ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2010

พระอรุณ"ศิลปะล้านช้าง วัดอรุณราชวราราม กทม.

พระอรุณ"ศิลปะล้านช้าง วัดอรุณราชวราราม กทม. คอลัมน์ เดินสายไหว้พระ ถือเป็นวัดไทยอีกแห่งหนึ่ง ที่เป็นหน้าเป็นตาของเมืองไทย ที่บรรดานักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ต่างกล่าวขวัญถึงความโดดเด่นของพระปรางค์วัดอรุณฯ ปรากฏริมแม่น้ำเจ้าพระยาอันงดงามมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นหนึ่งสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครด้วย วัดไทยแห่งนี้ มีนามว่า "วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร" มีหลักฐานการสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา วัดนี้เดิมชื่อ วัดมะกอก ต่อมาเรียกว่า วัดมะกอกนอก เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอก ใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรี พ.ศ.2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดแห่งนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เทียบเรือพระที่นั่งที่ท่าน้ำ เสด็จขึ้นไปสักการบูชาพระมหาธาตุ ซึ่งเป็นพระปรางค์องค์เดิม องค์ที่เห็นในปัจจุบัน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดมะกอกและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "วัดแจ้ง"

เหรียญหลวงพ่อทุเรียน

เหรียญหลวงพ่อทุเรียน คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่ "วัดลักษณาราม" ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรี ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี เป็นวัดเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี เมื่อครั้งที่ "พระครูวิบูลวชิรสาร" หรือ "หลวงพ่อทุเรียน ฐิติสาโร" ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นรูปที่ 5 กล่าวได้ว่าหลวงพ่อทุเรียนเป็นพระนักพัฒนา ช่วยเหลือชาวบ้านผู้เดือดร้อนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความร่มเย็นเป็นสุข ท่านได้พัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง จวบจนวัดลักษณารามมีเสนาสนะพร้อมสรรพ ทั้งอุโบสถ ซุ้มประตูวัด บานประตู บานหน้าต่าง หรือตามผนังโบสถ์ ล้วนแล้วแต่งดงามวิจิตร ด้วยศิลปะสถาปัตยกรรม ไทยที่เป็นเลิศ โดยช่างฝีมือของชาวเพชรบุรี เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาพุทธศาสนิกชนทั้งในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง หลวงพ่อทุเรียนได้มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2541 นับเป็นการสูญเสียพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ตั้งมั่นในธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีต่อพุทธศาสนิกชน รุ่นหลัง การจากไปของหลวงพ่อทุเรียนนำมาซึ่งความเศร้าสลดของคณะศิษย์และชาวเมืองเพชรบุรีเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น พระครูพัชรกิจจานุกูล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้เห็นถึงความศร

พระหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร ปี ๒๕๑๕

คมชัดลึก :วงการพระเครื่อง ในทุกวันนี้ ต้องยอมรับว่า พระรูปหล่อลอยองค์ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร ที่สร้างในสมัยหลวงพ่อเงินยังมีชีวิตอยู่ มีสนนราคาเช่าหาที่แพงที่สุด ในบรรดาพระรูปหล่อของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีตด้วยกัน รวมทั้งเหรียญหล่อโบราณ พิมพ์จอบเล็ก และพิมพ์จอบใหญ่ ซึ่งมีของหมุนเวียนเปลี่ยนมือกันไม่บ่อยนัก เพราะมีจำนวนสร้างไม่มาก แต่มีการเช่าหาที่แพงเป็นหลักแสนหลักล้านขึ้นไป ผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใส พระหลวงพ่อเงิน ในระดับชาวบ้านทั่วๆ ไป ที่มิใช่เศรษฐีผู้มีเงินเหลือกินเหลือใช้ จึงมองหา พระหลวงพ่อเงิน ที่สร้างในยุคหลังต่อมา หลังจากที่ท่านได้มรณภาพในปี ๒๔๖๒ ซึ่งมีการจัดสร้างกันบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นวัดที่ท่านเคยพำนักจำพรรษามาก่อน หรือวัดอื่นๆ ในละแวก จ.พิจิตร หากจะสร้างวัตถุมงคลให้ชาวบ้านทำบุญบูชา ก็สร้าง พระหลวงพ่อเงิน เท่านั้น ถึงจะมีผู้สนใจเช่าหา อันจะส่งผลให้วัดที่สร้างได้ปัจจัยทำบุญตามความประสงค์ต่อไป อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการสร้างพระหลวงพ่อเงิน ในสมัยต่อมามากมายหลายรุ่น แต่ที่ได้รับความศรัทธานิยมจากชาวบ้าน เพราะมีประสบการณ์มากมาย และโด่งดังสุดๆ ก็คือ พระหลวงพ่อเงิน ที่สร้างใน

