ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2011

พระคณาจารย์นั่งปรก หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี 15

พระคณาจารย์นั่งปรกและบริกรรมเจริญภาวนา ในพิธีสงฆ์ พระพิธีกรรม สวดมหาทิพยมนต์ พุทธาภิเษก ภาณวร 18.00-20.00 น. พระอาจารย์ ชุดที่ 1 จำนวน 8 รูปนั่งปรกและบริกรรมเจริญภาวนา -พระพิธีธรรมชุดที่ 1 จำนวน 4 รูป สวดพระคาถา มหาทิพยมนต์ 1 ชั่วโมง -พระพิธีธรรมชุดที่ 2 จำนวน 4 รูป สวดพระคาถา พุทธาภิเษก 1 ชั่วโมง 1. พระราชเวธี 2. พระวิมลญาณเมธี 3.พระเมธีธรรมประนาท 4.พระครูพิมลธรรมสิทธิ์

พิธีมหาพุทธาภิเษก หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี 15

กำหนดมหาพิธีกรรมอันยิ่งใหญ่แห่งศาสนพิธี และไสยพิธีประกอบด้วยสมณชีพราหมณ์ ผู้รู้ได้ร่วมจิตใจกันประกอบพิธี “หล่อรูปเหมือนทำพิธีเททองหล่อหลวงพ่อเงิน ที่วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2514 และทำมหาพุทธาภิเษก ไสยศาสตร์ พิธีบวงสรวงตามจารีตประเพณีโบราณาจารย์ เจริญภาวนาปลุกเสกหลวงพ่อเงิน เพื่อเป็นมหาลาภ,มหาผล,ดลบันดาลให้สัมฤทธิ์ผลตามปรารถนาดี ณ.วัดหิรัญญาราม (วัดตะโก-หลวงพ่อเงิน) ตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 30 มกราคม 2515 (วันเพ็ญเดือน 3) พระเทพเมธี ประธานพิธีสงฆ์ จุดเทียนชัย พระครูกัลยาณานุกุล (เฮง) ฝ่ายพิธีการ พระครูศรีพรหมโสกิต (แพ) ฝ่ายพิธีการ พระครูพิลาศธรรมกิตต์ (ทวี) ฝ่ายพิธีการ พระอาจารย์ผ่อง (จินดา) ฝ่ายพิธีการ พลตำรวจตรี สง่า กิตติขจร ประธานฆราวาส นายสมบูรณ์ เจริญจิตร รองประธานฯ นายเผด็จ จิราภรณ์ รองประธานฯ

รูปหล่อโบราณ รุ่นแรก หลวงพ่อผอง ไตรบารมี

รูปหล่อโบราณ เทดินไทย(มิติ : สูง 3 ซ.ม.) เป็นรูปเหมือนลอยองค์ขนาดความสูงประมาณ 3 ซ.ม. รูปหลวงพ่อผองนั่งสมาธิ ห่มจีวรลดไหล่ ครองสังฆาฎิ ที่ทำการหล่อด้วยกรรมวิธี การเทหล่อดินไทยแบบโบราณโดยแท้ ซึ่งอาจมีขั้นตอนการสร้างที่ซับซ้อนยุ่งยากมาก แต่ให้ความสวยงาม เข้มขัง ด้วยกระแสโลหะแบบงานโบราณ เฉกเช่น รูปหล่อโบราณหลวงพ่อทบผู้เป็นพระอาจารย์ของท่าน นับเป็นการจัดสร้างรูปหล่อโบราณเทดินไทยขึ้นเป็นครั้งแรกของหลวงพ่อผอง ชนวนมาลสาร *โลหะสำริดโบราณ(บ้านเชียง,ลพบุรี,สุโขทัย,อยุธยา) *สังขวานสำริด พระธาตุกิตติ เชียงใหม่ *ชินสังขวานร กรุศรีสัชนาลัย *ลูกกะพรวนโบราณ *กำไลสำริดโบราณ *พระบูชาโบราณชำรุด เนื้อสำริด *เหรียญสตางค์รู เครดิตข้อมูล: ศูนย์จองพระเครื่อง

