ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พระกรุเจดีย์เล็ก วัดใหม่อมตรส (บางขุนพรหม) พิมพ์ยืนประทานพร เนื้อผงพุทธคุณ

 พระกรุเจดีย์เล็ก วัดใหม่อมตรส (บางขุนพรหม) พิมพ์ยืนประทานพร เนื้อผงพุทธคุณ


พระกรุเจดีย์เล็ก วัดใหม่อมตรส:เมื่อปี พ.ศ.2500 พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ได้ประกอบพิธีเปิดกรุเจดีย์องค์ใหญ่ เพื่อนำ พระสมเด็จ ที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ปลุกเสก ออกมาให้ประชาชนเช่าบูชา เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีคนร้ายไปแอบขุดเจาะเจดีย์ใหญ่องค์นี้เพื่อขโมยพระสมเด็จอยู่เป็นประจำ

พระกรุเจดีย์เล็ก วัดใหม่อมตรส:จากการที่ได้นำ พระสมเด็จ ให้ประชาชนเช่าบูชา ทำให้ทางวัดมีรายได้ขึ้นมาจำนวนหนึ่งจึงได้นำมาบูรณะปฏิสังขรณ์บริเวณวัด เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘ โดยได้ว่าจ้างให้ช่างรับเหมา มาปรับปรุงบริเวณรอบองค์เจดีย์ใหญ่ซึ่งมี เจดีย์เล็ก เรียงรายรอบทั้ง ๔ ทิศของเจดีย์องค์ใหญ่ ทิศละ ๒ องค์ ตั้งซ้อนกันอยู่อย่างเป็นระเบียบรวมทั้งหมด ๘ องค์ ซึ่งทางช่างได้รื้อ เจดีย์เล็ก ทั้งหมดออก ทำให้ช่างรับเหมาพบ กรุพระเครื่องจำนวนหนึ่งในเจดีย์เล็กรวมอยู่กับอัฐิ จึงได้เก็บพระเครื่องซ่อนไว้ไม่ให้ทางวัดทราบ คงมอบแต่อัฐิให้เท่านั้น ต่อมาช่างรับเหมาได้นำพระที่พบนี้ไปขายแก่เซียนพระคนหนึ่งในสนามพระ ทำให้ พระเครื่องกรุเจดีย์เล็ก เป็นที่รู้จักในวงการพระสมัยนั้น

พระกรุเจดีย์เล็ก วัดใหม่อมตรส (บางขุนพรหม) พิมพ์ยืนประทานพร เนื้อผงพุทธคุณ

มีผู้นำพระเครื่องมาสอบถามกับเจ้าอาวาสวัดว่า มีพระเครื่องแตกกรุจากเจดีย์เล็กจริงหรือไม่? เจ้าอาวาสบอกว่า "ไม่มี" ทำให้เกิดความสับสนกันขึ้นในช่วงแรก แต่เมื่อได้มีการตรวจสอบพิจารณากันถึงเนื้อพระ และคราบกรุกับ พระสมเด็จบางขุนพรหม (กรุใหม่) แล้ว พบว่ามีความเก่าใกล้เคียงกันมาก ซึ่งคาดว่าคงสร้างขึ้นใน ปี พ.ศ.๒๔๑๓-๒๔๑๕

ในการตรวจสอบประวัติซึ่งเชื่อว่าผู้สร้าง พระกรุเจดีย์เล็ก ก็คือ "เสมียนตราด้วง" ต้นสกุล "ธนโกเศศ" ผู้สร้างพระเครื่องชุดนี้ไว้เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับพระกรุเจดีย์ใหญ่ ซึ่ง เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ได้มอบผงวิเศษห้าประการ คือ ผงอิทธิเจ ผงปถมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห ให้ผสมลงไปด้วยในตอนกดพิมพ์องค์พระทั้งหมด และได้เมตตาปลุกเสกให้ด้วย จากนั้น เสมียนตราด้วงจึงได้นำพระเครื่องในส่วนนี้ไปบรรจุไว้คู่กับอัฐิของบรรพชนในตระกูล และเมื่อช่างรื้อเจดีย์เล็กออกจึงพบอัฐิและพระเครื่องดังกล่าว