สำนักสุสานไตรลักษณ์ ลำปางครูบาเจ้าเกษม เขมโก

ครูบาเจ้าเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ ลำปาง โดย ดาวลำปาง ณ ดินแดนถิ่นล้านนา ทางภาคเหนือของประเทศไทย พระอริยะสงฆ์ที่พวกเราทุกคนรู้จักชื่อเสียงคุณงามความดีของท่าน ก็คือ ครูบาศรีวิชัย อริยะสงฆ์องค์แรกของภาคเหนือท่านเปรียบเสมือนประทีปดวงใหญ่ที่ส่องประกายธรรมไปทั่วทุกสารทิศ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ประกอบคุณงามความดีไว้กับแผ่นดินนี้มากมาย ท่านจึงถูกจัดให้เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวเหนือ ประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ ของท่าน จึงถูกบันทึกเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงในยุคปัจจุบัน ประวัติบางตอนของครูบาศรีวิชัยตอนหนึ่งกล่าวว่าท่านครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ว่าจะมีตนบุญมาเกิดที่ลำปาง ครั้นต่อมาครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพไปโดยทิ้งคำพยากรณ์นี้ไว้ให้ชาวลำปางได้เฝ้ารอคอยการมาจุติของตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ จนเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี ก็ยังไม่ปรากฏ แต่ชาวลำปางก็ยังเชื่อในคำพยากรณ์ของครูบาศรีวิชัย เมื่อปี พ.ศ.2455 ได้มีครอบครัวเชื้อเจ้าผู้ครองนครลำปางหรือเขลางค์นครในอดีตหัวหน้าครอบครัวคือ เจ้าหนูน้อย ณ ลำปาง ภายหลังเปลี่ยนนามสกุลใหม่เป็น มณีอรุณ รับราชการเป็นปลัดอำเภอภรรยาชื่อเจ้าแม

พระเครื่องยอดนิยม เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่ารุ่นแรก พ.ศ.2466

พระเครื่องยอดนิยม เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่ารุ่นแรก พ.ศ.2466 “เหรียญคณาจารย์” เป็นผลมาจากวิวัฒนาการการจัดสร้างเหรียญกษาปณ์และเหรียญที่ระลึก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีการริเริ่มผลิตเงินเหรียญแทนเงินตราแบบเก่า ซึ่งมีทั้งการจ้างชาวต่างชาติปั๊มเรียกว่าเหรียญ “ปั๊มนอก” ซึ่งจะสวยงามมีคุณภาพดีกว่าโรงงานของสยามที่เรียกว่า “ปั๊มใน” โดยเฉพาะในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยิ่งมีความนิยมปั๊มเหรียญกันมากขึ้น เหรียญที่รู้จักกันดีรุ่นแรกๆ ได้แก่ เหรียญพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร ที่สร้างใน ร.ศ.118 (พ.ศ. 2443) เมื่อคราวเสด็จกลับจากประพาสยุโรป หรือในวงการพระเครื่องเรียกกันว่า “ปู่เหรียญ” และต่อมาก็นิยมทำรูปเกจิคณาจารย์เป็นที่ระลึกเป็นรูปลักษณะ “เหรียญ” ในบรรดาเหรียญพระเครื่องของ คณาจารย์สำคัญระดับประเทศนั้น เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท นับเป็นเหรียญที่งดงาม มีสนนราคาสูง ได้รับความนิยมอย่างมาก หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า สำหรับเหรียญสำคัญของหลวง

