ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เหรียญหลวงพ่อลา


เหรียญหลวงพ่อลา

คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่





'สิงห์บุรี' จังหวัดเก่าแก่จังหวัดหนึ่งของไทย มีวัดวาอารามมากมาย รวมถึงพระพุทธรูป-พระเครื่องกรุเก่าที่นับเป็นมรดกล้ำค่าและเป็นที่นิยมสืบต่อกันมา

นอกจากนี้ ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักและเคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศมาแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน

'พระครูวินิตศิลคุณ' หรือที่รู้จักกันในนาม 'หลวงพ่อลา ปุณณชิ' แห่งวัดโพธิ์ศรี อ.อินทร์บุรี พระเกจิอาจารย์ที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวเมืองสิงห์บุรีและใกล้เคียง เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์

ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2403 เมื่ออายุครบอุปสมบท ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์นับแต่นั้นมา เริ่มศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดโพธิ์ศรี ในสมัยที่พระอาจารย์คิ้มเป็นเจ้าอาวาส และด้วยความใฝ่ศึกษาหาความรู้ของท่านจึงได้ไปศึกษาจากสำนักใกล้เคียง รวมทั้งที่สำนักวัดมหรรณพาราม ในกรุงเทพฯ และสำนักวัดทุ่งแก้วที่ จ.อุทัยธานี เมื่อวัดโพธิ์ศรีว่างเว้นเจ้าอาวาส ชาวบ้านจึงอาราธนาท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี

ต่อมาท่านได้เป็นสหายธรรมกับพระอริยมุนี (เผื่อน) วัดราชบพิธฯ ซึ่งเป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุต ทำให้เกิดความเลื่อมใส จึงลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส และเดินทางเข้ากรุงเทพฯ พร้อมพระอริยมุนี ถวายตัวกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร และในปี พ.ศ.2439 ได้อุปสมบทในธรรมยุติกนิกาย จากนั้นมาจำพรรษาที่วัดโบสถ์ อ.อินทร์บุรี

พ.ศ.2442 ชาวบ้านวัดโพธิ์ศรี ได้มาขอหลวงพ่อลากับพระครูสิงหบุราจารย์ (อินทร์) เพื่อตั้งคณะธรรมยุตขึ้นที่วัดโพธิ์ศรี วัดโพธิ์ศรีจึงเปลี่ยนจากวัดมหานิกายเป็นวัดธรรมยุติกนิกายนับแต่นั้นมา โดยหลวงพ่อลากลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ.2448 ท่านดูแลปกครองและพัฒนาวัดโพธิ์ศรีจนเจริญรุ่งเรืองมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักขจรไกล เป็นที่เคารพรักของพุทธศาสนิกชนโดยถ้วนทั่ว

ท่านมรณภาพในปี พ.ศ. 2486 สิริอายุ 83 ปี

กล่าวสำหรับเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อลารุ่นแรก ปี 2468

ลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงเสมา เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ยกขอบนูนโดยรอบทั้งด้านหน้าและหลัง

ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปจำลองพระพุทธปฏิมา กรปางนาคปรก ศิลปะสมัยลพบุรี ประทับนั่งเหนืออาสนะขนดนาค

ด้านหลังเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อลานั่งสมาธิเต็มองค์ ห่มจีวรเฉียง พาดผ้าสังฆาฏิ ล้อมรอบด้วยอักขระขอม 9 ตัว ด้านล่างจารึกอักษรไทยเรียง 3 บรรทัดว่า "พระอธิการลา วัดโพธิ์ศรี พ.ศ.๒๔๖๘"

เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง จนทำให้บรรดาเซียนพระต่างตั้งข้อสังเกตว่า มีการทำเหรียญปลอมรุ่นนี้กันเยอะมาก

ด้วยเหรียญหลวงพ่อลารุ่นดังกล่าว มีพุทธคุณโดดเด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัยในการเดินทาง คงกระพันชาตรี

นับได้ว่า เป็นเหรียญดีอีกชิ้นหนึ่ง ที่ควรเก็บไว้ให้ดี

ศูนย์จองพระเครื่อง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล...

ถอดรหัสอักขระศักดิ์สิทธิ์ สู่พุทธคุณอมตะ หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง

พระปิดตายันต์ยุ่งหลวงพ่อเชิญ วัดโคกทองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขอขอบคุณภาพจาก: http://uauction2.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=422&qid=48516 พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ พระปิดตายันต์ยุ่ง หลวงพ่อเชิญ นับเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาอย่างกว้างขวางในวงการ พระเครื่อง ไทย โดยมีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับหลวงพ่อเชิญ ปุญฺญสิริ แห่งวัดโคกทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลักษณะเด่นของพระเครื่องชุดนี้คือการผสมผสานพุทธศิลป์ของ "พระปิดตา" ซึ่งหมายถึงพระพุทธรูปในปางปิดพระเนตร เข้ากับ "ยันต์ยุ่ง" อันหมายถึงอักขระเลขยันต์ที่สลับซับซ้อนพันเกี่ยวกันทั่วองค์พระ ความสนใจและการเสาะหาพระปิดตารุ่นนี้สะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาในพุทธคุณและบารมีของหลวงพ่อเชิญ รวมถึงเอกลักษณ์อันโดดเด่นของยันต์ยุ่งที่เชื่อกันว่าเปี่ยมด้วยอานุภาพ การปรากฏของพระเครื่องรุ่นนี้ในตลาดซื้อขายและเวทีการประมูลจำนวนมาก ย่อมบ่งชี้ถึงความต้องการที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ศรัทธาและนักสะสม ชื่อเสียงของหลวงพ่อเชิญในฐานะพระเกจิอาจารย์ผู้เปี่ยมด้วยเมตตาและวิทยาคม เป็นปัจ...