หลวงพ่อผอง วัดพรหมยาม ไตรบารมี 1 (ตอนที่2)

รูปลักษณ์อันโดดเด่นวัตถุมงคล ไตรบารมี 1.เหรียญรูปไข่ครึ่งองค์ (มิติ:สูง 3.2 ซ.ม. ไม่รวมห่วง) ด้านหน้า : สลักเสลารูปหลวงพ่อผองครึ่งองค์เสมือนจริงได้อย่างงดงาม โดดเด่น บนพื้นแอ่งกระทะ เดินเส้นขอบเหรียญสองชั้น ทำให้เหรียญดูมีมิติ สวยงามยิ่ง ด้านบน : จารึกอักขระฉายา “ธมฺมธีโร”ของหลวงพ่อผอง ด้านหลัง : ตรงกลางสลักยันต์ “เพ็ชรกลับ”ของหลวงพ่อทบดีด้านกลับร้ายกลายเป็นดี คุ้มครองแคล้วคลาด ด้านบน : จารึกอักขระ “พุทธังรักษา ธัมมังรักษา สังฆังรักษา ปิตุมาตุรักษา”เพื่อเป็นมงคลคุ้มครองป้องกันอีกชั้นหนึ่ง เครดิตข้อมูล: ศูนย์จองพระเครื่อง

รุ่น พุทธคูณสยาม หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ

หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ วัดใหม่อัมพวันจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่น พุทธคูณสยาม วัตถุประสงค์ เพื่อนำรายได้บูรณะปฎิสังขรณ์ถาวรวัตถุวัดใหม่อัมพวัน,เพื่อสมทบทุนสร้างโรงเรียนแก่เด็กยากไร้และเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่เด็กยากจน วัตถุมงคลที่จัดสร้างมี 3 แบบ ได้แก่ เหรียญเสมาฉลุลอดองค์ เลื่อนสมณศักดิ์ เทพวิทยาคม รูปเหมือนปั๊มนั่งฐานสิงห์ พิมพ์เตารีดและ เหรียญเม็ดแตง เลื่อนสมณศักดิ์ เทพวิทยาคม 1.ประกอบพิธีพุทธาภิเษก โดย หลวงพ่อคูณ ณ.อุโบสถ วัดบ้านไร่ เป็นประธานจุดเทียนชัย และนั่งอธิษฐานจิตภาวนา ในวันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 2.ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ.วัดใหม่อัมพวัน ในวันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 เครดิตข้อมุล: ศูนย์จองพระเครื่อง

ศึกษาก่อนสะสม เหรียญ จอบเล็ก ปี 15 หลวงพ่อเงิน (ด้านหลัง)

ศึกษาก่อนสะสม เหรียญ จอบเล็ก ปี 15 หลวงพ่อเงิน (ด้านหลัง) เครดิตข้อมูล: http://www.luangporngoen.com/ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง: http://ppamulet.bloggang.com

ศึกษาก่อนสะสม จอบเล็ก ปี 15 หลวงพ่อเงิน บางคลาน

ศึกษาก่อนสะสม จอบเล็ก ปี 15 หลวงพ่อเงิน บางคลาน เครดิตข้อมูล: http://www.luangporngoen.com/ ข้อมูลที่เกียวข้อง: http://ppamulet.bloggang.com

ประวัติ หลวงพ่อเตียง วัดเขารูปช้าง จ.พิจิตร (1)

