ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2012

บ้านดำนางแล เชียงราย พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีค่ายิ่ง

บ้านทุกหลังทาสีดำ จึงถูกเรียกว่า บ้านดำ ส่วนคำว่า นางแล นั้น เป็นตำบลแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย เจ้าของบ้านดำแล คือ คุณ ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลปะ ที่ชอบเรียกตัวเองว่านักวาดรูปทั้งๆที่เป็นศิลปินระดับโลก ที่มีวุฒิถึงระดับดอกเตอร์ บ้านดำนางแลประกอบไปด้วยบ้านขนาด และรูปทรงต่างๆกว่าสามสิบหลัง มีอยู่หลังหนึ่งเป็นศาลาใหญ่มาก จนถูกเรียกว่า มหาวิหาร บ้านดำนางแล นอกจากเป็นบ้านพักของศิลปินใหญ่ถวัลย์ ดัชนี แล้ว ยังเป็นที่ทำงานและแสดงภาพของเจ้าของบ้านด้วย ซึ่งผลงานศิลปะแต่ละชิ้นราคาหลายล้านบาท โดยใช้เวลาวาดไม่กี่นาที บ้านทุกหลังเจ้าของบ้านเป็นผู้ออกแบบเองทั้งสิ้น จึงเป็นรูปแบบที่แปลกและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แค่ได้เห็นรูปแบบอาคารและการจัดวางหินก้อนน้อยใหญ่ก็น่าดูแล้ว หากเข้าไปดูภายในบ้านแต่ละหลังก็จะได้เห็นอะไรต่ออะไรมากมาย ที่เจ้าของบ้านเก็บสะสมไว้ เช่น เครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน หนังสัตว์ กระดูกสัตว์ และเขาสัตว์แทบทุกชนิด มากที่สุดก็คือเขาควาย แล้วยังมีเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะประเภท ดาบ กระบี่ มีด ที่มีรูปร่างแปลกตาที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ประเภทไม้แกะสลักเป็นรูปช้าง และสัตว์ชนิดอื่นก็

พระพุทธ ๕ พระองค์ วัดตรีจินดาฯ จ.สมุทรสงคราม

หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จ.สิงห์บุรี ขอบคุณภาพประกอบบทความโดย คุณ nat ko เหรียญ หลวงพ่อจวน หรือท่านพระครูสุจิตตานุรักษ์ที่เห็นเห็นอยู่นี้เป็นเหรียญรุ่นแรก ที่มีลักษณะเป็นเหรียญรูปใบโพธิ์ขนาดเล็กกว้างประมาณ ๒ ซ.ม. สร้างและปลุกเสกเมื่อปี พ.ศ.2501-2503 เรียกกันว่า เหรียญรุ่นสร้างศาลาการเปรียญ เพราะท่านสร้างเพื่อแจกผู้มาร่วมทำบุญสร้างศาลาการเปรียญ บรรดาลูกศิษย์ต่างให้ความเคารพศรัทธาต่อเหรียญรุ่นนี้มากกว่ารุ่นอื่นๆปัจจุบันพระเครื่องรุ่นนี้ค่อนข้างจะหายากเพราะสร้างจำนวนน้อย สนมราคาสูงพอสมควร พระพุทธ ๕ พระองค์ วัดตรีจินดาฯ จ.สมุทรสงคราม เหรียญพระพุทธ ๕ พระองค์ เป็นเหรียญรุ่นเก่าที่หายาก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๐ เนื่องในงานปิดทองฝังลูกนิมิตและฉลองอุโบสถของวัดตรีจินดาวัฒนารามโดยจัดสร้างเป็นเหรียญแบบสี่เหลี่ยมแจกผู้ที่เป็นชายด้านบนลงด้วยอักขระขอมอ่านว่า อิสวาสุ ด้านข้างขวา - ซ้ายลงด้วยคาถา นะโมพุทธายะ ถัดลงมาเป็นรูปยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ ใต้ลงมามีรูปนกคุ้มกันไฟ 2 ตัว เป็นตัวผู้กับตัวเมีย ลงด้วยหัวใจนกคุ้มจะพะกะสะ ส่วนด้านหลังบรรจุอักขระคาถาหัวใจพระเจ้าสิบหกพระองค์ นะต่างๆ หลวงพ่อฟัก

