ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระขุนแผน (กรุ) วัดใหญ่ชัยมงคล ยอดขุนพลแห่งพระเครื่องเมืองอยุธยา ตอนที่ 1


พระขุนแผน (กรุ) วัดใหญ่ชัยมงคล ยอดขุนพลแห่งพระเครื่องเมืองอยุธยา ตอนที่ 1
วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2010 เวลา 09:23 น. SANTA
เรื่องและภาพโดย..ไวทย์ เวียงเหล็ก

เมื่อเอ่ยชื่อ “พระขุนแผน” ขึ้นมา เชื่อเหลือเกินว่าส่วนใหญ่มักจะนึกถึงกรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี เป็นลำดับแรกเพราะจำติดหูติดปาก เนื่องจากรู้จักกันอย่างแพร่หลายกว่ากรุอื่นๆ เพราะไม่เพียงพบเป็นจำนวนมากเท่านั้น แต่พระกรุนี้ยังถูกจำหน่ายจ่ายแจกออกไปในวงกว้าง ต่างกับกรุอื่นๆ ที่พบเพียงจำนวนไม่เท่าไร และคนที่ได้ไว้เป็นสมบัติก็มักหวงแหนเก็บงำเงียบกริบ จึงทำให้ไม่เป็นที่รู้จักกันนัก โดยเฉพาะ พระขุนแผน วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ดังนั้นจึงเห็นว่าน่าจะนำมาบอกกล่าวให้ทราบทั่วกัน เพราะในปัจจุบันดูเหมือนจะถือเป็นยอดขุนพลแห่งพระเครื่องของเมืองนี้ก็ว่าได้ เนื่องจากไม่ใช่มีเฉพาะคนกรุงเก่าเท่านั้นที่เสาะแสวงหา แต่ยังเป็นยอดปรารถนาของคนต่างจังหวัด ถึงขนาดยอมสู้ราคาเป็นเรือนแสนเรือนล้านทีเดียว

สำหรับวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ ตั้งอยู่ในท้องที่ ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา (เป็นอำเภอเดียวที่ไม่มีคำว่า “เมือง” นำหน้า เหมือนอำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งตัวจังหวัดแห่งอื่นๆ) หรือหากจะบอกอีกนัยหนึ่งเพื่อให้คนที่ไม่เคยรู้จักเข้าใจง่าย ก็คืออยู่ใกล้กับวัดพนัญเชิง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธไตรรัตนนายก” หรือ “หลวงพ่อโต” นั่นเอง ถ้าใช้ถนนสายกรุงเทพฯ-นครสวรรค์ ไม่ว่าจะไปวัดนั้นโดยเลี้ยวตรงเจดีย์ (วัดสามปลื้ม) กลางถนน หรือเลี้ยวเข้าข้างศาลากลางจังหวัด ล้วนต้องวิ่งผ่านวัดใหญ่ฯที่ว่าทั้งนั้น แต่ถ้าใช้สายปทุมธานี-บางปะหัน หรือสายเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาที่มาจากบางปะอิน เมื่อถึงวัดพนัญเชิงแล้วให้มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกแล้วกัน หรือไม่เช่นนั้นก็ให้ สังเกตเจดีย์สูงๆ เอาไว้ให้จงดี เพราะละแวกนี้มีเจดีย์ของของวัดใหญ่ฯเท่านั้นที่สูงกว่าเพื่อน

ส่วนประวัติของวัดนั้น นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเช่นเดียวกับวัดในละแวกเดียวกันบางวัด อย่างเช่น วัดอโยธยา วัดมเหยงคณ์ และวัดพนัญเชิง เป็นต้น ทั้งยังเชื่อกันมานานแล้วว่า เดิมชื่อ วัดเจ้าพระยาไทย (เจ้าพญาไท) หรือ วัดป่าแก้ว และเป็นที่สถิตของ พระพนรัตน์ หรือ พระวนรัตน์ (ไม่ใช่ “นพรัตน์”) พระราชาคณะผู้ใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา (มีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา คู่กับสมเด็จพระอริยวงศาสังฆราชาธิบดี เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย) แต่ภายหลังได้รับชื่อใหม่เป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล”