พระครูพิพัฒน์ธรรมคุณ(หลวงพ่อเตียง เนกธัมโม)วัดเขารูปช้าง จ.พิจิตร อัตชีวประวัติ พระครูพิพัฒน์ธรรมคุณ หรือ หลวงพ่อเตียง อดีตเจ้าอาวาสวัดเขารูปช้าง อ.เมือง จ.พิจิตร วัดเขารูปช้างซึ่งเป็นวัดอยู่ทางใต้ไม่ไกลกับวัดฆะมังเท่าไหร่ หลวงพ่อเตียงจึงได้รับ การถ่ายทอดวิชาอาคมและการสร้างตะกรุดโทน หรือตะกรุดคู่ชีวิต ท่านมีนามเดิมว่า เตียง เกิดปีฉลูตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น13 ค่ำ เดือน 3 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2444 บ้านดงกลาง ตำบลดงป่าคำ อ.เมือง จ.พิจิตร มีโยมบิดาชื่อ เลี่ยม โยมมารดาชื่อ ลำภู นามสกุล สวนสนิท มีพี่น้องเป็นผู้หญิงเพียงคนเดียว และยังมีพี่น้องต่างมารดาอีก 9 คน เมื่อสมควรแก่การศึกษา พ่อแม่ของหลวงพ่อเตียงได้ส่งให้ท่านร่ำเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านดงป่าคำ จนกระทั่งจบชั้นประถมปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2455 บรรพชาอุปสมบท ท่านอุปสมบทเมื่ออายุได้ 22 ปี ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 3 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2466 ที่วัดดงกลาง โดยมี พระครูศีลธรารักษ์ เป็น พระอุปัชณาย์ และพระอธิการปุ่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา เนกขัมโม เมื่อรับการอุปสมบทแล้วท่านได้อยู่จำพรรษาเพื่อร่ำเรียนพระธรรมวินัยที่วัดดงกลาง

พระขุนแผนยอดขุนพล หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่อ

พระขุนแผนยอดขุนพล หลวงพ่อชาญ วัดบางบ่ อ คอลัมน์ หลังเลนส์ส่องพระ เอกอุ พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง "หลวงพ่อชาญ อิณมุตโต" เป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดและเปี่ยมด้วยคุณธรรม เป็นที่พึ่งของชาวบ้านดงคอนและสาธุชนโดยทั่วไป มีจิตที่เปี่ยมด้วยความเมตตา ชื่อเสียงของท่าน เป็นที่รับรู้กันทั่วท้องทุ่งเมืองสมุทรปราการถึงความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคล ที่สามารถพลิกผันสถานการณ์อันเลวร้าย ให้กลับกลายเป็นดีได้อย่างน่าอัศจรรย์ ปัจจุบัน หลวงพ่อชาญ สิริอายุ 97 ปี พรรษา 77 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแห่งวัดบางบ่อ จ.สมุทรปราการ และที่ปรึกษาเจ้าคณะอำเภอบางบ่อ ท่านได้ศึกษาวิชากัมมัฏฐานจากพระเกจิอาจารย์ชื่อดังยุคอินโดจีน 2 ท่าน คือ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก และหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีน บุรี และเรียนวิชากัมมัฏฐาน 40 กอง จากหลวงพ่อจาด วัดบางกะเบา หลวงพ่อชาญ เล่าว่า "การเรียนกัมมัฏฐาน เป็นวิธีฝึกจิตให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิก็เกิดปัญญา และมองได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ล้วนไม่เที่ยง มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย สรุป คือ ไม่มีอะไรเลย เพื่อให้ปลงและหลุดพ้น" กล่าวกันว่า ในบรรดาพระอาจารย์ของหลวงพ่อชาญทั้งหมดนั้น ห

