ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2011

ราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จ.นครปฐม

วัตถุมงคลที่หลวงพ่อน้อย สร้างมีทั้งเหรียญ วัวธนู กะลาแกะ และผ้ายันต์ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมอย่างสูง โดยเฉพาะ "เหรียญหล่อ" เนื่องจากท่านสร้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2487 ซึ่งสงครามกำลังดำเนินอยู่ใกล้ๆ วัด ท่านก็สามารถทำพิธีเททองหล่อเหรียญได้จนแล้วเสร็จเป็นที่อัศจรรย์และกล่าวขานกันเรื่อยมา แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเครื่องรางของขลังที่เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดซึ่งก็คือ "ราหูอมจันทร์หลวงพ่อน้อย" หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดนครปฐม ท่านทำให้วัดศีรษะทองเป็นที่รู้จักและเลื่องชื่อโดยเฉพาะในเรื่องการกราบไหว้องค์ราหู เพื่อสะเดาะเคราะห์และขอพร เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังหรือได้ไปมาบ้างแล้ว "พันธุ์แท้พระเครื่อง" จึงขอนำอัตโนประวัติโดยย่อและเรื่องราวของวัตถุมงคล "ราหูอมจันทร์" มาเล่าสู่กันครับผม หลวงพ่อน้อย ศัสธโชโต เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 ที่เมืองนครชัยศรี บิดาเป็นชาวลาวมาจากเวียงจันทน์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาอาคมและเครื่องรางของขลังต่างๆ หลวงพ่อน้อยจึงได้ศึกษากับบิดาตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่ออายุครบบวชจึงอุ

เหรียญนะสำเร็จ หลวงพ่อน่วม วัดโพธิ์ศรีเจริญ

สำหรับพญานาคตามตำนานพญานาค มีอยู่ก่อนสมัยพระพุทธเจ้าแล้ว ดังเช่น หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่างๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา มีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ "มุจลินท์" ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตกพรำๆ ประกอบไปด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อ "มุจลินท์" เข้ามาวงด้วยขนด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกาย หลังจากฝนหายแล้วคลายขนดออก แปลงเพศเป็นมานพมายืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า ความเชื่อดังกล่าวทำให้ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาคคือผู้คุ้มครองพระศาสดา พญานาค...สะพาน (สายรุ้ง) ที่เชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ โลกศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อที่ว่า พญานาคกับรุ้งเป็นอันเดียวกัน ก็คือสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์นั่นเอง นาคสะดุ้ง...ที่ราวบันไดโบสถ์นั้นได้สร้างขึ้นตามความเชื่อถื

เหรียญหลวงปู่ทวด วัดพะโคะ รุ่นปี 36

พระเครื่อง เหรียญหลวงปู่ทวด “เหยียบน้ำทะเลจืด” วัดพะโคะ อ.สะทิงพระ จ.สงขลา รุ่นปี พ.ศ.2536 ซึ่งทางวัดประกอบพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ นิมนต์ พระเกจิชื่อดังแห่งแดนทักษัณ นั่งปรกปลุกเสก ณ วัดพะโคะ พร้อมทั้งอัญเชิญ ดวงวิญญาณหลวงปู่ทวด มาสถิตเป็น ประธานในพิธี อีกทั้งได้นำเหรียญนี้ปลุกเสกสำทับอีกครั้งโดย 2 พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองประจวบคีรีขันธ์ คือ พระราชวิสุทธิคูณ หรือ หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก และ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก โดยประกอบพิธี ณ.พระอุโบสถพระอารามหลวงวัดเกาะหลัก เป็นการผนึกพลังพุทธานุภาพ ระหว่าง หลวงพ่อเกตุ และ หลวงพ่อยิด อธิฐานจิตปลุกเสก อย่างเต็มกำลังเคียงข้างกัน เมื่อปลายปี พ.ศ.2536 เครดิตข้อมูล: พระเครื่องพลาซ่า

