ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

เหรียญหลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จังหวัดสิงห์บุรี

 เหรียญหลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม จังหวัดสิงห์บุรี หลวงพ่อจวน ท่านมีสมณศักดิ์เป็น “พระครูสุจิตตานุรักษ์” ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ของจังหวัดสิงห์บุรี ร่วมสมัยเดียวกันกับ หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทองแต่หลวงพ่อแพจะมีอาวุโสกว่าเล็กน้อย กิตติคุณของหลวงพ่อจวนเป็นที่รู้จักกันมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500ท่านได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลหลายพิธีด้วยกัน ทั้งพิธีในจังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดอื่นๆ ทั้งพิธีปลุกเสกในกรุงเทพมหานครด้วย น้ำมนต์ของท่านมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เลื่องลือมาก การทำน้ำมนต์แต่ละครั้งของ หลวงพ่อจวน จะเป็นที่ศรัทธาของผู้ที่พบเห็นกันอย่างยิ่ง เพราะว่าท่านใช้เวลาทำน้ำมนต์แต่ละครั้งร่วมๆ หนึ่งชั่วโมงและจะปลุกเสกโดยการท่องมนต์ด้วยเสียงดังตลอดจนเสร็จพิธี จากนั้นก็จะทำพิธีรดน้ำมนต์ให้กับผู้ที่ไปขอความอนุเคราะห์ ซึ่งผู้ที่ได้รับการรดนํ้ามนต์จาก หลวงพ่อจวน ก็จะประสบความสําเร็จในสิ่งที่ปรารถนากันมาก เหรียญหลวงพ่อจวนรุ่นแรก ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2501 เพื่อแจกสมนาคุณแก่ผู้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์ในการสร้างศาลาการเปรียญ ซึ่งในตอนนั้น หลวงพ่อจวน ท่านมีอายุเพียง40 ปีกว่าเท่านั้นเอง แต่ก็มีชาวบ้านศรั

พระสมเด็จ 7 ชั้น หลวงพ่อโอด วัดจันเสน จ.นครสวรรค์

พระสมเด็จ 7 ชั้น หลวงพ่อโอด วัดจันเสน จ.นครสวรรค์ พระสมเด็จรุ่นนี้ถือว่าเป็นรุ่นแรกของ หลวงพ่อโอด ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 โดย หลวงพ่อโอด ปลุกเสเดี่ยวและท่านมีความมั่นใจในพุทธคุณมากถึงขนาดพูดว่า“รุ่นนี้ใครมีติดตัวไว้ไม่ตายโหง” ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ พระสมเด็จ 7 ชั้น รุ่นนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ถ้าของเกิดตกอยู่ในมือของบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่านแล้ว ก็ยากนักที่จะหลุดรอดออกมาได้ พระสมเด็จ 7 ชั้น มีอยู่หลายสีด้วยกัน คือ สีขาว สีน้ำตาล และ สีเขียวก้านมะลิ เป็นต้น ซึ่งสีที่ได้รับความนิยมและหายากที่สุดก็คือ“สีเขียวก้านมะลิ” พุทธลักษณะโดยทั่วไปเป็ พระสมเด็จ7 ชั้น ด้านหลังเป็นรูปหลวงพ่อโอดครึ่งองค์ มีตัวหนังสือไทยว่า “พระครูนิสัยจริยคุณ” และ “วัดจันเสน” นอกจากนั้นยังมีอักขระขอมตัว “นะ” อีก 3 ตัว ซึ่งอักขระขอมตัวนะนี้เป็นอักขระศักดิ์สิทธิ์ประจำของ หลวงพ่อโอด ที่ท่านใช้ลงในวัตถุมงคลทุกๆรุ่นของท่าน และลักษณะเด่นพิเศษโดยเฉพาะของ พระสมเด็จ รุ่นนี้ก็คือ เนื้อพระจะมีการแตกลายงาทั่วทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