ตำนานเหรียญเสมาฉลองอายุครบ ๖ รอบ

ตำนานเหรียญเสมาฉลองอายุครบ ๖ รอบ สืบสานความเข้มขลังแห่งองค์ปรมาจารย์ เหรียญที่ระลึกฉลองอายุ ๖ รอบ ๗๒ ปี หลวงพ่อสาคร มนุญฺโญ วัดหนองกรับ อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เนื่องในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 อันเป็นศุภวาระมงคลที่ “พระครูมนูณธรรมวัตร” หรือ “หลวงพ่อสาคร มนุณญโญ” แห่ง วัดหนองกรับ ต.หนองบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง ศิษย์เอกผู้สืบสายพุทธาคมแห่งหลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จะมีอายุครบ 6 รอบ 72 ปี ทางคณะกรรมการวัดหนองกรับและศิษยานุศิษย์จึงได้ขออนุญาตหลวงพ่อสาครดำเนินการจัดสร้าง “เหรียญเสมาฉลองอายุครบ 6 รอบ”และ”เหรียญเม็ดฟักทองอุดมโชค” เพื่อมอบเป็นที่ระลึกแก่ทุกท่านที่ได้บริจาคทุนทรัพย์ทำบุญร่วมสร้างกำแพงวัดหนองกรับให้แล้วเสร็จ รูปลักษณ์แบบเหรียญเสมาฉลองอายุครบ 6 รอบ นี้ เป็นเหรียญเสมาขนาดความสูง 3.8 ซ.ม. ลักษณะคล้ายกับเหรียญเสมา 8 รอบ ของหลวงปู่ทิม อิสริโก แต่ได้ปรับแต่งรายละเอียดบางอย่างให้แตกต่างไปจากเดิม ด้านหน้า-เป็นรูปหลวงพ่อสาครนั่งเต็มองค์ ด้านบน มีอักขระ “มะอะอุ” คือ แก้ว 3 ประการ ซึ่งหมายถึง พระพุทธ,พระธรรมและพระสงฆ์ ขอบชั้นในเป็นเม็ดไข่ปลา ด้านล่าง เป็น

รุ่นมหาโชคมหาเศรษฐี "หลวงพ่ออั๊บ"วัดท้องไทร

รุ่นมหาโชคมหาเศรษฐี "หลวงพ่ออั๊บ"วัดท้องไทร หลังเลนส์ส่องพระ เอกอุ เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2552 "หลวงปู่อั๊บ เขมจาโร" วัดท้องไทร จ.นครปฐม ได้อธิษฐานจิตปลุกเสก "วัตถุมงคลรุ่นมหาโชคมหาเศรษฐี" ซึ่งรุ่นนี้ได้มอบหมายให้ทางคณะศิษย์จัดสร้างขึ้นเพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างกุฏิสงฆ์และเสนาสนะต่างๆ เพื่อใช้ทำกิจกรรมของพระสงฆ์ วัตถุมงคลที่สร้างสรรค์ขึ้น มุ่งเน้นให้ความสำคัญถึงความเพียบพร้อมสมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน ที่สุดยอดวัตถุมงคลพึงมีพึงกระทำ อันจะนำมาซึ่งความสิริมงคลแก่ผู้บูชาสักการะ พระอธิการเกษม เขมจาโร หรือ หลวงปู่อั๊บ ถือกำเนิดในตระกูล "ทิมมัจฉา" เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2464 ที่บ้านแหลมบัว อ.นครชัย ศรี จ.นครปฐม เป็นบุตรคนโตในบรรดาที่น้อง 8 คน ดังนั้น จึงต้องรับหน้าที่ดูแลน้องๆ และช่วยพ่อแม่ทำไร่นาเพื่อหารายได้จุนเจือครอบครัว เมื่ออายุได้ 20 ปี ท่านได้ตัดสินใจอุปสมบทตามประเพณี ที่วัดทุ่งน้อย มีหลวงพ่อมา พระเกจิอาจารย์อาคมขลัง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้องไทร 9 ปี หลังจากนั้นเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ ไปประเทศลาว พม่า เขมร และได้ศึกษาวิชาจาก

เหรียญเจ้าตาก ปี 2517

เหรียญเจ้าตาก ปี 2517 คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่ นับเป็นเหรียญยอดนิยมหนึ่งรุ่นที่กล่าวขานว่ามีพุทธคุณความเข้มขลังมิใช่น้อย เพราะสร้างโดยจังหวัดจันทบุรี และผ่านการอธิษฐานจิตปลุกเสกประจุพระคาถาโดยเกจิอาจารย์ดังผู้ทรงวิทยาคมหลายรูป อาทิ หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง, หลวงปู่คง วัดวังสรรพรส, หลวงพ่อกล้วย วัดหมูดุด ฯลฯ ความเป็นมาของเหรียญรุ่นนี้ เริ่มจากเมื่อปี พ.ศ.2516 สมัยนายบุญช่วย ศรีสารคาม เป็นผู้ว่าฯ จันทบุรี ได้ก่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่หล่อขึ้นจากแผ่นชนวนที่พระเถระผู้ใหญ่ และพระคณาจารย์ เมตตาลงจารแผ่นทองลงอักขระเลขยันต์มาให้ เพื่อหล่อพระบรมรูปจำลองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อาทิ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธฯ กรุงเทพฯ, พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าถ้ำขาม จ.สกลนคร, หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่, หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี, หลวงปู่หลุย วัดถ้ำผาปิ้ง จ.เลย, หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จ.ระยอง, หลวงปู่สาม วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์, หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่, พระเทพบัณฑิต วัดศรีเมือง จ.