เหตุผลที่เชื่ออย่างนั้นก็เพราะว่า สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงมีพระมติเอาไว้ โดยอาศัยข้อสันนิษฐาน (แบบรวบรัด) เพียงว่า เมื่อ “เจ้าพระยาไทย” แปลว่า “พระสงฆ์ที่เป็นใหญ่” วัดเจ้าพระยาไทยก็ต้องเป็นที่สถิตของพระวนรัตน์ วัดป่าแก้ว ซึ่งกล่าวเอาไว้ในพระราชพงศาวดาร เพราะฉะนั้น “วัดป่าแก้ว” จึงเป็นวัดเดียวกับ “วัดเจ้าพระยาไทย” โดยไม่ได้อ้างอิงหลักฐานอันน่าเชื่อถือมาสนับสนุน เหมือนกับที่ทรงเคยยึดถือหรือปฏิบัติเป็นประจำแต่ประการใด ดังได้ทรงอธิบายเอาไว้ในพระนิพนธ์ของพระองค์ตอนหนึ่งว่า

“...นิกายพระสงฆ์ที่เข้ามาสู่ประเทศนี้สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เรียกคณะป่าแก้ว เพราะเหตุที่บวชแปลงมาจากสำนักพระวันรัตน์มหาเถรแห่งเมืองลังกา พระราชาคณะที่เป็นสังฆนายกของนิกายป่าแก้วหรือที่เรียกว่าคณะใต้ จึงมีสมณศักดิ์ว่าสมเด็จพระวันรัตน์

แต่ที่อยู่ (ของ) วัดป่าแก้วนั้นทำให้เข้าใจผิดอยู่ แม้ในหนังสือพระราชพงศาวดารว่า สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสร้างวัดป่าแก้ว ที่จริงวัดนั้นเป็นวัดแก้วฟ้า วัดที่ชื่อป่าแก้ว ไม่มีในกรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าได้ค้นหาวัดป่าแก้วกันมาแต่ในรัชกาลที่ 4 จนเมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า ก็ได้ค้นหาวัดป่าแก้วกันอีก เคยพาข้าพเจ้าไปบุกรุกช่วยหาหลายหนก็ไม่พบ

เรื่องวัดป่าแก้วในกรุงเก่าเป็นที่ฉงนสนเท่ห์มาก ความคิดเพิ่งมาปรากฏแก่ข้าพเจ้าเมื่อเห็นหนังสือเก่าๆ เมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพัทลุง ในหนังสือเหล่านั้นใช้คำคณะป่าแก้วติดข้างท้ายชื่อวัดทุกแห่ง ดังว่าวัดเขียนคณะป่าแก้ว วัดจะทิงคณะป่าแก้ว ดังนี้เป็นต้น ต้องกันกับชื่อวัดที่เคยเห็นในหนังสือพงศาวดารเหนือ ที่เรียกวัดทางเมืองสุโขทัยวัด ๑ ว่า วัดไตรภูมิ (คณะ) ป่าแก้ว ข้าพเจ้านึกว่าวัดป่าแก้วในกรุงเก่าบางทีจะมีชื่ออื่น และเรียกคำป่าแก้วเข้าข้างท้ายอย่างเมืองสุโขทัยและเมืองนครศรีธรรมราช

วัดในกรุงเก่าที่เป็นพระอารามหลวงใหญ่โตมีอยู่วัด ๑ ซึ่งเดี๋ยวนี้เรียกกันว่าวัดใหญ่ ครั้งกรุงเก่าเรียกกันว่าวัดเจ้าพระยาไทย วัดนี้ไม่มีชื่อในทำเนียบสมณศักดิ์ครั้งกรุงเก่า ในทำเนียบนั้นว่าสมเด็จพระวันรัตน์อยู่วัดป่าแก้ว เมื่อวัดป่าแก้วหาไม่พบ ข้าพเจ้าจึงคิดว่าจะเป็นวัดเจ้าพระยาไทยหรือวัดใหญ่นี่เอง เพราะคำว่าไทยเป็นศัพท์เก่าแปลว่าพระ ใช้ในหนังสือไตรภูมิพระร่วงและหนังสือสวดมาลัยมีอยู่เป็นพยาน ถ้าเจ้าไทยแปลว่าพระ เจ้าพระยาไทยก็แปลว่าพระสังฆราช วัดเจ้าพระยาไทยแปลว่าเป็นที่อยู่ของพระสังฆราช...

ดังนี้ จึงควรยุติได้ว่าที่ในพระราชพงศาวดารว่า สมเด็จพระวันรัตน์อยู่วัดป่าแก้ว คืออยู่ที่วัดเจ้าพระยาไทย ที่เรียกทุกวันนี้ว่าวัดใหญ่ มีพระเจดีย์สูงอยู่ริมทางรถไฟข้างตะวันออกเมื่อก่อนจะเข้ากรุงเก่านั่นเอง” พระนิพนธ์ข้างต้นนี้มีข้อควรสังเกตอยู่อย่างน้อย 2 ประการ กล่าวคือประการแรกนั้นสมเด็จกรมพระยาดำรงฯจะต้องทรงทราบดีอยู่ว่า วัดแก้วฟ้าซึ่งตั้งอยู่ใกล้คลองคูจาม (หลังวัดพุทไธศวรรย์) คือสถานที่ปลง (พระ) ศพของ “เจ้าแก้ว เจ้าไทย” ซึ่งพระเจ้าอู่ทองโปรดฯให้ขุดขึ้นมาปลง (พระ) ศพตามประเพณี เมื่อปี พ.ศ.1096 (จ.ศ.725) และโปรดฯให้สร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์