เหรียญพระพุทธโสธรรุ่นปี 2460

  เหรียญพระพุทธโสธรรุ่นปี 2460 วัดหลวงพ่อโสธร” และ “หลวงพ่อโสธร” สำหรับพุทธศาสนิกชนคนไทยทุกคนแล้วจะต้องรู้จักกันเป็นอย่างดีและมีความศรัทธาเลื่อมใสสืบทอดกันต่อๆ มา ด้วยความเชื่อโบราณที่ว่าถ้าลูกหลานเกิดไม่สบายป่วยไข้หรือเลี้ยงยาก ผู้หลักผู้ใหญ่ก็มักพาไปวัดหลวงพ่อโสธร ฉะเชิงเทรา เพื่อถวายให้เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อโสธร เด็กก็จะหายจากการป่วยไข้กระเสาะกระแสะ หายงอแง และเสียงง่ายขึ้นครับผม “หลวงพ่อพระพุทธโสธร” ประดิษฐาน ณโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปแสดงปางสมาธิขัดราบ พระเนตรเนื้อแบบสมัยลานช้าง ความสูง 1.98 เมตร หน้าตักกว้าง 1.65เมตร หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญมากองค์หนึ่งของประเทศไทยทีเดียว ความเป็นมาของ “พระพุทธโสธร” นั้น มีเรื่องเล่าขานเป็นตำนานว่า...เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเสียกรุงครั้งที่ 2 นั้น กองทัพพม่าได้กระทำการอุกอาจต่อพระพุทธรูปของไทย เพื่อจะเอาโลหะมีค่าต่างๆ จากองค์พระกลับพม่า ราษฎรพากันหวาดวิตกจึงพยายามปกป้องรักษาโดยน้ำโคลนบ้างรักดำบ้างไปพอกทาองค์พระ ไว้ให้ดูไม่สวยงามไม่มีค่าจะได้ไม่ถูกทำลายบางคนก็อาราธนาลงแพไม้ไผ่แล้วปล่อยให้ลอยตามน้ำไปดีกว่าจะถ

เหรียญหลวงปู่มหาเจิมรุ่นปัญญาบารมี

 ประวัติหลวงปู่มหาเจิมปัญญาพโลวัดสระมงคลตำบลสระสี่มุมอำเภอกำแพงแสนจังหวัดนครปฐม ขอบคุณภาพ:http://www.gorn9.99wat.com/ ประวัติพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองนครปฐมมาเล่าให้ฟังนั่นก็คือประวัติของหลวงปู่มหาเจิมปัญญาพโลหรือพระครูภาวนาปัญญาดิลกอดีตเจ้าอาวาสวัดสระมงคลอำเภอกำแพงแสนจังหวัดนครปฐมพร้อมด้วยประสบการณ์วัตถุมงคลของท่านมาเล่าให้ฟังกันครับสำหรับหลวงปู่มหาเจิมนั้นนามเดิมชื่อเจิมวรรณะโมลีเกิดวันที่ 12 ตุลาคมพุทธศักราช 2459 ตรงกับวันพฤหัสบดีแรม 1 ค่ำเดือน 11 ปีมะโรงบ้านหนองแคนตำบลเมืองใหม่อำเภอราชสาส์นจังหวัดฉะเชิงเทรามีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 6 คนทุกคนเสียชีวิตหมดแล้วประชาเป็นสามเณรกับหลวงพ่อทองเจ้าอาวาสวัดแสนภุมราวาสเมื่อปีพุทธศักราช 2475 และนายบัญญัติเป็นธรรมยุตในปีถัดมากับเจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์จันทร์สิริจันโทวัดบรมนิวาสกรุงเทพฯ 2480 หลวงปู่มหาเจิมจนได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุบวรพุทธศาสนาโดยมีท่านสมเด็จพระมหาวีรวงศ์อ้วนติสโสวัดบรมนิวาสเป็นพระอุปัชฌาย์และมีพระครูพิพิธวิหารการขำเป็นพระกรรมวาจาจารย์พระครูวินัยธรค้ำเป็นพระอนุสาวนาจารย์และตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2484 หลวงปู่เริ่มเดินทางออกธุดงค์

พระกริ่งจปร 2513 วัดราชบพิธ

 พระกริ่งจปร 2513 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ พระกริ่งจปร จัดสร้างขึ้นในปีพศ 2513 พระกริ่งชุดนี้มีพิธีปลุกเสกใหญ่มากๆมีพระเกจิอาจารย์มากมายครับท่านถึง 108 รูปโดยเฉพาะมีพระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่นมาเข้าร่วมพิธีนี้อีกด้วยซึ่งยากจะหาวิธีอื่นๆในยุคหลังๆทำได้ พระกริ่งรุ่นนี้มีประสบการณ์ต่อผู้ที่นำไปบูชาจนเป็นข่าวครึกโครม เคยมีคนเอาไปลองยิงปรากฏว่าปืนแตกเลย พระกริ่ง รุ่นนี้ออกแบบโดยนายช่างเกษมมงคลเจริญสร้างในปีพศ 2513 เนื่องใน วาระครบ 100 ปีวัดราชบพิธ พระกริ่งจปร 2513 วัดราชบพิธ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ส่งเสกพระราชดำเนินประกอบพิธีพุทธาภิเษกด้วยพระองค์เองถึงสามครั้งสามคราวน์ด้วยกันทรงเททองผสมกับชนวนโลหะวัตถุมงคลรุ่นเก่าๆของวัดราชบพิธร่วมกับแผ่นยันต์ลงอักขระของพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ พุทธาคมจากทั่วประเทศ 108 ลูกในวัตถุมงคลพระเครื่องทั้งเนื้อนวโลหะและเนื้อทองแดงโดยทั่วถึงกันอย่างพิถีพิถัน พิธีมหาพุทธาภิเษก 3 วัน 3 คืนโดยพระคณาจารย์ 108 รูปซึ่งล้วนแต่มีพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านพุทธคุณในยุคนั้นทั้งสิ้นที่รับกิจนิมนต์มานั่งปรกบริกรรมเจริญภาวนาโดยผลัดเปลี