พระสมเด็จสะทานเพชร

พระสมเด็จสะทานเพชร คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่ ในวาระดิถีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ พุทธศักราช 2553 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระสมเด็จให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช มอบให้พุทธศาสนิกชน ที่เข้ามาถวายพระ พรแด่พระองค์ท่าน คือ "พระสมเด็จ สะทานเพชร" พระสมเด็จรุ่นนี้สร้างขึ้นเป็นพิเศษ มีความงดงามด้านศิลปะและผงพุทธคุณอันศักดิ์สิทธิ์หลายประการ ด้านหน้า เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องพระจักรพรรดิ ศิลปะรัตนโกสินทร์ประยุกต์ ปางมารวิชัย พระหัตถ์ถือวัชระ มุมด้านบนจารึกอักษรขอม อ่านว่า "อรหัง" ฐานด้านล่างจารึกพระนามสมเด็จพระญาณสังวร ด้านหลัง ประดิษฐานตรา 8 รอบ 96 พรรษา พระนามของพระสมเด็จสะทานเพชรนี้ได้มาจากสูตรทำพระผงโบราณ เมื่อประมาณ 450 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นสูตรของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี 2 พระองค์ คือ พระสังฆราชสุมังคลาโพธิวิริยะเจ้า (พ.ศ.2106) และพระมหาอินทรวัชสังวรเจ้า (พ.ศ.2115) ณ วัดถ้ำสุวรรณคูหา เป็นพระมหาเถระเจ้าของเมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน หรือ จ.หนองบัวลำภู ในปัจจุบัน ซึ่งได้มีพระธุดงคกัมมัฏฐานนำมามอบให้สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช พร้

เหรียญพระอินทร์แปลง

เหรียญพระอินทร์แปลง คอลัมน์ เปิดตลับพระใหม่ "วัดพระอินทร์แปลง" ตั้งอยู่เลขที่ 798 ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนสุนทรวิจิตร อ.เมือง จ.นครพนม แต่เดิมชื่อ "วัดอุโมงค์" แต่ในภายหลังปี พ.ศ.2470 ได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดพระอินทร์แปลง" วัดก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2393 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2485 มีพระครูอินทรกัลยาณคุณ เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน วัดแห่งนี้ เป็นวัดที่ประดิษ ฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนครพนมมาแต่โบราณ กาล มีนามว่า "หลวงพ่อพระ อินทร์แปลง" เป็นพระประธานในอุโบสถ มีพุทธลักษณะที่สวยงาม วัสดุทองสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 59 นิ้ว ประดิษฐานที่วัดมานับพันปี ตามตำนานเล่าขานว่า พ.ศ. 1390-1393 พระหน่อหลักคำ เจ้าอาวาสวัดรูปที่ 1 ประสงค์จัดสร้างพระประธานขึ้นมาหนึ่งองค์ แต่สร้างไม่สำเร็จ แม้จะหล่อกี่ครั้ง เศียรองค์พระจะกลับกลายเป็นรูปอัปลักษณ์ ท่านจึงหมดกำลังใจ ปล่อยให้เป็นพระพุทธรูปเศียรขาด สร้างความสลดใจแก่ชาวพุทธที่พบเห็น พระหน่อหลักคำ จึงสร้างอุโมงค์ครอบไว้ ซึ่งเป็นที่มาชื่อวัดอุโมงค์ในอดีต ต่อมาเจ้าอาวาสรูปนี้ ได้