เหรียญ “มหาโภคทรัพย์” ความเมตตาเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง

เหรียญ “มหาโภคทรัพย์” ความเมตตาเป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง หลวงพ่อสาคร มนุญฺโญ วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง “ความเมตตา” คือสภาวะของจิตใจที่มีเยื่อใยไมตรีจิตมิตรใจ คิดเกื้อกูลด้วยสุขประโยชน์ ปราศจากอาฆาตพยาบาทโกรธแค้น แสดงออกทางสีหน้าและสายตาที่สงบแช่มชื่น มองด้วยสายตาอันแสดงถึงความปรารถนาดีให้มีความสุข ปราศจากความมุ่งร้ายที่เป็นเวรเป็นภัยต่อกันทั้งปวง นี่เป็นความหมายที่กล่าวถึงคุณลักษณะของความเมตตานั่นเอง ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ที่จะถึงนี้ “พระครูมนูญธรรมวัตร” หรือ “หลวงพ่อสาคร มนุญฺโญ” วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ศิษย์ผู้สืบสานพุทธาคมจากหลวงปู่ทิม อิสริโก จะมีอายุครบ ๗๓ ปี ทางคณะกรรมการวัดหนองกรับและศิษยานุศิษย์ได้ขออนุญาตหลวงพ่อสาครจัดสร้างเหรียญรูปเหมือนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาทุนทรัพย์ก่อสร้างกำแพงรอบวัดหนองกรับให้แล้วเสร็จ หลวงพ่อสาครได้ให้ชื่อเหรียญรุ่นนี้ว่า “มหาโภคทรัพย์” อันเป็นชื่อที่ให้ความบริบูรณ์ในด้านทรัพย์สินเงินทองและเป็นมงคลอย่างยิ่ง โดยมีลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบผลมะตูม มีขั้วอยู่ที่ห่วงเหรียญสื่อถึงความหมายของการออกดอกออกผลเป็นผลสำเร็จ ตรงก
"เบญจภาคี" นาคปรกใบมะขาม พระเครื่องชุดจิ๋ว วันพุธที่ 02 กันยายน 2009 เวลา 15:24 น. ผู้ดูแลระบบ โดย.. สุธน ศรีหิรัญ "พระนาคปรกใบมะขาม" แม้มีขนาดเล็กจิ๋ว แต่พุทธคุณก็มิได้หมายถึงเล็กตามขนาดไปด้วย ดูแต่พระเม็ดข้าวเม่าพิจิตรนั่นปะไร สมัยผู้เขียนเป็นเด็กๆ บิดาเลี่ยมแขวนให้เพียงองค์เดียวเท่านั้น โดนสุนัขดุข้างบ้านฟัดเอาจนตัวเปียกไปด้วยน้ำลายสุนัข หามีบาดแผลแต่อย่างใดไม่ พระนาคปรกใบมะขามนี้ชะรอยจะได้แบบอย่างมาจากพระนาคปรกใบมะขาม หรือพระเม็ดข้าวเม่า พิจิตรก็เป็นได้ เกจิอาจารย์ยุคเก่าตั้งแต่ท่านเจ้าคุณสนิท วัดท้ายตลาด สืบมาถึง หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเจ้าคุณสุนทร วัดกัลยาฯ จึงได้มีการสร้างพระเครื่องขนาดจิ๋ว แต่พุทธคุณเต็มเปี่ยม ให้ลูกศิษย์ลูกหาได้บูชาติดตัวปกป้องคุ้มครองภัย นอกจากพระนาคปรกใบมะขามทั้งสามวัดนั้นแล้ว อีกสองวัดคือ วัดอนงค์และวัดเสด็จก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน จนได้ชื่อว่าเป็นชุด "เบญจภาคี" นาคปรกใบมะขาม พระเครื่องชุดจิ๋วแต่พุทธคุณแจ๋ว ในหน้ากลางเราได้รวบรวมพระนาคปรกวัดอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมและมีพุทธคุณดีมาเสนอไว้ หากใครหาชุดเบญจภาคีใบมะขา

