เห็นจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดพอๆ กับพระสมเด็จมีองค์พระ 9 องค์ เราเรียกว่า "แพงเก้า" เนื่องจากเลข 9 เป็นเลขนำโชค หรือไม่ก็แยกออกเป็นองค์เดี่ยวๆ สามารถนำมาห้อยคอบูชาได้ และสนนราคาไม่แพงนัก ถ้าชนิดสมบูรณ์แบบลักษณะเดิมราคาจะสูงมาก

ที่มาที่ไปของ "พระกำแพงห้าร้อย จังหวัดกำแพงเพชร" ตามพุทธประวัติว่า พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหมดถึง 500 ชาติ จึงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คนโบร่ำโบราณจึงได้สร้างองค์พระเรียงติดกันเป็นแผงให้ครบ 500 องค์ ตามคติความเชื่อว่าเป็นกุศลอันสูงส่ง

องค์พระแต่ละองค์ที่ประ กอบเป็น "พระกำแพงห้าร้อย" มีพุทธลักษณะนูนและเด่นชัด

- องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนืออาสนะ

- พระเกศเป็น "เกศจิ่ม" หรือ "เกศปลี"

- พระพักตร์รูปไข่ ไม่ปรากฏรายละเอียด พระ เนตร พระนาสิก พระโอษฐ์ ฯลฯ

- พระอุระนูนเด่นวาดเว้าลงทางช่วงล่างอย่างชัดเจน ทำให้ช่วงพระกรแลดูลึก

"พระกำแพงห้าร้อย จังหวัดกำแพงเพชร" เป็นพระเนื้อชินเงิน เมื่อผ่านกาลเวลายาวนาน นอกจากคราบดินกรุแล้ว จะเกิดพรายปรอท สนิมขุม สนิมไข และรอยระเบิดแตกปริ อันเป็นปฏิกิริยาตามธรรมชาติ นอกจากนั้น โบราณาจารย์บางท่านต้องการรักษาเนื้อขององค์พระ จึงนำชาดมาผสมกับปรอทและกำมะถันมาทาเคลือบและปิดทอง ซึ่งจะทำให้ทองปิดแน่นและสุกใส ก่อนที่จะบรรจุกรุ

การที่ "พระกำแพงห้าร้อย จังหวัดกำแพงเพชร" เป็นพระยอดขุนพลยอดนิยมอันดับต้นๆ อีกทั้งมีพุทธคุณปรากฏเด่นชัดทางด้านอยู่ยงคงกระพัน จึงมีการทำเทียมเลียนแบบออกมามากมาย ดังนั้นจะเลือกจะหาไว้สักการบูชาควรต้องพิจารณาอย่างละเอียดสักนิด

สังเกตที่เนื้อชินเก่า ชาดเก่า และทองเก่าให้ดี เพราะของเก่ากับของใหม่นั้นมีความแตกต่างกันมากเอาการครับ
ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง

โดยราม วัชรประดิษฐ์

ศูนย์จองพระเครื่อง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ :สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือสมเด็จพระสังฆราช แพร พระกริ่งหลังปิ มีพุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัยพระหัตถ์ซ้ายทรงถือวชิระ ทรงคล้ายหัวปลี มีพุทธลักษณะคล้ายพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระมงคล ราชมุนี ซึ่งคงถอดพิมพ์ดังกล่าวมามีจำนวนสร้างมากถึง 100 องค์แสนเนื้อเดิมเป็นศรีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาวแบบปีกแมลงทับ มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ เมื่อประกอบพิธีเททอง พระกริ่ง เสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระคณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์รวมทั้งหลวงปู่ดู่ที่จารเป็นยันต์กอหญ้าด้วยแล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ซึ่งมีพระเกจิอาจารย์เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 6 7 8 กุมภาพันธ์พศ 2508 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระกริ่งหลังปิ บางส่วนที่ยังคงเหลือได้เก็บไว้ในพระอุ