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ

พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ :สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ได้จัดสร้างพระกริ่งตามแบบองค์พระอุปัชฌาย์ คือสมเด็จพระสังฆราช แพร พระกริ่งหลังปิ มีพุทธลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัยพระหัตถ์ซ้ายทรงถือวชิระ ทรงคล้ายหัวปลี มีพุทธลักษณะคล้ายพระกริ่งจาตุรงค์มณีของพระมงคล ราชมุนี ซึ่งคงถอดพิมพ์ดังกล่าวมามีจำนวนสร้างมากถึง 100 องค์แสนเนื้อเดิมเป็นศรีจำปาออกนาก เมื่อกลับดำจะเป็นประกายแวววาวแบบปีกแมลงทับ มีผิวไฟติดอยู่ตามซอกประปราย พระกริ่งหลังปิ วัดสุทัศน์ กรุงเทพ เมื่อประกอบพิธีเททอง พระกริ่ง เสร็จสิ้นเป็นองค์พระแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ เสงี่ยม ยังได้จัดการส่งพระกริ่งทั้งหมดนี้ไปยังพระคณาจารย์ต่างๆ เช่นหลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี หลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี ให้ทำการปลุกเสกลงเลขยันต์ที่ก้นขององค์พระกริ่งแทบทุกองค์รวมทั้งหลวงปู่ดู่ที่จารเป็นยันต์กอหญ้าด้วยแล้วจึงได้ทำพิธีพุทธาภิเษกภายในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ ซึ่งมีพระเกจิอาจารย์เป็นจำนวนมาก เมื่อวันที่ 6 7 8 กุมภาพันธ์พศ 2508 เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระกริ่งหลังปิ บางส่วนที่ยังคงเหลือได้เก็บไว้ในพระอุ

เหรียญเสาร์ 5 หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี

 เหรียญเสาร์ 5 หลวงพ่อมุ่ย  วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี เหรียญเสาร์ 5 หลวงพ่อมุ่ย :หลวงพ่อมุ่ย ท่านเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่ออิ่มวัดหัวเขา หลวงพ่อได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานขั้นต้นจนสำเร็จ หมดทุกวิชาจากหลวงพ่ออิ่ม มีเรื่องเล่าว่าการฝึกขั้นพื้นฐานกับหลวงพ่ออิ่มนั้นต้องนั่งสมาธิจนลอยขึ้นจากหลุม แล้วจึงสามารถเรียนวิชาอื่นๆต่อไปได้ หลวงพ่ออิ่มเป็นพระเกจิที่ทรงคุณวิเศษ มีเรื่องเล่ากันมาปากต่อปากว่าท่านสามารถเดินตากฝนโดยไม่เปียกฝน และทำมือยาวให้หยิบกระเบื้องหลังคาโบสถ์ได้ เหรียญเสาร์ 5 หลวงพ่อมุ่ย :เมื่อหลวงพ่อมุ่ย ได้ศึกษาวิชาจนแตกฉานแล้วจากหลวงพ่ออิ่มหลวงพ่ออิ่มได้เมตตาพาท่านไปศึกษาวิชาเพิ่มเติมจากหลวงปู่ศุขได้มีบันทึกถึงเรื่องนี้จากชาวบ้านซึ่งเคยถามหลวงพ่ออิ่มหลังจากเดินทางพาหลวงพ่อมุ่ยมุ่งหน้าไปหาหลวงปู่ศุขหลายเดือนก่อนจะกลับมาไหว้หลวงพ่ออิ่มได้อะไรกลับมาบ้างหลวงพ่ออิ่มท่านตอบว่า ได้มาครึ่งเล่มแต่หลวงพ่อมุ่ย ได้มาเล่นครึ่ง ซึ่งนั่นก็บ่งบอกว่าหลวงพ่อมุ่ยท่านเก่งและ หลวงพ่อมุ่ย ยังเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่ออ้นอีกด้วยคือหลวงพ่ออ้นเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อมุ่ยนั่นเอง เครื่องหลวงพ่ออ้นนี้เป็นพระเกจิอาจารย์ที่