พระขุนแผน (กรุ) วัดใหญ่ชัยมงคล ยอดขุนพลแห่งพระเครื่องเมืองอยุธยา ตอนที่ 1

พระขุนแผน (กรุ) วัดใหญ่ชัยมงคล ยอดขุนพลแห่งพระเครื่องเมืองอยุธยา ตอนที่ 1 วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2010 เวลา 09:23 น. SANTA เรื่องและภาพโดย..ไวทย์ เวียงเหล็ก เมื่อเอ่ยชื่อ “พระขุนแผน” ขึ้นมา เชื่อเหลือเกินว่าส่วนใหญ่มักจะนึกถึงกรุวัดบ้านกร่าง สุพรรณบุรี เป็นลำดับแรกเพราะจำติดหูติดปาก เนื่องจากรู้จักกันอย่างแพร่หลายกว่ากรุอื่นๆ เพราะไม่เพียงพบเป็นจำนวนมากเท่านั้น แต่พระกรุนี้ยังถูกจำหน่ายจ่ายแจกออกไปในวงกว้าง ต่างกับกรุอื่นๆ ที่พบเพียงจำนวนไม่เท่าไร และคนที่ได้ไว้เป็นสมบัติก็มักหวงแหนเก็บงำเงียบกริบ จึงทำให้ไม่เป็นที่รู้จักกันนัก โดยเฉพาะ พระขุนแผน วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา ดังนั้นจึงเห็นว่าน่าจะนำมาบอกกล่าวให้ทราบทั่วกัน เพราะในปัจจุบันดูเหมือนจะถือเป็นยอดขุนพลแห่งพระเครื่องของเมืองนี้ก็ว่าได้ เนื่องจากไม่ใช่มีเฉพาะคนกรุงเก่าเท่านั้นที่เสาะแสวงหา แต่ยังเป็นยอดปรารถนาของคนต่างจังหวัด ถึงขนาดยอมสู้ราคาเป็นเรือนแสนเรือนล้านทีเดียว สำหรับวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ ตั้งอยู่ในท้องที่ ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา (เป็นอำเภอเดียวที่ไม่มีคำว่า “เมือง” นำหน้า เหมือนอำเภอซึ่งเป็นที

เหรียญหลวงพ่อลา

เหรียญหลวงพ่อลา คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่ 'สิงห์บุรี' จังหวัดเก่าแก่จังหวัดหนึ่งของไทย มีวัดวาอารามมากมาย รวมถึงพระพุทธรูป-พระเครื่องกรุเก่าที่นับเป็นมรดกล้ำค่าและเป็นที่นิยมสืบต่อกันมา นอกจากนี้ ยังมีพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักและเคารพศรัทธาของสาธุชนทั่วประเทศมาแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน 'พระครูวินิตศิลคุณ' หรือที่รู้จักกันในนาม 'หลวงพ่อลา ปุณณชิ' แห่งวัดโพธิ์ศรี อ.อินทร์บุรี พระเกจิอาจารย์ที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวเมืองสิงห์บุรีและใกล้เคียง เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2403 เมื่ออายุครบอุปสมบท ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์นับแต่นั้นมา เริ่มศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดโพธิ์ศรี ในสมัยที่พระอาจารย์คิ้มเป็นเจ้าอาวาส และด้วยความใฝ่ศึกษาหาความรู้ของท่านจึงได้ไปศึกษาจากสำนักใกล้เคียง รวมทั้งที่สำนักวัดมหรรณพาราม ในกรุงเทพฯ และสำนักวัดทุ่งแก้วที่ จ.อุทัยธานี เมื่อวัดโพธิ์ศรีว่างเว้นเจ้าอาวาส ชาวบ้านจึงอาราธนาท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ศรี ต่อมาท่านได้เป็นสหายธรรมกับพระอริยมุนี (เผื่อน) วัด

พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม อิสสริโก วัดละหารไร่

พระกริ่งชินบัญชร  หลวงปู่ทิม อิสสริโก วัดละหารไร่ พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม อิสสริโก วัดละหารไร่ วัตถุมงคลยอดนิยม "พระกริ่งชินบัญชร" ผลงานของ "หลวงปู่ทิม อิสสริโก" วัดละหารไร่ จ.ระยอง เป็นพระเครื่องที่มีการเช่าหากันในราคาที่สูงมากอยู่ในขณะนี้ นอกเหนือจาก "พระชุดผงพรายกุมาร" และเหรียญยอดนิยมของหลวงปู่ทิม " พระกริ่งชินบัญชร " ของหลวงปู่ทิมประกอบพิธีเททองหล่อที่ลานวัดละหารไร่ ตรงกับบริเวณที่ตั้งของศาลาภาวนาภิรัตในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2517 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล เวลา 08.49 น.ลัคนาสถิตเทวีแห่งฤกษ์วางฤกษ์ พอได้เวลา 06.45 น. หลวงปู่ทิมเป็นผู้จุดเทียนชัยด้วยตัวหลวงปู่เอง พระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์แล้วสวดคาถาจุดเทียนชัย (ฤกษ์ในการจุดเทียนชัย) การหล่อ พระกริ่งชินบัญชรหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ครั้งนั้นอยู่ในช่วงฤดูฝนและเป็นระยะที่มีฝนตก แต่ในเวลาที่เททองหล่อพระชุดชินบัญชรนี้บริเวณวัดละหารไร่กลับไม่มีฝนตกเลย ทั้งที่รอบนอกห่างจากวัดไปไม่เท่าไร มีฝนตกหนักมากจวบจนเททองหล่อพระกริ่งเสร็จ ฝนจึงตกลงมาอย่างหนัก ผู้คนทั่ว

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย พระกำแพงห้าร้อย สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้จะพูดถึงพระเครื่องเนื้อชินชนิดหนึ่ง ที่เป็นพระแผงขนาดค่อนข้างใหญ่ ซึ่งได้มีการนำมาตัดแบ่งแล้วนำมาคล้องคอ และได้รับความนิยม แต่โดยธรรมดาทั่วๆ ไปพระเครื่องที่นำมาตัดแต่งนั้นถือว่าไม่สมบูรณ์ แต่ก็มีพระเครื่องอยู่หลายอย่างเหมือนกันที่นำมาตัดแบ่งแล้วได้รับความนิยม สาเหตุที่ต้องตัดแบ่งนั้นส่วนมากจะขึ้นอยู่กับขนาดของพระและรูปทรง พระเครื่องที่นำมาตัดแบ่งที่ได้รับความนิยมก็ได้แก่ พระพลายคู่ตัดเดี่ยว และพระกำแพงห้าร้อยเป็นต้นครับ พระกำแพงห้าร้อย จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระกรุเนื้อชิน ที่ได้รับความนิยมมาก แต่ก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน พระกำแพงห้าร้อยนั้นที่ได้ชื่อเช่นนี้ก็เพราะว่าเป็นพระแผงขนาดเขื่อง รูปทรงห้าเหลี่ยม เป็นพระแบบสองหน้า แต่ละหน้าจะมีพระองค์เล็กเรียงรายอยู่ด้านละ 251 องค์ อยู่บนยอดบนสุดหนึ่งองค์ ถ้าเรารวมทั้งสองด้านก็จะมีพระองค์เล็กๆ อยู่ 252 องค์ และพระดังกล่าวก็ขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชร จึงมีชื่อเรียกกันว่า "พระกำแพงห้าร้อย" โดยนำเอาชื่อจังหวัดมาผนวกกับจำนวนองค์พระที่อยู่ในพิมพ์ พระกำแพงห้าร้อยได้มีก

