ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญหลวงพ่อทุเรียน



เหรียญหลวงพ่อทุเรียน

คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่




"วัดลักษณาราม" ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรี ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี

เมื่อครั้งที่ "พระครูวิบูลวชิรสาร" หรือ "หลวงพ่อทุเรียน ฐิติสาโร" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นรูปที่ 5 กล่าวได้ว่าหลวงพ่อทุเรียนเป็นพระนักพัฒนา ช่วยเหลือชาวบ้านผู้เดือดร้อนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความร่มเย็นเป็นสุข

ท่านได้พัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง จวบจนวัดลักษณารามมีเสนาสนะพร้อมสรรพ ทั้งอุโบสถ ซุ้มประตูวัด บานประตู บานหน้าต่าง หรือตามผนังโบสถ์ ล้วนแล้วแต่งดงามวิจิตร ด้วยศิลปะสถาปัตยกรรม ไทยที่เป็นเลิศ โดยช่างฝีมือของชาวเพชรบุรี เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาพุทธศาสนิกชนทั้งในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง



หลวงพ่อทุเรียนได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2541 นับเป็นการสูญเสียพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ตั้งมั่นในธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีต่อพุทธศาสนิกชน รุ่นหลัง

การจากไปของหลวงพ่อทุเรียนนำมาซึ่งความเศร้าสลดของคณะศิษย์และชาวเมืองเพชรบุรีเป็นอย่างยิ่ง

ดังนั้น พระครูพัชรกิจจานุกูล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้เห็นถึงความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อหลวงพ่อทุเรียน ได้จัดสร้างเหรียญที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพพระครูวิบูลวชิรสาร เพื่อนำมาแจกให้กับญาติโยมที่เข้าร่วมพิธีงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2552

ทำให้เหรียญวัตถุมงคลดังกล่าวกลายเป็นที่ต้องการของสาธุชนเรือนหมื่นที่มาร่วมพิธี

อย่างไรก็ตาม เหรียญวัตถุมงคลหลวงพ่อทุเรียนที่ได้รับความนิยมจากบรรดาเซียนพระและนักนิยมสะสมพระเครื่อง คือ เหรียญหลวงพ่อทุเรียน รุ่นทำบุญอายุ 70 ปี เป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเหรียญเนื้อทองแดงรมดำ โดยมีพระเกจิอาจารย์สายเมืองเพชรบุรีและสายปักษ์ใต้ รวมกว่า 10 รูปประกอบพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลเหรียญรุ่นนี้ จึงนับว่ามีความเข้มขลังในพุทธคุณเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแค่เหรียญก็มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่แล้ว

ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อทุเรียนครึ่งองค์ ขอบบนเขียนคำว่า "งานทำบุญอายุ ๗๐ ปี และฉลองสัญญาบัตรพัดยศชั้นเอก" ขอบล่างเขียนคำว่า "พระครูวิบูลวชิรสาร (ทุเรียน)"

ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปหลวงปู่วัด ลักษณารามนั่งเต็มองค์ บริเวณขอบเหรียญเขียนคำว่า "หลวงปู่วัดลักษณาราม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี" ขอบล่างเขียนคำว่า "๑๖ พ.ย. ๒๓"

ทั้งนี้ ผู้ที่มีเหรียญรุ่นดังกล่าวไว้ในครอบครอง ต่างพูดถึงประสบการณ์อัศจรรย์ในการบูชาเหรียญหลวงพ่อ ทุเรียน ที่มีพุทธคุณโดดเด่นด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ ค้าขายดี และปกป้องคุ้มครองผู้ที่เดินทางให้แคล้วคลาดปลอดภัย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ รุ่น คูณลาภ หลวงพ่อคูณ

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์  รุ่น คูณลาภ หลวงพ่อคูณ พระกริ่งหลวงพ่อคูณ จากคุณ สิงห์เหนือ_เขลางค์ สุดยอดแห่งพระกริ่งพระชัยวัฒน์ รุ่น คูณลาภ ที่พระเดชพระคุณพระญาณวิทยาคมเถร (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) ประธานเททอง และปลุกเสกพระเครื่องเดี่ยว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2535 ณ.วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมาพระกริ่ง หลวงพ่อคูณ