ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญ “มหาโภคทรัพย์” ความเมตตาเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง




เหรียญ “มหาโภคทรัพย์” ความเมตตาเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง

หลวงพ่อสาคร มนุญฺโญ วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง

“ความเมตตา” คือสภาวะของจิตใจที่มีเยื่อใยไมตรีจิตมิตรใจ คิดเกื้อกูลด้วยสุขประโยชน์ ปราศจากอาฆาตพยาบาทโกรธแค้น แสดงออกทางสีหน้าและสายตาที่สงบแช่มชื่น มองด้วยสายตาอันแสดงถึงความปรารถนาดีให้มีความสุข ปราศจากความมุ่งร้ายที่เป็นเวรเป็นภัยต่อกันทั้งปวง นี่เป็นความหมายที่กล่าวถึงคุณลักษณะของความเมตตานั่นเอง

ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่จะถึงนี้ “พระครูมนูญธรรมวัตร” หรือ “หลวงพ่อสาคร มนุญฺโญ” วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ศิษย์ผู้สืบสานพุทธาคมจากหลวงปู่ทิม อิสริโก จะมีอายุครบ ๗๓ ปี ทางคณะกรรมการวัดหนองกรับและศิษยานุศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงพ่อสาครจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทุนทรัพย์ก่อสร้างกำแพงรอบวัดหนองกรับให้แล้วเสร็จ หลวงพ่อสาครได้ให้ชื่อเหรียญรุ่นนี้ว่า “มหาโภคทรัพย์” อันเป็นชื่อที่ให้ความบริบูรณ์ในด้านทรัพย์สินเงินทองและเป็นมงคลอย่างยิ่ง โดยมีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบผลมะตูม มีขั้วอยู่ที่ห่วงเหรียญสื่อถึงความหมายของการออกดอกออกผลเป็นผลสำเร็จ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนเต็มองค์หลวงพ่อสาครในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิบนโต๊ะขาสิงห์ ด้านบนเขียนว่า “มหาโภคทรัพย์” ด้านล่างเป็นลวดลายรองรับในชั้นล่าง
ส่วนด้านหลัง บรรจุอักขระยันต์ครูตามแบบหลวงปู่ทิม อิสริโก เป็นประธาน หลวงพ่อสาครท่านได้กำหนดให้อักขระล้อมรอบชั้นในและชั้นนอก ดังนี้ “ปิโยเทวะมนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม ปิโยนาคะสุปัณณานัง ปิยินทรียังนะมามิหัง” แปลว่า “ผู้เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่สูงสุดของพรหมทั้งหลาย เป็นที่รักตลอดไปถึงดิรัจฉานมีนาคและครุฑเป็นอาทิ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้มีอินทรีย์อิ่มพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า” พระคาถานี้ถือว่าเป็นสุดยอดทางเมตตาอย่างหาที่สุดมิได้ แฝงคติทางพระพุทธศาสนาที่สื่อถึงความหมายแห่งการสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้าอันเป็นที่รักแห่งชนทั้งปวง ด้วยว่าเป็นพุทธคุณบทเมตตาอันล้ำเลิศในพระคาถาอิติปิโสรัตนมาลา เหล่าพระคณาจารย์ทั้งหลายหากจะหวังผลในทางเมตตามหานิยมต้องใช้กำกับเสมอ พระคาถานี้มีชื่อว่า “ดอกไม้สวรรค์” เป็นพระคาถาบท “ปิ” เป็นหนึ่งในบท “อิติปิโสรัตนมาลา” ซึ่งพรรณนาคุณแห่งพระรัตนตรัยที่แจกแจงออกไปตามอักขระอย่างลึกซึ้ง แล้วร้อยกรองเข้าไว้ด้วยกันดุจพวงมาลา ซึ่งมีมาแต่โบราณกาล สืบทอดกันมาช้านาน

ส่วนที่เป็นคาถาวงในนั้นประกอบด้วยด้านบนคือ อ่านว่า “นะชาลีติ” เป็นคาถาหัวใจพระสีวลี พระสีวลีเป็นพระมหาเถระในครั้งพุทธกาลที่ได้รับการรับรองจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า “เป็นเอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก” คำว่าเอตทัคคะแปลว่าเป็นเลิศ ดังนั้นพระสีวลีเถระจึงเป็นพระอรหันต์ผู้เป็นเลิศด้านมีลาภมากนั่นเอง แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงกล่าวว่า “ยกเว้นแต่พระตถาคตเจ้าแล้ว ไม่มีผู้ใดจะเลิศด้วยลาภเหมือนพระสิวลีเถรเจ้า” ดังนั้นพระคาถาหัวใจพระสีวลีจึงโดดเด่นในเรื่องโชคลาภโภคทรัพย์ พระคาถาบทต่อกันมาเป็นคาถา “มงกุฎพระพุทธเจ้า” โบราณจารย์แต่เก่าก่อนท่านว่ามีพุทธคุณครอบจักรวาลโดดเด่นดีทุกด้านทุกทาง อ่านว่า “อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเสพุทธะนาเมอิ อิเมนาพุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ” ความหมายคือ “ขออัญเชิญคุณแห่งพระพุทธเจ้าอันวิเศษ คุณแห่งกระแสพระนิพพานอันประเสริฐ ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสรรเสริญแล้ว จงเป็นมหาวิภูษิตาภรณ์ประดับด้วย มงกุฎทิพย์และเครื่องทรงแห่งพระเจ้ามหาจักรพรรดิ ครอบคลุมข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ” หากรวมคุณวิเศษแห่งอักขระทั้งปวงแล้วต้องถือได้ว่าครบถ้วนครอบคลุมให้คุณวิเศษในทุกด้านอย่างบริบูรณ์เลยทีเดียว

ศูนย์จองพระเครื่อง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ รุ่น คูณลาภ หลวงพ่อคูณ

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์  รุ่น คูณลาภ หลวงพ่อคูณ พระกริ่งหลวงพ่อคูณ จากคุณ สิงห์เหนือ_เขลางค์ สุดยอดแห่งพระกริ่งพระชัยวัฒน์ รุ่น คูณลาภ ที่พระเดชพระคุณพระญาณวิทยาคมเถร (หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ) ประธานเททอง และปลุกเสกพระเครื่องเดี่ยว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2535 ณ.วัดบ้านไร่ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมาพระกริ่ง หลวงพ่อคูณ