พระกริ่งพุทธชินสีห์ 7 รอบ

พระกริ่งพุทธชินสีห์ 7 รอบ คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ขอขอบคุณภาพจาก: https://siamrath.co.th/n/46949 พระกริ่งพุทธชินสีห์ 7 รอบ "พระพุทธชินสีห์" แปลตามความหมายว่า พระผู้ชนะพระยาราชสีห์ หรือพระผู้ชนะซึ่งงามสง่าประดุจพระยาราชสีห์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญพระองค์หนึ่งของหัวเมืองฝ่ายเหนือ สร้างขึ้นคราวเดียวกับพระพุทธชินราช และพระศาสดา ในปี พ.ศ.1500 โดยพระเจ้าศรีธรรม ไตรปิฎกมหาราช แห่งเมืองเชียงแสน ประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก พระกริ่งพุทธชินสีห์ 7 รอบ จนถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ.2372 พระกริ่งพุทธชินสีห์ 7 รอบ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ครั้งเมื่อยังทรงผนวชและครองวัดบวรนิเวศวิหารอยู่ ทรงเคารพนับถือพระพุทธชินสีห์มาก พระองค์ทรงทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เพื่ออัญเชิญ "พระพุทธชินสีห์" มาเป็นพระประธานในพระอุโบสถ และโปรดให้กะไหล่รัศมีองค์พระด้วยทองคำ ฝังพระเนตรฝังเ

ประวัติหลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ จ.ระยอง

ประวัติหลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ จ.ระยอง หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ศิษย์เอกของ "หลวงปู่ทิม อิสริโก" อดีตเกจิอาจารย์ ชื่อดังแห่งวัดระหารไร่ จ.ระยอง ต้นตำรับ "ขุนแผนผงพรายกุมาร" อันลือลั่นสนั่นวงการ พระเครื่อง ได้เมตตาให้สัมภาษณ์พิเศษ ทีมข่าวพระเครื่อง "คม ชัด ลึก" เกี่ยวกับการ สืบทอด วิชาคาถาอาคมต่างๆ จากหลวงปู่ทิม ตลอดจนการสร้างศาสนวัตถุ โดยเฉพาะ "พิพิธภัณฑ์ยันต์" แห่งแรก และแห่งเดียว ในเมืองไทย เชิญติดตามอ่าน กันได้โดยพลัน...

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

พิธีกรรมจัดสร้างอันศักดิ์สิทธิ์ รุ่นพระพิจิตร พิธีที่ ๑

หลวงพ่อเงิน รุ่นพระพิจิตร หลวงพ่อเงินรุ่นพระพิจิตร หลวงพ่อเงิน รุ่นพระพิจิตร พิธีกรรมจัดสร้างอันศักดิ์สิทธิ์ ตามหลักโบราณษจารย์ พิธีที่ ๑ ๑. พิธีพุทธาภิเษก หลอมชนวนศักดิ์สิทธิ์ ๙๕ แห่งและโลหะธาตุกายสิทธิ์เพื่อผสมเนื้อนวโลหะกลับดำนำไปรีดเป็นแผ่นเพื่อจารพระยันต์บังคับ ณ.วัดท่าหลวง (พระอารามหลวง) จ.พิจิตร เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๒ มีพระวิสุทธาธิบดี(วีระ) วัดสุทัศน์ฯ พระสุทัสสีมุนีวงศ์ (บุญมี) วัดท่าหลวง เป็นประธานในพิธีพร้อมพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ๙ รูป รายนามพระเกจิอาจารย์นั่งปรก พิธีพุทธาภิเษก เททองหลอมชนวนศักดิ์สิทธิ์ รุ่น พระพิจิตร ณ.วัดท่าหลวง(พระอารามหลวง) จ.พิจิตร ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ๑. พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศน์ฯ กรุงเทพ ๒. พระวิมลมุนี วัดชัยมงคล จ.พิจิตร ๓. พระสุทัศสีมุนีวงศ์ วัดท่าหลวง จ.พิจิตร ๔. หลวงพ่อพูน วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม ๕. หลวงพ่อไสว วัดปรีดาราม จ.นครปฐม ๖. หลวงปู่ตี๋ วัดหลวงราชาวาส จ.อุทัยธานี ๗.ครูบาทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่ ๘.หลวงพ่อพยนต์ วัดเอี่ยมสำองค์ จ.เพชรบูรณ์ ๙. หลวงพ่อไพรินทร์ วัดพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ๑๐. หลวงพ่อป่วน วัดบรรหารแจ่มใส