ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่น ช้างคู่ ปี 26

หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่น ช้างคู่ ปี 26


เนื่องจาก วัดท้ายน้ำ เป็นวัดเก่าแก่ที่หลวงพ่อเงินได้ก่อสร้างไว้ ตามประวัติของวัดท้ายน้ำ ว่าหลวงพ่อเงินท่านสร้างไว้เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่โยมบิดา และได้มาจำพรรษาอยู่เป็นประจำ แม้หลวงพ่อเงินจะมรณภาพไปเป็นเวลานานแล้วก็ตาม แต่บารมีอันศักดิ์อันเป็นอมตะของท่าน ยังคงสถิตอยู่ที่วัดท้ายน้ำ มีประชาชนจำนวนมากได้ไปกราบไหว้รูปเหมือนหลวงพ่อเงิน บ้างก็ไปแสวงหาพระเครื่องวัตถุมงคล เพราะว่าต่างทราบในพุทธคุณของพระเครื่องหลวงพ่อเงิน จึงเป็นสิ่งบันดาลให้ทางคณะกรรมการได้เห็นประโยชน์อันเป็นกุศลร่วมกับคณะศรัทธาทั้งหลาย จึงได้จัดสร้างปูชนียวัตถุมงคล หลวงพ่อเงิน ขึ้น เรียกว่า รุ่น ช้างคู่ อันเป็นเอกลักษณะประจำองค์หลวงพ่อเงิน วัดท้ายน้ำรุ่น ช้างคู่



พร้อมกันนี้ได้จัดสร้างพระบูชา หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ จำนวนหนึ่ง ตามศรัทธาของผู้ประสงค์แถบท้ายน้ำว่า หลวงพ่อเดิม เคยมาศึกษาวิชากับหลวงพ่อเงิน ที่วัดท้ายน้ำ
 
วัตถุประสงค์ ในการจัดสร้างพระเครื่องวัตถุมงคล หลวงพ่อเงิน รุ่น ช้างคู่ วัดท้ายน้ำ *จัดตั้งกองทุนมูลนิธิเพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือการศึกษาแก่ผู้ยากจน *บูรณะวัดท้ายน้ำ อ.โพทะเล จ.พิจิตร *สมทบทุนสร้างศาลาการเปรียญ วัดจุฬามณี จ.พิษณุโลก *สร้างกุฎิวัดสนามไชย จ.พิษณุโลก
 
หลวงพ่อเงิน รุ่นช้างคู่ สร้างตามแบบพิมพ์ของเก่า  กำนันวิรัตน์ (เสี่ยฮะ) คนดังจ.พิจิตร ได้นำหลวงพ่อเงิน องค์แชมป์ของเสี่ยฮะมาเป็นองค์ต้นแบบ ล้อมพิมพ์รุ่นช้างคู่ ทำให้รุ่นช้างคุ่ ทรงพิมพ์เหมือนของเก่เกือบหมด ยกเว้นบางจุด
พิธีการสร้างพระเครื่องสร้างแบบตำรับโบราณ ดูฤกษ์ยามต่างๆ จัดเททองและพิธีหล่อพระโดย พราหมณ์ นุ่งขาว ถือศีลเป็นเดือนๆ ก่อนจะเข้าร่วมพิธีเททองเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่อง หลวงพ่อเงิน รุ่น ช้างคู่คณาจารณ์ที่เข้าร่วมล้วนเป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น และปลุกเสกกันอย่างเข้มขลัง โดยอาศัยรูปหล่อบูชาองค์เก่าของหลวงพ่อเงิน นำออกมากลางลานพิธี และมีการเชิญดวงวิญญาณ ของหลวงพ่อเงินมา รับรู้การเทหล่อพระเครื่อง หลวงพ่อเงิน รุ่น ช้างคู่ เสมือนหลวงพ่อเงินมาปลุกเสกเอง
 