พระชัยวัฒน์ ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม

พระชัยวัฒน์ ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม เปรียบเหมือนอาจารย์ ของ สมเด็จแพ วัดสุทัศน์ พร้อมทั้ง หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เพราะท่านเจ้ามา เป็นผู้ถ่ายทอดพร้อมทั้งมอบตำราความรู้การสร้างพระกริ่งพร้อมกับชัยวัฒน์ แก่สมเด็จสังฆราชแพ แห่งวัดสุทัศน์ พร้อมกับเข้าใจว่าได้ถ่ายทอดการสร้างพระชัยวัฒน์ให้แก่หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วด้วย เพราะ พระหลายพิมพ์ของปู่บุญ เป็นพระพิมพ์ที่ราวกับและในประเภทเดียวกับเจ้ามา สมเด็จสังฆราชแพ ท่านเจ้ามาพร้อมด้วย ปู่บุญ  มีความใกล้ชิดกันในทางธรรมวินัยมาก ทำให้ การสร้างพระกริ่ง และ ชัยวัฒน์ของสามท่านนี้ เกี่ยวเนื่องด้วยตำราเดียวกันทุกประการ และ เป็นที่นิยมในวงการพระเครื่องอย่างสูงยิ่ง พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ของท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม หรือ วัดจักรวรรดิราชาวาส นับว่าเป็นพระชัยวัฒน์ที่มีความนิยมสูงสุดในวงการพระเครื่อง ภาพประกอบบทความ:คุณเก่งปากน้ำ พิธีพุทธาพิเศกปลุกเสก พระชัยวัฒน์ ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม พระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา :ท่านเจ้ามาได้ปลุกเสกเดี่ยวด้วยตัวของท่านเอง พุทธคุณมีคนนำไปใช้พบกับคุณวิเศษนานับประการ ทั้งในด้านคงกะพันชาตรี {