พระเครื่องกรุเจดีย์องค์เล็ก มีทั้งหมด ๖ พิมพ์ คือ

พิมพ์ฐานคู่

พิมพ์ฐานหมอน

พิมพ์สามเหลี่ยม

พิมพ์ไสยาสน์

พิมพ์ยืนประทานพร

พิมพ์จันทร์ลอย

พระทุกองค์มีคราบกรุเกาะอยู่ด้วย มากบ้างน้อยบ้าง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของพระกรุนี้

กล่าวสำหรับ พระพิมพ์ยืนประทานพร เป็นพระเครื่องเนื้อผงปูนปั้น เนื้อค่อนข้างหยาบและไม่แน่นตัว มวลสารต่างๆ เช่น จุดดำ เม็ดแดง แทบจะไม่พบเห็น

ด้านหน้า องค์พระพุทธปฏิมากรประทับยืนบนอาสนะแท่น ทำเป็นเส้นตรงเป็นซี่ๆ ลงมา ใต้พระบาททำเป็นรูปครึ่งวงกลม พระหัตถ์ข้างขวายกขึ้นเสมอพระอุระ พระหัตถ์ข้างซ้ายทอดลงข้างลำพระองค์ สองข้างพระบาทมีกระหนกเชื่อมต่อกับอาสนะ ประทับยืนภายในซุ้มเส้นกรอบสี่เหลี่ยม สองข้างบนทำเป็นมุมเว้า....ด้านหลังองค์พระเป็นพื้นเรียบ


ในปัจจุบัน วงการพระเครื่องได้ให้ความสนใจในพระกรุเจดีย์เล็กนี้มาก มีการเช่าหากันอย่างกว้างขวาง บางองค์เช่ากันถึงหลักแสนก็มี...และมี "พระปลอม" มาวางขายด้วยทุกพิมพ์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่งราชาฤกษ์ เจ้าคุณศรี ประหยัด วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ

 พระกริ่งราชาฤกษ์ เจ้าคุณศรี ประหยัด วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ พระกริ่งรุ่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาในการพิธีและทรงเจิมสรรพสิ่งของในพิธีแล้วทรงพระสุหร่ายจากนั้นเสด็จลงเททองในพิธีแล้วทรงจุดเทียนชัยพิธีปลุกเสกและท่านเจ้าคุณศรีได้กล่าว ปรารภขึ้นว่าปีนี้เป็นปีปีพ.ศ 2517 มีฤกษ์ยามที่เป็นมงคลเหมาะแก่การประกอบพิธีหล่อพระและทำเครื่องรางของขลัง พระกริ่งราชาฤกษ์ จึงถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายนพ.ศ๒๕๑๗จำนวน 200 องค์แต่งสวยทุกองค์ด้วยฝีมือช่างคนเดียวกันทุกองค์พระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่ง 1 ใน 3 รุ่นหลังของท่านที่สร้างในปีพ.ศ 2517 พระกริ่งราชาฤกษ์ ท่านเจ้าคุณได้กำหนดฤกษ์เททองในการสถาปนาเป็นองค์พระคือราชาฤกษ์อันเป็นอุดมมงคลเลิศด้วยเห็นว่าการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาในการพิธีนี้เป็นมงคลอันสูงสุดส่วนแม่พิมพ์ของพระกริ่งรุ่นนี้ได้แบบอย่างพระกริ่ง 79 ของสมเด็จแพใช้ชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์รวมถึงพระยันต์ของพระเกจิยุคก่อนพศ 2500 และหลังพ.ศ 2500 ที่ท่านได้รวบรวมไว้แต่ในอดีต และพระยันต์ของท่านที่ได้ลงไว้เป็นส่วนผสมสำหรับเททองหล่อ พระกริ่ง ในคราวนี้ พระกริ่ง ที่สร้างในปีพ.ศ๒๕๑๗นี้เ

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