ยอดอิทธิวัตถุ พระยอดธงคงศาสตรา

ยอดอิทธิวัตถุ พระยอดธงคงศาสตรา หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส พระยอดธง เป็นพระเพื่อการพิชัยสงคราม สมัยโบราณท่านสร้างขึ้นเพื่อติดยอดธงชัย ออกรบในสมรภูมิ คุ้มครองปัองกันกองทัพ จึงเป็นพระเครื่อง เพื่อการรบขนานแท้ และเป็นพระที่เอื้ออำนวยสวัสดีมีชัยแคล้วคลาดคงกระพันชาตรี พระเครื่อง พระยอดธง ยุคกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้ายมีกำเนิดที่จันทบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช ทรงสร้างที่วัดพลับบางกะจะ โดยโปรดให้พระอาจารย์ทองทำพิธีการสร้างแล้วแจกแก่ทหารหาญ เพื่อนำกำลังกอบกู้ชาติ บ้านเมืองให้พ้นจากพม่า พระยอดธงมีกำเนิดที่จันทบุรีจึงถือเป็นมหามงคลอย่างสูงโดยแท้ พระเครื่อง พระยอดธง “คงศาสตรา” หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส อ.ขลุง จ.จันทบุรี ได้ถือกำเนิดที่จันทบุรี เมืองอันเป็นมงคลแห่งชัยสงคราม สร้างจากเหล็กน้ำพี้ เหล็กยอดเจดีย์ ชนวนพระกริ่งวัดต่างๆมากมาย พระเครื่อง พระยอดธง “คงศาสตรา” หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส นำเข้าพิธีปลุกเสกไตรมาสกาลเข้าพรรษาปี 2529 ณ.พระอุโบสถ วัดวังสรรพรส จันทบุรี เครดิตข้อมูล: พระเครื่องพลาซ่า

หลวงพ่อโสธร80ปี กรมตำรวจ - พระเครื่อง:พระเครื่องพลาซ่า รวมร้านค้าพระเครื่อง

หลวงพ่อโสธร80ปี กรมตำรวจ - พระเครื่อง:พระเครื่องพลาซ่า รวมร้านค้าพระเครื่อง

วัดแม่น้ำคู้เก่า หลวงปู่ทิม

สิงห์ป้อนเหยื่อให้เสือ

"ประมาณปี พ.ศ. 2482 มีพระภิกษุรูปหนึ่งพายเรือมาขึ้นที่ตลาดอำเภอบางระกำ พอถึงก็นำถังเหล็กขนาดใหญ่ความจุราว 200 ลิตร ที่อยู่ในเรือขึ้นมา ปรากฏว่าภาย ในถังบรรจุพระเครื่องอยู่เต็ม ท่านจึงนำพระทั้งหมดไปฝากไว้กับคหบดีอำเภอบางระกำ แล้วบอกว่า "ขอฝากพระทั้งหมดนี้ไว้ก่อน แล้วจะมารับคืนในภายหลัง" ท่านคหบดีได้เก็บรักษาพระเครื่องทั้งหมดไว้นานถึง 3 ปี แต่พระภิกษุรูปนั้นก็หาได้กลับมารับพระคืนไม่ ท่านจึงตัดสินใจขนย้ายพระทั้งหมดไปเก็บรักษาไว้ที่วัด ซึ่งน่าจะเป็นการสมควรกว่า โดยฝากไว้กับพระครูสุนทรประดิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดสุนทรประดิษฐ์ในสมัยนั้น ประมาณปี พ.ศ. 2485 ท่านพระครูก็ได้นำพระไปเก็บไว้ในบริเวณพระอุโบสถ และในปีนั้นเองได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่น้ำท่วมอุโบสถ จึงทำให้พระเครื่องที่เก็บไว้ถูกน้ำท่วมไปด้วย เมื่อน้ำลดลงจึงปรากฏคราบตะกอนดินจับเต็มองค์พระ แต่ไม่ใช่ในลักษณะคราบกรุ พระเครื่องเหล่านั้นเริ่มปรากฏสู่สายตาภายนอกเมื่อพ่อค้าไม้รายหนึ่งเดินทางไปทำงาน แล้วแวะที่อุโบสถวัดสุนทรประดิษฐ์ จึงนำพระออกมาให้เช่าที่ จ.พิษณุโลก ในสนน ราคาที่สูงพอสมควรในสมัยนั้น ปรากฏว่าผู้ที่เช่าบูชาไปประจักษ์ในพุทธา