หลวงพ่อเงิน วัดท้ายน้ำ ช้างคู่



 
มวลสารของ หลวงพ่อเงิน รุ่นช้างคู่ ใช้โลหะเก่าแก่สมัยก่อน เช่น ระฆังเก่า ขันทองเหลืองเก่า เข็มขัด และเครื่องใช้ทองเหลืองโบราณรวมถึงสร้อยทองคำที่ได้รับจาก ผุ้มีจิตศรัทธา นำมาหลอมสร้างพระเครื่อง รุ่นช้างคู่ เนื้อหาพระเครื่องถึงมีความเก่าคร่ำคล้ายของเดิม กระแสเนื้อจะเข้ม ผิวจะออกเป็นสีทอง พระทุกองค์ จะคว้านเป็นรูเพื่อบรรจุผงปถัง อิทธิเจ ตรีนิสิงเหฯ , ผงมหาราชและผงพุทธคุณร้อยแปด ที่สำคัญ ผงที่ผสมกับไม้โพธิ์ เสาตะลุงช้าง เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์สมัยหลวงพ่อเงิน มีชีวิตทุกเช้าจะล้างหน้าที่ต้นไม้นี้ และจะราดน้ำที่ท่านล้างหน้า ด้วยคาถามงคลก่อนจะรดลงพื้น ทำให้เหมือนกับได้รับการปลุกเสกพระเครื่องจากหลวงพ่อเงินทุกวัน ผงนี้จะบรรจุที่ใต้ฐานทุกองค์
พิธีมหาพุทธาภิเษก  วันที่  23 มกราคม 2526 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ปีกุน ณ. อุโบสถวัดท้ายน้ำ 
 รายนามพระคณาจารย์ ลงอักขระแผ่นเงิน แผ่นทอง ปลุกเสก
หลวงปู่ขาว วัดถ่ำกลองพล อุดรธานี 
หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์  ลำปาง 
หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง  สิงห์บุรี
ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี  เชียงใหม่
หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง
หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส
หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน


 
พระเครื่องวัตถุมงคล หลวงพ่อเงิน บางคลาน ปี ๒๖ รุ่นช้างคู่รูปหล่อลอยองค์ พิมพ์ใหญ่  เนื้อทองคำ สร้าง 50 องค์ เนื้อเงิน สร้าง 1,999 องค์ เนื้อทองเก่า สร้าง 9,999 องค์รูปหล่อลอยองค์ พิมพ์เล็ก เนื้อทองคำ สร้าง 16 องค์ เนื้อเงิน สร้าง 999 องค์ เนื้อทองเก่า สร้าง 9,999 องค์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่งราชาฤกษ์ เจ้าคุณศรี ประหยัด วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ

 พระกริ่งราชาฤกษ์ เจ้าคุณศรี ประหยัด วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ พระกริ่งรุ่นนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาในการพิธีและทรงเจิมสรรพสิ่งของในพิธีแล้วทรงพระสุหร่ายจากนั้นเสด็จลงเททองในพิธีแล้วทรงจุดเทียนชัยพิธีปลุกเสกและท่านเจ้าคุณศรีได้กล่าว ปรารภขึ้นว่าปีนี้เป็นปีปีพ.ศ 2517 มีฤกษ์ยามที่เป็นมงคลเหมาะแก่การประกอบพิธีหล่อพระและทำเครื่องรางของขลัง พระกริ่งราชาฤกษ์ จึงถือกำเนิดขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายนพ.ศ๒๕๑๗จำนวน 200 องค์แต่งสวยทุกองค์ด้วยฝีมือช่างคนเดียวกันทุกองค์พระกริ่งรุ่นนี้เป็นพระกริ่ง 1 ใน 3 รุ่นหลังของท่านที่สร้างในปีพ.ศ 2517 พระกริ่งราชาฤกษ์ ท่านเจ้าคุณได้กำหนดฤกษ์เททองในการสถาปนาเป็นองค์พระคือราชาฤกษ์อันเป็นอุดมมงคลเลิศด้วยเห็นว่าการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาในการพิธีนี้เป็นมงคลอันสูงสุดส่วนแม่พิมพ์ของพระกริ่งรุ่นนี้ได้แบบอย่างพระกริ่ง 79 ของสมเด็จแพใช้ชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์รวมถึงพระยันต์ของพระเกจิยุคก่อนพศ 2500 และหลังพ.ศ 2500 ที่ท่านได้รวบรวมไว้แต่ในอดีต และพระยันต์ของท่านที่ได้ลงไว้เป็นส่วนผสมสำหรับเททองหล่อ พระกริ่ง ในคราวนี้ พระกริ่ง ที่สร้างในปีพ.ศ๒๕๑๗นี้เ

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