ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตำนานเหรียญ หลวงปู่บุญหนา เศรษฐี 80


หลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล เศรษฐี 80

หลวงปู่บุญหนา เศรษฐี80:แหล่งที่มาของชื่อเสียงเรียงนามวัตถุมงคล รุ่น เศรษฐี 80 ของ หลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล จ.สาลนคร สำหรับเป็นสงฆานุสติที่ระลึกแห่งสังฆคุณ ในวาระโอกาสที่หลวงปู่บุญหนา เจริญชนมายุครบ 80 ปี ในศกนี้ เพราะศรัทธาของคณะ คุณพ่อ สมศักดิ์ ดวงฤดีสวัสดิ์ กับครอบครัว ได้มาขออนุญาตหลวงปู่บุญหนา จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้ถวายมอบหลวงปู่บุญหนาแจกในวันคล้ายวันเกิดของท่านเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2554


หลวงปู่บุญหนา เศรษฐี 80
หลวงปู่บุญหนา เศรษฐี 80


หลวงปู่บุญหนา เศรษฐี 80:ต้นแบบของเหรียญกับพระผงรุ่นนี้ ได้ถือเอาเหรียญรุ่นแรก พร้อมด้วยพระผงพิมพ์หลังโต๊ะหมู่ของ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นแนวทาง เพราะแปลงไปบ้าง อย่างเช่นใส่ลายมือบองหลวงปู่บุญหนาลงไปในเหรียญและพระผงเพื่อเอกลักษณะเฉพาะ
เหรียญรูปเหมือน เศรษฐี 80 ขนาดสูง 3.2 ซ.ม. ส่วนหน้าเป็นรูปหลวงปู่บุญหนาหันข้าง เหมือนกับเหรียญรุ่นแรกของพระอาจารย์ฝั้น ส่วนล่างเขียนว่า พระอาจารย์บุญหนา ธมฺมทินโน ด้านหลังมีชื่อคำว่า เศรษฐี รูปอัฐบริขาร อักขระคาถาหัวใจโมรปริตร เป็นลายมือของหลวงปู่บุญหนา เขียนว่า นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมฺตติยา หมายถึง ขอความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงแด่ท่านผู้พ้นแล้วทั้งหลาย กับจงมีแต่วิมฺตติธรรมความหลุดพ้นของท่านเหล่านั้น ล่างมีเลข ๘๐ หมายถึงอายุครบ 80 ปี พร้อมกับชื่อ วัดป่าโสตถิผล สกลนคร จำนวนสร้าง เนื้อทองคำ 19 เหรียญ เนื้อเงิน 299 เหรียญ เนื้อนวโลหะ 799 เหรียญ เนื้ออัลปาก้า 2999 เหรียญ เนื้อทองแดง 6999 เหรียญ
หลวงปู่บุญหนา รูปเหมือนหลังโต๊ะหมู่ เศรษฐี 80

พระรูปเหมือนหลังโต๊ะหมู่ เศรษฐี 80 พิมพ์สี่เหลี่ยม สูง 3.3 ซม.กว้าง 2.5 ซม.รูปหลวงปู่บุญหนานั่งอยู่หน้าโต๊ะหมู่บูชา ด้านหลังมีคำว่า เศรษฐี รูปอัฐบริขาร และอักขระคาถาหัวใจโมรปริตร (พญายูงทอง)เช่นเดียวกับเหรียญ จำนวนสร้าง เนื้อนวโลหะ 199 องค์ เนื้อผงดำพิเศษ 199 องค์ เนื้อผง 5999 องค์
พระทุกองค์ได้ตอกโค้ดพร้อมกับหมายเลขกำกับ โดยได้ถวายแม่พิมพ์และโค้ด(ซึ่งได้ทำลายแล้ว) ไว้ ที่วัดป่าโสตถิผล เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
พิธีอธิษฐานจิต หลวงปู่บุญหนา ได้อธิษฐานจิต วัตถุมงคลรุ่นนี้เมื่อช่วงเช้าวันที่ 6 สิงหาคม 2554 จนถึงเสร็จพิธืแล้ว คณะผู้จัดสร้างได้ถวายวัตถุมงคลจำนวนหนึ่ง เนื่องด้วยให้หลวงปู่แจกแก่ผู้มาร่วมงาน พร้อมทั้งถวายกองผ้าป่าเป็นเงินทั้งสินอีก 503,300 บาท แด่หลวงปู่บุญหนาเป็นที่เรียบร้อยทุกประการ ด้วยความอิ่มอกอิ่มใจและอิ่มบุญโดยทั่วหน้ากัน


โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

พระลือโขง กรุวัดกู่เหล็ก ลำพูน องค์แชมป์กรุ โดยพรรค คูวิบูลย์ศิลป์

เครดิตภาพ: thairath.co.th พระเครื่ององค์แรกคือ พระลือโขงหรือพระฤาโขง สุดยอดพระเครื่องเมืองเหนือที่มีชื่อเสียงมาก ด้านความอลังการของ พุทธศิลป์หริภุญไชย ที่มีอิทธิพลศิลปะพม่า (พุกาม) ผสม..... พระสมเด็จอรหัง พิมพ์เล็ก หลังจาร วัดมหาธาตุ กทม. องค์คะแนน ของซุป เตาปูน. ลักษณะเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาขนาดเขื่อง (ใหญ่กว่าพระคง, พระลือ) องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยภายในซุ้มเรือนแก้ว เหนือฐานบัว 2 ชั้น พระพักตร์ ปรากฏรายละเอียด หู ตา จมูก ปาก ครบสมบูรณ์ และชัดเจน อ่อนช้อยงดงาม เหมือนแย้มยิ้ม ..... ระยะแรกที่พบพระ ในกรุ วัดกู่เหล็ก ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังวัดประตูลี้ (ที่พบพระฤา, พระเลี่ยง) ชาวถิ่นคิดว่าเป็น รูปจำลองพระนางจามเทวี จึงนิยมเรียกกันว่า "พระนางจามเทวี ซุ้มเรือนแก้ว"..... แต่จำนวนพระมีน้อยมาก เพราะถูกนักนิยมพระเจ้าถิ่นเช่าตัดตอนเก็บไว้หมด ทำให้พระไม่แพร่หลาย ไม่ค่อยมีใครได้เห็นพระแท้องค์จริงมากนัก มีแต่เสียงร่ำลือถึงความงดงามว่าเทียบเคียงกับ พระรอด..... กระทั่งราวๆปี 2511 ก็มีการค้นพบพระพิมพ์นี้จากที่เดิมอีกครั้งใหญ่ แต่คัดแล้วได้พระสภาพสมบูรณ์เพียงแค่หลัก

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์

พระกริ่งเชียงตุง 2486 วัดสุทัศน์ ขอบคุณภาพจาก แดน ท่าพระจันทร์ สมเด็จพระสังฆราช(แพ) องค์อมตะเถราจารย์แห่งสำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งเป็นองค์ปรมาจารย์ในเรื่องการสร้างพระกริ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ท่านได้สถาปนาพระกริ่งรุ่นแรก เทพโมลี พ.ศ.2441 จนถึงรุ่นสุดท้าย เชียงตุง พ.ศ.2486 รวมเวลาได้ 45 ปี

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง รุ่นพระพิจิตร

  วัตถุมงคลหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน งานจิวเวลรี่ พิมพ์เหมือนจริง หลวงพ่อเงิน บางคลาน รุ่นพระพิจิตร จัดสร้างเป็นครั้งแรก ในรูปแบบงานจิวเวลรี่เป็นความงดงามตามแบบพิมพ์ฝีมือช่างปั้นได้ละม้ายคล้าย หลวงพ่อเงิน มากที่สุดโดยเฉพาะตาลปัตรซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของท่าน ด้านหลังพระจารึกมหายันต์ นับเงิน และยันต์หัวใจ พระไตรปิฎก ทั้งที่ได้จัดสร้างจากชนวนศักดิ์สิทธิ์ ทองคำหนัก 65 บาท เงินบริสุทธิ์หนัก 16 กิโลกรัม นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกเททอง ในวันเพ็ญเดือน 12 ที่ผ่านมา ณพระอุโบสถหลวงพ่อเพชร จังหวัดพิจิตร โดยพระผู้ทรงวิทยาคมคูณ 25 รูป หลังจากนั้นได้นำไปรีดเป็นแผ่น จานมหายันต์ตาม ตำรับหลวงพ่อเงิน อาชิ ยันต์พระเจ้าห้าพระพุทธ ยันต์นะเงิน ยันต์หัวใจพระสิวลีมหาลาภเป็นต้น ทั้งนี้ทางวัดได้นำไปเป็นจำนวนจัดสร้างหลวงพ่อเงินในรูปแบบจิวเวลรี่ เนื้อทองคำขัดเงา เนื้อเงินชุบสามกษัตริย์ เนื้อเงินพ่นทรายขัดเงา เนื้อนวะแก่ทองคำ ที่สำคัญพระรุ่นนี้มีหมายเลขและโค้ดกำกับทุกองค์ ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ.อารามศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองพิจิตร 2 แห่ง คือ ที่อุโบสถวัดบางคลาน และอุโบสถหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นับเป็นวัตถุมงคลที่งดงาม มีพุทธ

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร

เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร ที่มา:คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์ เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ ปี 2461 วัดไชโยวรวิหาร เหรียญ พระเครื่องในประเทศไทยนั้นมีการสร้างกันมากมายทั้งเหรียญพระพุทธและเหรียญ พระสงฆ์ ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไปตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสร้าง อาทิ พระเกจิคณาจารย์จัดสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายลูกศิษย์ลูกหา หรือเพื่อหาทุนทรัพย์บูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุต่างๆ ฯลฯ บางทีก็เป็นฆราวาสที่สร้างถวายวัดเพื่อการต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์หลักก็คือ การสืบสานพระพุทธศาสนา เหรียญพระเครื่องจึงเกิดขึ้นมากมายมาแต่ครั้งโบราณกาลจวบจนปัจจุบัน ดังนั้นการที่จะคัดเลือกเหรียญระดับยอดนิยมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างเช่น เหรียญพระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ครับผม

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ :สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือสมเด็จพระสังฆราช แพร พระกริ่งหลังปิ มีพุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัยพระหัตถ์ซ้ายทรงถือวชิระ ทรงคล้ายหัวปลี มีพุทธลักษณะคล้ายพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระมงคล ราชมุนี ซึ่งคงถอดพิมพ์ดังกล่าวมามีจำนวนสร้างมากถึง 100 องค์แสนเนื้อเดิมเป็นศรีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาวแบบปีกแมลงทับ มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ เมื่อประกอบพิธีเททอง พระกริ่ง เสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระคณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์รวมทั้งหลวงปู่ดู่ที่จารเป็นยันต์กอหญ้าด้วยแล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ซึ่งมีพระเกจิอาจารย์เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 6 7 8 กุมภาพันธ์พศ 2508 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระกริ่งหลังปิ บางส่วนที่ยังคงเหลือได้เก็บไว้ในพระอุ