ในเมื่อเจ้าแก้ว เจ้าไทย ได้รับพระราชทานเพลิง (พระ) ศพ ณ บริเวณอันเป็นที่ตั้งวัดแก้วฟ้า ก็ย่อมหมายความว่าหลังสิ้นพระชนม์ด้วยอหิวาตกโรค จะต้องมีการฝัง (พระ) ศพเอาไว้ในละแวกใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงน่าจะถือเป็นข้อสรุปได้ว่า ที่บางตำราระบุเรื่องปลง (พระ) ศพที่บริเวณอันเป็นที่ตั้งวัดใหญ่ฯในปัจจุบันนั้น อาจเป็นข้อสันนิษฐานที่คลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงกระมัง

และหากจะว่าไปประเด็นดังกล่าวนี้ ก็มีผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านทีเดียวที่เชื่อว่า วัดแก้วฟ้าคือสถานที่ปลง (พระ) ศพเจ้าแก้ว เจ้าไทย หนึ่งในหลายท่านที่ว่านั้นมี “อาจารย์ประยูร อุลุชาฎะ” หรือ “น. ณ ปากน้ำ” นักเขียนสารคดีเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมชื่อดังรวมอยู่ด้วย ที่สำคัญอาจารย์ท่านนี้ยังอุตส่าห์บุกป่าฝ่าทุ่งเข้าไปจนถึงวัดนี้ ดังมีข้อเขียนปรากฏอยู่ในหนังสือ “ห้าเดือนกลางซากอิฐปูนที่อยุธยา” ตอนหนึ่งว่า



“สภาพวัดแก้วฟ้าที่เห็นเป็นเพียงโบราณสถานโทรมๆ ระเกะระกะไปด้วยอิฐสุมเป็นโคกสูง มีฐานเจดีย์ขนาดใหญ่และพระประธานปูนปั้น ซึ่งถูกทะลุทะลวงแทบจะหมดองค์ ผนังอุโบสถไม่มี พบเสาแปดเหลี่ยม บัวหัวเสาเป็นบัวกลุ่มแบบเดียวกับวัดพุทไธสวรรย์ อิฐที่เจดีย์มีขนาด ๓๒ คูณ ๑๕ คูณ ๕ เซนติเมตร ฐานเจดีย์ก่อด้วยศิลาแลง พบเศษพระพุทธรูปหินทรายขาวเกลื่อนไปทั่วอุโบสถ และพระพุทธรูปหินทรายแงแบบชายสังฆาฏิตัดหลายองค์ด้วยกัน เข้าใจว่าคงเป็นแบบพระอู่ทองรุ่นหลัง ลายปูนปั้นรูปบัวเป็นแบบรุ่นแรก ที่นี่ต้องเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งที่มีมาแต่สมัยอยุธยาตอนต้น

เท่าที่มีผู้สันนิษฐานหลายคน เช่น คุณนิคม มุสิกะคามะ (อดีตหัวหน้าโครงการประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และรองอธิบดีกรมศิลปากร) และอาจารย์อั้น (พระครูศีลกิตติคุณ) วัดพระญาติการาม ตลอดจนท่านผู้รู้อื่นๆ ต่างมั่นใจว่าวัดแก้วฟ้านี้ แท้จริงคือวัดป่าแก้ว อันกล่าวถึงในพระราชพงศาวดารนั่นเอง เหตุผลที่สันนิษฐานก็คือ วัดนี้อยู่ลึกเข้าไปในป่าหลังวัดพุทไธศวรรย์ พระตำหนักเวียงเล็กเดิมของพระเจ้าอู่ทอง มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า

“ศักราช ๗๒๕ ปีเถาะ เบญจศก ทรงพระกรุณาตรัสว่า เจ้าแก้ว เจ้าไทย ออกอหิวาตกโรคตาย ให้ขุดขึ้นเผาเสีย ที่ปลงศพนั้นให้สถาปนาเจดีย์และวิหารเป็นพระอาราม แล้วให้นามชื่อว่าวัดป่าแก้ว”