ตำนานพระกริ่งนเรศวรเมืองงาย

ตำนานพระกริ่งนเรศวรเมืองงาย ภายโดย:ริมฝั่งวัง2   ชาติไทยได้ดำรงความเป็นอิสระเสรีจนกระทั่งปัจจุบัน โดยมีวีรชนผู้กล้าเสียสละเลือดเนื้อเป็นชาติพลี เพื่อลูกหลานและชนรุ่นหลังโดยตลอดมา  บรรดาวีรชนที่นับว่าได้เสียสละ ไม่มีใครจะประกอบวีรกรรมอันสูงส่งเทียบเท่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และผุ้ร่วมพระหฤทัย เช่น สมเด็จพระเอกาทศรถ บรรดาแม่ทัพนายกอง และนักรบผู้กล้าหาญของชาวไทย ชาวเชียงใหม่ได้ระลึกอยุ่เสมอว่า ที่การพวกเราได้อยู่อย่างเป็นสุขสบายจนกระทั่งทุกวันนี้ ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงมีพระเมตตาต่อชาติไทย จึงได้เห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะได้ร่วมกันจัดสร้างสิ่งอันเป็นอนุสรณ์แด่พระองค์ขึ้น  พระกริ่งนเรศวรเมืองงาย  สร้างเพื่อหาทุนก่อสร้าง พระสถูปเจดีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชานุสรณ์ ประดิษฐาน ณ ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ โดย พ.ต.อ.นิรันดร ชัยนาม ผวจ.เชียงใหม่ เป็นประธานจัดสร้าง มี พล.ต.ต.ยรรยง สะท้านไตรภพ และพระอาจารย์ไสว สุมโน วัดราชนัดดา กทม.เป็นเจ้าพิธี
พระเนื้อดินเผา พิมพ์เม็ดบัว เจ้าคุณโพธิ์ฯ วัดชัยพฤกษ์มาลา กทม. เจ้าคุณโพธิ์ฯ วัดชัยพฤกษ์มาลา เจ้าคุณโพธิ์ฯ วัดชัยพฤกษ์มาลา   พระเถราจารย์ยุคเก่าท่านนี้แล้วเหรียญหล่อพิมพ์ซุ้มกอ เนื้อสัมฤทธิ์ ของท่าน ก็มีตำนานประสบการณ์ทางคงกระพันเป็นที่เลื่องลือกันนักในอดีต อีกทั้งสนนราคาในการเล่นหาปัจจุบันก็ค่อนข้างสูง เลยทำให้มีของเก๊ลอกเลียนแบบออกมานานแล้วหลายปี ของเก็ยุคแรกๆ ปัจจุบันตกกระป๋องไปแล้ว เพราะฝีมือห่างไกลจากของจริงมาก หากเป็นของเก๊ยุคหลังๆต้องระวังให้มาก ดูไม่ขาดถือแล้วบาดมือเลือดไหลแน่ แต่สำหรับพระเนื้อดินเผา พิมพ์เม็ดบัวของท่านไม่ค่อยน่ากลัว ของเก๊ดูเหมือนว่าจะยังไม่มี ด้วยว่าของแท้ยังถูกๆอยู่ แต่เขาก็เตือนว่าการไม่ประมาทเป็นดีที่สุดขนาดพระใหม่ๆออกมาไม่ทันถึงปีก็มีของเก๊แล้วครับ ปรกเม็ดบัว เจ้าคุณโพธิ์ วัดชัยพฤกษ์มาลา  พระชุดเล็กที่น่าสะสมมากครับ พระเนื้อดินเม็ดบัว เจ้าคุณโพธิ์ กรุวัดชัยพฤกษ์มาลา มีด้วยกันหลายพิมพ์ วัดชัยพฤกษ์มาลาเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร วัดชัยพฤกษ์มาลาเป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เด

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

สุดยอดวัตถุมงคล หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง

สุดยอดตำนานวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง  อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี  จัดเป็นหนึ่งในห้าสุดยอดพระเครื่องพระปิดตาของเมืองไทย หรือ "พระปิดตาชุดเบญจภาคี" ที่นักนิยมสะสมพระเครื่องใฝ่ฝัน ชนิดที่เรียกว่า "ของแท้ๆ หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสุมทร" พระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง นี้เป็นพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักที่หายากมากๆ และมีพุทธคุณสูงทั้งทางด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพัน ท่านหลวงปู่เอี่ยม เป็นพระผู้มีอาคมขลัง มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มักน้อย ถือสันโดษ ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลวงปู่เอี่ยม ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งชาวบ้านและเจ้านายผู้ใหญ่ในพระนครนับถือท่านมากจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต  ก่อนที่หลวงปู่เอี่ยมจะมรณภาพด้วยโรคชรา นายหรุ่น แจ้งมา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดคอยอยู่ปรนนิบัติท่านหลวงปู่เอี่ยมได้ขอร้องท่านว่า  “ท่านอาจารย์มีอาการเต็มที่แล้ว  ถ้าท่านมีอะไรก็กรุณาได้สั่ง และให้ศิษย์เป็นครั้งสุดท้าย”  ซึ่งท่านหลวงปู่เอี่ยมก็ตอบว่า  “ถ้ามีเหตุทุกข์เกิดขึ้นให้ระลึกถึงท่านและเอ่ยชื่อท่านก็แล้วกัน”หลวงปู่เอี่ยมท่านได้มรณภาพ  

22 ม.ค. 55 ชมไหลเรือไฟและคอนเสิร์ตโปงลางสะออนบนเวทีกลางน้ำ

22 ม.ค. 55 ชมไหลเรือไฟและคอนเสิร์ตโปงลางสะออนบนเวทีกลางน้ำ