พิจารณาด้วยเหตุผลว่า เจ้าแก้ว เจ้าไทย สิ้นพระชนม์ด้วยอหิวาตกโรคในวัง ก็ควรจะนำไปฝังไว้ท้ายวัง คือป่าหลังวัดพุทไธสวรรย์นั้น ต่อเมื่อขุดศพขึ้นเผาในบริเวณใกล้เคียงกับที่ฝัง จึงได้สถาปนาวัดป่าแก้วขึ้นตรงนั้น เหตุนี้วัดป่าแก้วจึงควรอยู่ในตำแหน่งวัดแก้วฟ้าปัจจุบันนี้ ส่วนวัดป่าแก้วที่รู้จักกันคือวัดใหญ่ชัยมงคล (วัดพญาไท) ดูจะขาดเหตุผล เพราะอยู่ไกล คงไม่มีใครหามศพข้ามแม่น้ำตรงแหลมบางกะจะ ทั้งยังต้องข้ามคลองเล็กอีก ๒-๓ คลองไปฝังและเผาที่วัดพญาไทเป็นแน่

อีกประการหนึ่งวัดใหญ่ชัยมงคลก็มีชื่อวัดเก่าแก่อยู่แล้ว เรียกกันว่า วัดพญาไท อันวัดแก้วฟ้านี้ สำเนียงดูจะใกล้เคียงกับวัดป่าแก้วอยู่ เนื่องจากรกร้างมานานชื่อเสียงจึงเลือนๆ ไป ได้ตรวจดูอาณาบริเวณแล้วเห็นว่า สถานที่นี้เป็นสถานที่สงบมีป่าไผ่ล้อมรอบ ทั้งยังมีลำคูกว้างขวาง มีสระใหญ่ทางทิศใต้ ห่างไกลจากหมู่บ้านคนสมกับเป็นที่เปลี่ยว น่าจะเป็นที่ตั้งของวัดฝ่ายอรัญวาสีมากกว่าวัดใหญ่ชัยมงคล ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางรอบ ทั้งยังมีลำคูกว้างขวาง มีสระใหญ่ทางทิศใต้ ห่างไกลจากหมู่บ้านคนสมกับเป็นที่เปลี่ยว น่าจะเป็นที่ตั้งของวัดฝ่ายอรัญวาสีมากกว่าวัดใหญ่ชัยมงคล ซึ่งตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชน ทั้งยังวัดใหญ่น้อยล้อมรอบมากมาย โบราณสถานอายุก็เก่าแก่ถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง น่าเชื่อว่าจะเป็นวัดป่าแก้วจริงๆ และการที่พระเฑียรราชามาเสี่ยงเทียนอธิษฐานแข่งบุญบารมีกับขุนวรวงศาธิราชที่นี่ ดูจะลี้ลับกว่าวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นไหน

( ที่มา : ย่อจาก ลานโพธิ์ ฉบับที่ 1051 เดือนกรกฎาคม 2553 : พระขุนแผน (กรุ) วัดใหญ่ชัยมงคล ยอดขุนพลแห่งพระเครื่องเมืองอยุธยา ตอนที่ 1 เรื่องและภาพโดย..ไวทย์ เวียงเหล็ก )

ลิขสิทธิ์ © 2010 ลานโพธิ์ - สำนักพิมพ์บางกอกสาส์น. สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด. กรุณาอย่าตัดต่อหรือคัดลอกข้อเขียนเพื่อการแจกจ่ายทางอีเมลหรือโพสข้อเขียนลงบนเว็บไซด์ กรุณาใช้เครื่องมือของเว็บไซด์ลานโพธิ์ เพื่อแสดงความคิดเห็น.

Copyright Bangkoksarn Publishing 2010. Please don't cut articles from LanpoThai.com and redistribute by email or post to the web. You may share using our article tools.

ศูนย์จองพระเครื่อง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ :สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือสมเด็จพระสังฆราช แพร พระกริ่งหลังปิ มีพุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัยพระหัตถ์ซ้ายทรงถือวชิระ ทรงคล้ายหัวปลี มีพุทธลักษณะคล้ายพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระมงคล ราชมุนี ซึ่งคงถอดพิมพ์ดังกล่าวมามีจำนวนสร้างมากถึง 100 องค์แสนเนื้อเดิมเป็นศรีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาวแบบปีกแมลงทับ มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ เมื่อประกอบพิธีเททอง พระกริ่ง เสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระคณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์รวมทั้งหลวงปู่ดู่ที่จารเป็นยันต์กอหญ้าด้วยแล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ซึ่งมีพระเกจิอาจารย์เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 6 7 8 กุมภาพันธ์พศ 2508 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระกริ่งหลังปิ บางส่วนที่ยังคงเหลือได้เก็บไว้ในพระอุ